วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

เหลียง

ชื่ออื่น ๆ : เหลียง (ประจวบคีรีขันธ์), ตานขโมย (ภาคเหนือ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tournefortia ovata Wall. Ex. G. Don

วงศ์ : BORAGINACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม เลื้อย มีขนาดกลาง ลำต้น และกิ่งก้านมีขนขึ้นทั่วไป

ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน ลักษณะของใบ เป็นรูปรีหรือเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปข้าวหลามตัด ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดยาวประมาณ 3-6 นิ้ว พื้นผิวใบมีขน ใต้ท้องใบมีเส้นใบอย่างเห็นได้ชัด

ดอก : ดอกออกเป็นช่อ ออกตามบริเวณง่ามใบ ช่อหนึ่งมีดอกย่อยติดรวมกันแน่น ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก โคนกลีบจะเชื่อมติดกัน ปลายกลีบแยกออกเป็น 5 แฉก กลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 7-12 มม. ภายในหลอดดอกมีเกสรตัวผู้ และตัวเมีย

ผล : มีขนาดเล็กยาว เป็นรูปไข่ มีขนาดยาวประมาณ 4-7 มม.

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด ขยายพันธุ์ด้วยการใช้เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ทั้งลำต้น

สรรพคุณ : ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาขับพยาธิทุกชนิด และกินเป็นยาแก้โรคตานซาง เป็นต้น

ถิ่นที่อยู่ : เหลียง เป็นพรรณไม้ที่มักพบตามบริเวณป่าเบญจพรรณ และป่าชื้นทั่วไป



กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...