วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่อพื้นเมือง : กำแพงเจ็ดชั้น (ระยอง, ตราด, ประจวบคีรีขันธ์) ตะลุ่มนก (ราชบุรี), ตาไก้ (พิษณุโลก,นครราชสีมา), น้ำนอง มะต่อมไก่ (ภาคเหนือ), หลุมนก (ภาคใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacia chinensis L.

ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE

ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง

2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบหยักหยาบๆ ดอกออกเป็นกลุ่มหรือเป็นช่อสั้นๆ ที่ง่ามใบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลือง กลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ป้อม ผลค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงหรือแดงอมส้ม มี 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม
คุณประโยชน์ : ผลกินได้ ในฟิลิปปินส์ใช้รากเข้ายาแผนโบราณเพื่อบำบัดอาการปวดประจำเดือนหรืออาการประจำเดือนผิดปรกติบำรุงโลหิตและช่วยระบายลมในท้อง ลดอาการปวดเมื่อยตามข้อ มีสรรพคุณคล้ายกับใบข่า แต่ใช้ต้มดื่ม โดยนำมาฝานให้เป็นแว่นๆ แล้วต้มในน้ำจนเดือด น้ำจะเป็นสีชา มีรสจืด ดื่มแทนน้ำได้เลย
ราก แก้ลมอัณฑพฤกษ์ ขับลม รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลืองหัว รักษาบาดแผลเรื้อรัง รักษาตะมอยหรือตาเดือนหัวใจ แก้ไข้ แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้ประดง แก้ซางให้ตาเหลือง แก้ดีพิการใบ แก้มุตกิต ขับโลหิตระดู ขับน้ำคาวปลาดอก แก้บิดมูกเลือดต้น ขับลม แก้น้ำดีพิการ แก้เสมหะ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต แก้ปวดตามข้อ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...