ชื่ออื่น ๆ : สนเทศ, สนแผง (กรุงเทพฯ), จันทยี (เชียงใหม่), เช่อป๋อ (จีนกลาง), เฉ็กแปะ
(แต้จิ๋ว)
ชื่อสามัญ : Chinese Arborvitae, Oriental Arborvitae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Biota orientalis (Linn.) Endl., B.chinensis Hort., Thuja chinesis Hort., T.orientalis
Linn.
วงศ์ : CUPRESSACEAE
ลักษณะ ทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น แตกกิ่งก้านสาขามากมาย และลำต้นจะบิดเป็นเกลียว เปลือกต้นมีสีน้ำตาลอมแดง ลำต้นจะสูงเต็มที่ประมาณ 20 เมตร
ใบ : เป็นไม้ใบร่วม แตกออกเป็นเกล็ดเล็ก ๆ เรียงติดกันแน่นกับกิ่ง ซึ่งอยู่ในลักษณะเป็นแผง มีสีเขียวสด
ดอก : ออกดอกเดี่ยว ดอกตัวผู้และตัวเมียจะอยู่กันคนละดอก แต่ก็อยู่ในต้นเดียวกัน ซึ่งเราสังเกตได้ง่ายคือ ดอกเพศเมียนั้นไม่มีก้าน แต่ดอกเพศผู้นั้นมีก้านสั้นมาก
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอประมาณ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ใบ ผล เปลือกต้น
สรรพคุณ : ใบ ใช้ห้ามเลือด แก้ปวดข้อ ขับระดู คางทูม ไฟไหม้น้ำร้อนลวก ตกเลือด แก้บิดไม่มีตัว แก้ไอ ขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต
ผล ใช้บรรเทาอาการลำไส้ตีบ หรือเป็นยากล่อมประสาทสำหรับผู้ที่หัวใจเต้นเร็วแล้วนอนไม่หลับ
เปลือกต้น เป็นยาฝาดสมา ทำให้ระดูขาวแห้ง หรือฝนเป็นยากวาดทวารเบา
ข้อห้ามใช้ : สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
ตำรับยา : 1. คางทูม ใช้ใบสดตำให้ละเอียด แล้วผสมกับไข่ขาวพอกตรงบริเวณที่เป็น เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง
2. ไอ ขับเสมหะและขับปัสสาวะ นำใบสดมา 30 กรัมและน้ำร้อน 500 มล. ชงเข้าด้วยกัน กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-6 ครั้ง
3. ความดันโลหิตสูง ใช้ใบสด 15 กรัม นำมาชงกับน้ำดื่มแทนชา ดื่มจนกระทั่งความดันลดลง
4. ริดสีดวงทวารเลือดไหลไม่หยุด ใช้ขี้เถ้าของใบสนหางสิงห์ชงน้ำกิน
5. เด็กท้องร่วง ใช้ใบสด 5-10 กรัม ต้มน้ำดื่ม
6. เลือดกำเดาไหล ใช้ใบแห้งและดอกทับทิมแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน บดเป็นผงแล้วเป่าเข้าในรูจมูก
7. แผลพุพองน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ นำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วใส่น้ำผสมลงไป คนจนเหนียวคล้ายยาง แล้วนำไปพอกตรงบริเวณที่เป็น
สาร เคมีที่พบ : ในใบมีน้ำมันระเหย 0.6-1% (thujone, fenchone, thujene, pinene, caryophyllene), และมี flavones 1-72% (aromadendrin, myricetin, quercetrin, amentoflavone, hinokilfavone), และมี แทนนิน, resin, วิตามินซี
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น