วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553

สกุณี

ชื่ออื่น ๆ : สัตคุณี (ราชบุรี), ตาโหลน (สตูล), แหนแดง (ภาคเหนือ), แฮ้น (นครสวรรค, ชุมพร), ขี้มอด (นครปฐม), เปียแคร้ (เขมร-จันทบุรี), ประคำขี้ควาย (ภาคใต้), ตีนนก (จันทบรี-ตราด)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia calamansanai (Blanco) Rolfe.

วงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะทั่วไป :


ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง จนถึงขนาดใหญ่ จะแตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอดของต้น
ซึ่ง จะแผ่กว้างแบนและมักจะมีพูพอนขนาดเล็ก กิ่งอ่อนมีขนนุ่มคลุมอยู่ หรืออาจเกลี้ยงเปลือกเป็นร่องตื้น ๆ สีน้ำตาลอมเทา ลำต้นสูงประมาณ 8-30 เมตร

ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงกันสลับไปตามข้อต้นลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ด้านบนของใบมักเป็นมันและมีตุ่มเล็ก ๆ บนผิวใบ ก้านใบยาว 0.5-1.5 นิ้ว

ดอก : ออกเป็นช่อ อยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาวประมาณ 3-6 นิ้วมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ด้วย ลักษณะของดอกที่โคนเป็นหลอด ส่วนปลายแผ่ออกเป็นรูปถ้วยตื้น ปลายแยกออกเป็นรูปสามเหลี่ยม บานเต็มที่ประมาณ 2-2.5 มม.

ผล : เป็นรูปสามเหลี่ยม และมีปีกหนา 2 ปีกอยู่ปีกละข้างของผลรูปร่างและขนาดของผลนั้นจะต่างกัน ผลโต 0.5-1.5 นิ้ว ยาว 1.5-3 นิ้ว

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนซุย และขยายพันธุ์ด้วยการตอน และเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : เปลือก

สรรพคุณ : เปลือก เป็นยาบำรุงหัวใจ ใช้รักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...