ชื่ออื่น ๆ : จะเกร็ง, อีเกร็ง (ทั่วไป), แก้มหมอ (กระบี่)
ชื่อสามัญ : Acanthus ebracteatus Vahl., A. ilicifolius Linn.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thistleplike Plant, Sea Holly
วงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดกลาง ซึ่งมีความสูงประมาณ 1-3.5 ฟุต ลักษณะของลำต้นเป็น
ข้อ แข็ง และมีหนามอยู่ตามข้อมีประมาณ 4 หนาม
ใบ : ใบออกเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1-2.5 ซม. ยาวประมาณ 3-7 ซม. ก้านใบสั้น
ดอก : ดอกออกเป็นช่อตั้งตรง ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบรองดอก 4 กลีบ เป็นสีขาว สีฟ้าอมม่วง หรือสีฟ้า กลีบยาวประมาณ 1-1.5 ซม. กลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก ปลายฝักป้าน ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด 4 เม็ด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดิน เกือบทุกชนิดขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ลำต้น, ใบ, เมล็ด, ราก
สรรพคุณ : ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำอาบ แก้เป็นผดผื่นคัน
ใบ ใช้ใบสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้หัว ลมพิษฝี แก้ฝีทราง หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัด พอกฝี และแผลอักเสบ เป็นต้น
เมล็ด ใช้เมล็ด ดอกมะเฟือง เปลือกอบเชย และน้ำตาลกรวด นำมาต้มรวมกันเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ขับเลือดหรือใช้เมล็ดคั่วให้เกรียมนำมาป่นให้ละเอียดชงกินกับน้ำ กินเป็นยาแก้ฝี เป็นต้น
ราก ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคงูสวัด
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น