วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

แสมดำ

แสมดำ (Avicennia officinalis L.)

วงศ์ : AVICENNIACEAE

ชื่ออื่น : อาปี – อาปี (ปัตตานี)

ลักษณะทั่วไป


เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง – ใหญ่ สูง ๘ – ๒๕ เมตร เรือน ยอดเป็นพุ่มหนา แตกกิ่งระดับต่ำ ไม่มีพูพอน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กน้อย สีเทาถาเทาอมน้ำตาล หรือน้ำตาลอมเขียว มีช่องอากาศตามลำต้น มีรากหายใจคล้ายดินสอ ยาว ๑๕ – ๒๕ ซม. เหนือผิวดิน

ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ขนาด ๓ – ๕ x ๖ – ๙ ซม. ปลายใบกลม ฐานใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านท้องใบมีขนยาวนุ่ม สีเหลืองอมน้ำตาล ก้านใบยาว ๐.๗ – ๑.๑ ซม.ใบอ่อนมีขน

ดอก ออกที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อเชิงลดแน่น มี ๗ – ๑๐ ดอก ก้านช่อดอกยาว ๒ – ๖ ซม. ดอกย่อยไม่มีก้าน เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑ – ๑.๕ ซม. กลีบเลี้ยงมี ๕ แฉก กลีบดอก ๔ กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ แต่ละกลีบ ยาว ๐.๔ – ๐.๗ ซม. สีเหลืองหรือเหลือง – ส้ม เกสรเพศผู้ ๔ อัน อยู่เหนือหลอดกลีบดอก ออกดอกประมาณเดือนมกราคม – พฤษภาคม

ผล รูปหัวใจเบี้ยว แบน ขนาด ๒ – ๒.๕ x ๒.๕ – ๓ ซม. เปลือกอ่อนนุ่ม สีเหลืองอมเขียว มีขนนุ่มสีเหลืองงอมน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ผิวเปลือกมีรอยย่น ปลายผลมีจะงอยสั้น ผลแก่เปลือกจะแตกด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม แต่ละผลมี ๑ เมล็ด

มักขึ้นตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ที่เป็นดินเหนียวค่อนข้างแข็ง ไม่พบว่าขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ และมักไม่พบตามริมชายฝั่งทะเล ประโยชน์ด้านสมุนไพร แก่นจะมีรสเค็มเฝื่อน ต้มน้ำแก้ลมในกระดูก แก้กษัยโดยมากจะใช้คู่กับแก่นแสมสาน เป็นยาขับโลหิตเสียของสตรี





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...