วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553

เสลดพังพอน

ชื่ออื่น ๆ : พิมเสนต้น (ภาคกลาง), ฉิกแชเกี่ยม, ฮวยเฮียะแกโต่วเถียง (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria lupulina Lindl.

วงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขามากมายรอบ ๆ ต้น มีสีน้ำตาลอมเขียว ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเรียวแคบ ปลายใบแหลม โคนใบเรียวเล็กจนถึงก้านใบ ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง พื้นใบมีสีเขียวเข้มและมัน เส้นกลางใบสีแดง ใบยาวประมาณ 1.5-3.5 นิ้ว ก้านใบสั้นและที่โคนก้านมีหนามแหลมหนึ่งคู่สีม่วงชี้ลง

ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีใบประดับขนาดใหญ่ซึ่งจะเรียงกันเป็นรูปทรงกระบอกสีเขียว ปลายใบสีม่วงแดง ดอกมีสีส้มและสีเหลือง มี 5 กลีบแบ่งออกเป็นกลีบบนและล่าง กลีบบนจะมี 3 กลีบและกลีบใหญ่กว่ากลีบล่าง 2 กลีบ

ผล : เป็นฝัก รูปมนรี แบนและยาว ภายในผลมีเมล็ด 2-4 เม็ด

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุยและมีความชุ่มชื้น ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ใบสด

สรรพคุณ : ใบ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อยเช่น ผึ้ง แมงป่อง ตะขาบ แผลฟกช้ำจากการกระทบกระแทก หรือแผลมีเลือดออก ให้ใช้ใบตำพอกหรือผสมกับเหล้าตำพอก และอาจจะใช้ต้มน้ำกิน ทำให้เลือดไหลเวียนดี

ข้อห้ามใช้ : สตรีที่มีครรภ์ห้ามรับประทาน

อื่น ๆ : ในมาเลเซีย ใช้แก้ปวดฟันและแก้งูกัด ส่วนในประเทศไทย ใช้แก้พิษงูเห่ากัด โดยที่ใช้ ตำพอกปากแผลส่วนหนึ่ง แล้วผสมเหล้ากินส่วนหนึ่ง แต่ก็เป็นเพียงการยืดเวลาก่อนที่จะไปหาหมอ รากฝนทาแก้พิษตะขาบ พิษงู แมงป่อง

ตำรับยา : แมลงสัตว์กัดต่อยเช่นพวก แมงป่อง ตะขาบให้ใช้ใบสดผสมกับเหล้าตำพอกตรงบริเวณที่เป็น

สารเคมีที่พบ : ใบและก้านมีสารประกอบพวก iridoid glycosides



กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...