ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barleria strigosa Willd.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทั่วไป :
ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ที่ลำต้นไม่มีหนาม แตกกิ่งก้านสาขารอบ ๆ ต้นมากมาย
ตามกิ่งก้าน จะมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต
ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรีแต่ก็ค่อนข้างจะยาว ปลายใบแหลมและมีติ่ง ส่วนโคนใบนั้นก็จะแหลมและค่อย ๆ เรียวแหลมจนถึงก้านใบ ขอบใบมีหนาม พื้นใบเป็นสีเขียว ด้านล่างของใบมีขนยาวตามเส้นใบ ส่วนด้านบนมีบ้างประปราย
ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ซึ่งจะมีใบประดับห่อหุ้มอยู่ 4 กลีบต่อหนึ่งดอก กลีบใหญ่ 2 เล็ก 2 ส่วนดอกนั้นมีสีฟ้ามีอยู่ 5 กลีบ โคนดอกเป็นหลอดยาว 1-1.5 นิ้ว ตรงปลายดอก แยกออกเป็น 5 กลีบยาว 0.5 นิ้ว กลางดอกมีเกสร 4 อันยาว 0.8 นิ้ว
ผล : เป็นฝักเกลี้ยง ภายในผลจะมีเมล็ดผลละ 4 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบดินที่ร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ราก
สรรพคุณ : ราก ในประเทศอินเดีย ใช้รากปรุงเป็นยาแก้ไอ และในประเทศไทยนั้น ปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน ดับพิษไข้ทั้งปวง ลดความร้อนในร่างกาย แก้กระหายน้ำ และกินเป็นยาถอนพิษไข้กาฬ
ถิ่นที่อยู่ : มักจะพบมากทางป่าเต็งรัง ป่าไผ่ และป่าดงดิบ
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ตามกิ่งก้าน จะมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต
ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงกันเป็นคู่ ๆไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรีแต่ก็ค่อนข้างจะยาว ปลายใบแหลมและมีติ่ง ส่วนโคนใบนั้นก็จะแหลมและค่อย ๆ เรียวแหลมจนถึงก้านใบ ขอบใบมีหนาม พื้นใบเป็นสีเขียว ด้านล่างของใบมีขนยาวตามเส้นใบ ส่วนด้านบนมีบ้างประปราย
ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ซึ่งจะมีใบประดับห่อหุ้มอยู่ 4 กลีบต่อหนึ่งดอก กลีบใหญ่ 2 เล็ก 2 ส่วนดอกนั้นมีสีฟ้ามีอยู่ 5 กลีบ โคนดอกเป็นหลอดยาว 1-1.5 นิ้ว ตรงปลายดอก แยกออกเป็น 5 กลีบยาว 0.5 นิ้ว กลางดอกมีเกสร 4 อันยาว 0.8 นิ้ว
ผล : เป็นฝักเกลี้ยง ภายในผลจะมีเมล็ดผลละ 4 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ชอบดินที่ร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : ราก
สรรพคุณ : ราก ในประเทศอินเดีย ใช้รากปรุงเป็นยาแก้ไอ และในประเทศไทยนั้น ปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน ดับพิษไข้ทั้งปวง ลดความร้อนในร่างกาย แก้กระหายน้ำ และกินเป็นยาถอนพิษไข้กาฬ
ถิ่นที่อยู่ : มักจะพบมากทางป่าเต็งรัง ป่าไผ่ และป่าดงดิบ
กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น