วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ราชดัด

ชื่ออื่น ๆ : มะดีควาย มะขี้เหา ยาแก้ฮากขม เท้ายายม่อมน้อย กาจับหลัก(เชียงใหม่) พญาดาบหัก (ตราด) สอยดาว (จันทบุรี) มะลาคา (ปัตตานี) กะดัด ฉะดัด (ใต้) ฉะดัด (สุราษฎร์) เพี้ยฟาน (โคราช) ราชดัด ดีคน (ไทย) โค้วเซียมจี๊ (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brucea amarissima Desv.

วงศ์ : SIMAROUBACEAE

ลักษณะทั่วไป


ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม

ใบ : เป็นใบประกอบ ใบย่อยออกแบบขนนก ขอบใบหยักแบบซี่ฟัน ตรงปลายใบจะแหลม ใบจะเป็นสีเขียวเข้ม

ดอก : จะออกเป็นช่อเล็ก ๆ เป็นสีแดง มักจะออกตามง่ามกิ่งส่วนดอกตัวผู้ และดอกตัวเมีย จะอยู่คนละดอกในช่อดอกเดียวกัน หรืออาจเป็นช่อดอกตัวผู้ทั้งต้น

ผล : จะเป็นรูปไข่ ถ้าผลยังไม่แก่จัดจะเป็นสีเขียว ถ้าแก่จะเป็นสีดำ เรียบไม่เป็นขรุขระ และมีลักษณะคล้ายเมล็ดมะละกอแห้ง ส่วนเมล็ดในจะเป็นสีขาว และมีรสขมจัด

การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ผล และเมล็ด ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ผล ใช้รักษาอาการปวดท้อง

เมล็ด ใช้เป็นยาบำบัดโรคเกี่ยวกับลำไส้ ใช้เตรียมเป็นยาคุมธาตุ บำรุงธาตุ รักษาโรคบิดไม่มีตัว รักษาโรคพยาธิ หรือใช้ทั้งต้นและเมล็ด เป็นยารักษาโรคไข้มาเลเรีย ในเมล็ดนั้น ยังพบว่ามีสารอัลคาลอยด์ Brucamarine และ 20% ของ fatty acid




จากเว็บ http://health.spiceday.com/

กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...