วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

มะกล่ำต้น

มะกล่ำต้น เป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคล จังหวัดสิงห์บุรี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adenanthera pavonina L.

วงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Red Sandalwood Tree

ชื่ออื่น : มะกล่ำตาช้าง มะหัวแดง มะโหกแดง , อีสานเรียกต้นบักหล่ำ

ไม้ดีมีประโยชน์ : มะกล่ำตาช้างรักษาโรคหลายอย่าง

"มะกล่ำตาช้าง" ที่เราเห็นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป นอกจากที่จะใช้ประโยชน์ที่นำไม้มาใช้ในงานก่อสร้างแล้ว คนโบราณอาศัย "มะกล่ำตาช้าง" ทำเป็นยาหลายอย่าง อาทิ ใช้ราก มาต้มดื่มแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก แก้ท้องร่วงเป็นบิด ส่วนเมล็ด บดเป็นผงดับพิษ โรยรักษาแผลที่เกิดจากหนอง และฝีได้ ขณะที่ ใบและเมล็ดแก้ริดสีดวงทวารหนัก และเปลือกกับเนื้อไม้ใช้ย้อมผ้าสีธรรมชาติเป็นสีแดงได้

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE เท่าที่เห็นมาสูงเต็มที่ราว 20 เมตร เรือนยอดมีรูปทรงเป็นพุ่มกลม ให้ร่มเงาได้ดี เปลือกต้นมีรอยแตกประปราย สีน้ำตาลอ่อน

ใบ เป็นประกอบแบบขนนกออกเรียงสลับตามกิ่ง แต่ละใบมีใบย่อย 6-15 คู่ ใบย่อยรูปรีแบบขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 ซม. ยาว 2-4 ซม. โคนใบและปลายใบมน ขอบใบเรียบ ยอดนำมารวก หรือนึ่งใสปลา หรือนึ่งใส่กบอร่อย

ดอก ออกเป็นช่อขนาดเล็กคล้ายหางกระรอก เวลาบานสีขาวอมเหลืองอ่อน

ผล ออกเป็นฝักแบนยาว รูปทรงบิดงอเล็กน้อย ผลมีความกว้างราว 1-1.5 ซม. ยาว 12-18 ซม. ผลแก่แตกด้าน นำมานึ่งใส่ปลาก็อร่อย ลักษณะเมล็ดสีแดงเรียงเป็นตลับหลายเมล็ด เมล็ดเป็นคนละชนิดกับ มะกล่ำตาหนู

เมล็ด มะกล่ำตาหนูนำมาคั่วกินไม่ได้เนื่องจากมีพิษ ส่วนมะกล่ำ หรือหมากหล่ำ ตามรูปข้างบนสีแดงทั้งหมดนำมาคั่วใส่เกลือกินได้

ไม้ชนิดนี้ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ขึ้นกระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...