วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

ราชาวดีป่า

ชื่ออื่น ๆ : ดอกด้ายหางหมา (เชียงใหม่-ลำปาง) ไคร้บก (เหนือ) เกียงพาไหล ไคร้หางหมา ดอกฟู มะหาดน้ำ หญ้าแห้ง หัวเถื่อน (เชียงใหม่) ดอกด้ายน้ำ (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) ดอกถ่อน ฟอน (เลย) ดอกแม่หม้าย แม่หม้าย (กาญจนบุรี) ปอกน้ำ (เชียงราย) พู่จีบอย (กะเหรี่ยง) ปุนปุ๊ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) โพหนองปี๊(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : dBuddieia asiatica Lour.

วงศ์ : LOGANIACEAE

ลักษณะทั่วไป


ต้น : เป็นพรรณไม้พุ่ม ลำต้นจะมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร

ใบ : จะมีความกว้างประมาณ 3 ซม. และยาวประมาณ 13 ซม. ใบจะออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปหอก
ขอบใบเรียบ หรือเป็นหยักเล็กน้อย ตรงปลายใบจะเรียวแหลม ส่วนโคนใบจะสอบ ด้านล่างจะมีขน

ดอก : จะออกเป็นช่อ ตรงยอดและตามง่ามใบ ลักษณะของดอกจะหนาแน่นและมีขน หรือเกลี้ยง มีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน จะติดอยู่ภายในท่อดอก ก้านเกสรจะสั้น และมีอับเรณูเป็นรูปไข่ ส่วนเกสรตัวเมียจะมีอยู่ 1 อัน ภายในจะมีอยู่ 2 ช่อง

ผล : ผลแห้งจะไม่มีเนื้อ มีลักษณะเป็นรูปรี มีความยาวประมาณ 6 มม. ภายในจะมีเมล็ด

การขยายพันธุ์ : โดยการเพาะเมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคผิวหนัง และเป็นยาทำให้แห้ง

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้ขึ้นได้ทั่วไปในประเทศไทย เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของเอเซีย




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...