วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ทองพันชั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz

ชื่อสามัญ : White crane flower

วงศ์ : ACANTHACEAE

ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีประสีม่วงแดง ผล แก้ง แตกได้

ส่วนที่ใช้ : ใบสด รากสด หรือตากแห้งเก็บเอาไว้ใช้

สรรพคุณ : ใช้รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ผื่นคันเรื้อรัง

วิธีและปริมาณที่ใช้

ใช้ใบสด หรือราก ตำแช่เหล้า หรือแอลกอฮอล์ ทาบ่อย

ใช้ใบสด ตำให้ละเอียด ผสมน้ำมันก๊าด ทาบริเวณที่เป็นกลาก วันละ 1 ครั้ง เพียง 3 วัน โรคกลากหายขาด

ใช้รากทองพันชั่ง 6-7 รากและหัวไม้ขีดไฟครึ่งกล่อง นำมาตำเข้ากันให้ละเอียด ผสมน้ำมันใส่ผมหรือวาสลิน (กันไม่ให้ยาแห้ง) ทาบริเวณที่เป็นกลาก หรือโรคผิวหนังบ่อยๆ

ใช้รากของทองพันชั่ง บดละเอียดผสมน้ำมะขามและน้ำมะนาว ชโลมทาบริเวณที่เป็น




วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผักกุ่ม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva adansonii DC. subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อสามัญ : Sacred Barnar, Caper Tree

วงศ์ : Capparaceae

ชื่ออื่น : ผักกุ่ม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 6-10 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 7-9 ซม. ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 4-6 ซม. ยาว 7.5-11 ซม. ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ขอบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา เส้นแขนงใบข้างละ 4-5 เส้น ก้านใบย่อยยาว 4-5 มม. ช่อดอกแบบช่อกระจะ ออกตามง่ามใบใกล้ปลายยอด ก้านดอกยาว 3-7 ซม. กลีบเลี้ยงรูปรี กว้าง 2-3 มม. ยาว 4-5 มม. เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกสีขาวอมเขียวแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือชมพูอ่อน รูปรี กว้าง 0.8-1.5 ซม. ยาว 1.2-1.8 ซม. โคนกลีบเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาว 3-7 มม. เกสรเพศผู้สีม่วง มี 15-22 อัน ก้านชูอับเรณูยาวประมาณ 4 ซม. ก้านชูเกสรเพศเมียยาวประมาณ 5 ซม. รังไข่ค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3.5 ซม. เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง เมื่อแก่เปลือกเรียบ ก้านผลกว้าง 2-4 มม. ยาว 5-13 ซม. เมล็ดรูปคล้ายเกือกม้าหรือรูปไต กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 6 มม. ผิวเรียบ

สรรพคุณ

ใบ - ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกตะมอย และทาแก้เกลื้อนกลาก

เปลือก - ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ

กระพี้ - ทำให้ขี้หูแห้งออกมา

แก่น - แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง

ราก - แก้มานกษัย อันเกิดแต่กองลม

เปลือก - ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง


คำฝอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carthamus tinctorius L.

ชื่อสามัญ : Safflower, False Saffron, Saffron Thistle

วงศ์ : Compositae

ชื่ออื่น : คำ คำฝอย ดอกคำ (เหนือ) คำยอง (ลำปาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 40-130 ซม. ลำต้นเป็นสัน แตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรี รูปใบหอกหรือรูปขอบขนาน กว้าง 1-5 ซม. ยาว 3-12 ซม. ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ดกช่อ ออกที่ปลายยอด มีดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่อบานใหม่ๆ กลีบดอกสีเหลืองแล้วจึงเปลี่ยนเป็นสีแดง ใบประดับแข็งเป็นหนามรองรับช่อดอก ผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก



สรรพคุณ
ดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
- รสหวาน บำรุงโลหิตระดู แก้น้ำเหลืองเสีย แก้แสบร้อนตามผิวหนัง
- บำรุงโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท ขับระดู แก้ดีพิการ
- โรคผิวหนัง ฟอกโลหิต
- ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันไขมันอุดตัน

เกสร
- บำรุงโลหิต ประจำเดือนของสตรี

เมล็ด
- เป็นยาขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ทาแก้บวม
- ขับโลหิตประจำเดือน
- ตำพอกหัวเหน่า แก้ปวดมดลูกหลังจากการคลอดบุตร

น้ำมันจากเมล็ด
- ทาแก้อัมพาต และขัดตามข้อต่างๆ

ดอกแก่
- ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง

วิธีและปริมาณที่ใช้


ชาดอกคำฝอย ช่วยเสริมสุขภาพ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด โดยใช้ดอกแห้ง 2 หยิบมือ (2.5 กรัม) ชงน้ำร้อนครึ่งแก้ว ดื่มเป็นเครื่องดื่มได้
สารเคมี
ดอก พบ Carthamin, sapogenin, Carthamone, safflomin A, sfflor yellow, safrole yellow
เมล็ด จะมีน้ำมัน ซึ่งประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว


คุณค่าด้านอาหาร


ในเมล็ดคำฝอย มีน้ำมันมาก สารในดอกคำฝอย พบว่าแก้อาการอักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อบางตัวได้
ในประเทศจีน ดอกคำฝอย เป็นยาเกี่ยวกับสตรี ตำรับยาที่ใช้รักษาสตรีที่ประจำเดือนคั่งค้างไม่เป็นปกติ หรืออาการปวดบวม ฟกช้ำดำเขียว มักจะใช้ดอกคำฝอยด้วยเสมอ โดยต้มน้ำแช่เหล้า หรือใช้วิธีตำพอก แต่มีข้อควรระวังคือ หญิงมีครรภ์ ห้ามรับประทาน
ใช้ดอกคำฝอยแก่ มาชงน้ำร้อน กรอง จะได้น้ำสีเหลืองส้ม (สาร safflower yellow) ใช้แต่งสีอาหารที่ต้องการให้เป็นสีเหลือง



จากเว็บ http://www.rspg.or.th




วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ธูปฤาษี

ธูปฤาษี

ชื่อสามัญ Lesser reedmace, Cat-tail

ชื่ออื่น กกช้าง (ภาคกลาง); หญ้าสลาบหลวง (ภาคเหนือ)
วงศ์ Typhaceae อยู่ในอันดับ Poales พืชใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ส่วนมากอยู่ในน้ำ มีเหง้าแตกแขนง ลำต้นแข็ง ใบออกจากโคนลำต้น มีกาบใบ ใบเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปแถบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลดรูปทรงกระบอก ดอกจำนวนมาก ดอกเพศผู้อยู่ด้านบน ดอกเพศเมียอยู่ด้านล่าง ดอกมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้มี 1-3 อัน มีขนล้อมรอบ ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูมี 2 ช่อง ติดที่ฐาน แตกตามยาว รังไข่ติดบนหลอดยาว มีขนจำนวนมาก หรือมีใบประดับย่อยที่โคน ก้านเกสรเพศเมียเป็นหลอด ยอดเกสรกว้าง รูปแถบ หรือรูปใบพาย ออวุล 1 เม็ด รังไข่ที่เป็นหมันไม่มีก้านเกสรเพศเมีย ผลมีขนาดเล็ก หลุดร่วงพร้อมก้านผล เมล็ดห้อยลง เป็นริ้ว

วงศ์ธูปฤาษีมีสมาชิกเพียงสกุลเดียวคือ สกุลธูปฤาษี Typha มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น

ดูลักษณะสกุลที่ ธูปฤาษี, วงศ์ สกุลธูปฤาษีมีสมาชิกประมาณ 16 ชนิด ในไทยพบเพียงชนิดเดียวคือ ธูปฤาษี Typha angustifolia L.

หมายเหตุ ชื่อ Typha มาจากภาษากรีก typhos แปลว่า marsh หมายถึงถิ่นที่อยู่ที่เป็นที่ชื้นแฉะ

ธูปฤาษี เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ตั้งตรง สูง 1.5-3 ม. ใบมีกาบใบ เรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปแถบ ยาว 50-120 ซม. เว้าใกล้เส้นกลางใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลดรูปทรงกระบอก ช่วงดอกเพศผู้ยาว 8-40 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางช่อ 0.2-0.7 ซม. มีใบประดับ 1-3 ใบ หลุดร่วง ช่วงดอกเพศเมียยาว 5-30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางช่อ 0.6-2 ซม. มักแยกออกจากส่วนดอกเพศผู้ด้วยส่วนก้านช่อดอกที่เป็นหมันที่ยาว 2.5-7 ซม. ดอกมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอกและกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ส่วนมากมี 3 อัน มีขนล้อมรอบ ก้านเกสรเพศผู้สั้น อับเรณูยาว 1.5-2 มม. ดอกเพศเมียมีใบประดับย่อยรูปเส้นด้าย รังไข่รูปกระสวย ก้านรังไข่เรียว ยาวประมาณ 5 มม. มีขนยาว ก้านเกสรเพศเมียยาว 1-1.5 มม. มีขนแต่สั้นกว่าบนก้านรังไข่ ยอดเกสรรูปแถบหรือรูปใบหอก ผลมีขนาดเล็ก รูปรี

ธูปฤาษีมีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในไทยพบทุกภูมิภาค ขึ้นตามหนองน้ำ ทะเลสาบ หรือริมคลอง ตามที่โล่งทั่วไป

ประโยชน์ ใบใช้สานเสื่อหรือตะกร้า ช่อดอกแห้งใช้เป็นไม้ประดับ ในสมุนไพรจีนอับเรณูและลำต้นใช้รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ลำต้นยังใช้เพิ่มน้ำนมในสตรีหลังคลอดบุตร



ผักตบชวา

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

อาณาจักร พืช (Plantae)

ส่วน Liliopsida

ชั้น Commelinidae

อันดับ Commelinales

วงศ์ Pontederiaceae

สกุล Eichhornia

สปีชีส์ E. crassipes

ชื่อวิทยาศาสตร์ Eichhornia crassipes (Mart.) Solms

ผักตบชวา (อังกฤษ: Water Hyacinth) เป็นพืชน้ำล้มลุกอายุหลายฤดู สามารถอยู่ได้ทุกสภาพน้ำ มีถิ่นกำเนิดในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ มีดอก สีม่วงอ่อน คล้ายช่อดอกกล้วยไม้ และแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นวัชพืชที่ร้ายแรงในแหล่งน้ำทั่วไป มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นดังนี้: ผักปอด, สวะ, ผักโรค, ผักตบชวา, ผักยะวา, ผักอีโยก, ผักป่อง

ประวัติ

ผักตบชวาถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยนำเข้ามาจากประเทศอินโดนีเซียในฐานะเป็นไม้ประดับสวยงาม โดยเจ้านายฝ่ายในที่ตามเสด็จประพาสประเทศอินโดนีเซีย ได้เห็นพืชชนิดนี้มีดอกสวยงาม จึงนำกลับมาปลูกในประเทศไทย และใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าสนามวังสระปทุม จนกระทั่งเกิดน้ำท่วมวังสระปทุมขึ้น[1] ทำให้ผักตบชวาหลุดลอยกระจายไปตามแม่น้ำลำคลองทั่วไป และแพร่พันธุ์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ผักตบชวามีลำต้นสั้นแตกใบเป็นกอลอยไปตามน้ำ มีไหล ซึ่งเกิดตามซอกใบแล้วเจริญเป็นต้นอ่อนที่ปลายไหล ถ้าน้ำตื้นก็จะหยั่งรากลงดิน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่หรือเกือบกลม ก้านใบกลมอวบน้ำตรงกลางพองออกภายในเป็นช่องอากาศคล้ายฟองน้ำช่วยให้ลอยน้ำได้ ดอกเกิดเป็นช่อที่ปลายยอดมีดอกย่อย 3-25 ดอก สีม่วงอ่อน มีกลีบดอก 6 กลีบ กลีบบนสุดขนาดใหญ่กว่ากลีบอื่น ๆ และมีจุดเหลืองที่กลางกลีบ ขยายพันธุ์โดยการแยกต้นอ่อนที่ปลายไหลไปปลูก

ประโยชน์

การบริโภค ดอกอ่อนและก้านใบอ่อนกินเป็นผักลวกจิ้มน้ำพริกหรือทำแกงส้ม
ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เช่นหมู ใช้ทำปุ๋ยหมัก ก้านและใบอ่อนนำมารับประทานได้ เครื่องจักสานผักตบชวา
ด้านสมุนไพร ใช้แก้พิษภายในร่างกาย และขับลม ใช้ทาหรือพอกแก้แผลอักเสบ

อาหารสัตว์ โดยปกติ ปศุสัตว์หลายชนิดกินผักตบชวาอยู่แล้ว กล่าวคือ วัว ควาย แพะ แกะ หินผักตบชวาที่ขึ้นอยู่ริมฝั่งตามธรรมชาติ ปลาบางชนิดกินผักตบชวาในน้ำ หมูกินผักตบชวาที่ผู้เลี้ยงเก็บมาต้มให้กิน สัตว์เหล่านี้ จะช่วยกำจัดผักตบชวาให้ลดน้อยลงได้ และเรายังได้ประโยชน์จากสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ด้วย อย่างไรก็ตาม เจ้าของสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ไม่ควรปลูกเลี้ยงผักตบชวาในที่สาธารณะ เพราะเป็นการช่วยส่งเสริมการแพร่กระจายของผักตบชวาไปในที่ต่างๆ อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายตาม พรบ. สำหรับกำจัดผักตบชวาอีกด้วย ในปัจจุบัน ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา มีการนำผักตบชวาไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์โดยการบดเอาน้ำออก อบให้แห้ง แล้วอัดเป็นเม็ดแบบเดียวกับมันสำปะหลังเม็ด ผักตบชวาแห้งมีโปรตีน 11.15% ซึ่งนำว่าสูงพอสมควร

ปุ๋ย ผักตบชวามาตุโปแตสเซียมอยู่มากเป็นพิเศษ ส่วนธาตุในโตรเจนและฟอสฟอรัส ก็มีพอสมควรและขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำที่มันขึ้นอยู่กับสภาพของน้ำที่มันขึ้นอยู่ เราอาจจะนำผักตบชวาไปทำปุ๋ยได้ 32 วิธี คือ
(1) ปล่อยให้แห้ง แล้วเผาเพื่อเก็บขี้เถ้าซึ่งมีโปแตสเซียมอยู่ถึง 20% เอาไปใส่ให้แก่พืชปลูก ซึ่งมีข้อได้เปรียบตรงที่ไม้ต้องขนหนัก แต่ก็ได้เผาอินทรียวัตถุที่พืชต้องการไปหมด
(2) ทำเป็นปุ๋ยหมักโดยกองสลับชั้นกับดิน ปุ๋ยคอก ขยะ ฯลฯ ซึ่งจะเน่าเปื่อยเป็นปุ๋ยหมัก นำไปใช้ได้ภายใน 2 เดือน ระหว่างหมัก ควรกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 15 วัน โดยเอาส่วนบนลงล่างและส่วนล่างขึ้นบน กลับกองปุ๋ยหมักสัก 2 ครั้ง จากนั้นก็ปล่อยให้ค่อยๆ กลายเป็นปุ๋ยหมักซึ่งจะมีสีดำคล้ำ ปุ๋ยหมักจากผักตบชวา (ผสมดิน) มีองค์ประกอบคือ ไนโตรเจน 2.05% ฟอสฟอรัส 1.1% โปแตสเซียม 2.5% ธาตุทั้งสามอย่างน้ำเป็นอาหารธาตุที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของพืชทุกชนิดในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก
(3) ทำวัสดุคลุมดิน โดยกานำผักตบชวาไปคลุมพืชปลูก เพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นไว้ในดิน ป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้น และเมื่อสลายตัว ก็กลายเป็นอินทรียวัตถุและปุ๋ยให้แก่พืชปลูก

เพาะเห็ด ผักตบชวาที่ตากแดดจนแห้งดีแล้ว สามารถนำมาเพาะเห็ดฟางได้ดี วิธีที่เหมาะที่สุดก็คือ ใช้ผักตบชวาแห้ง 1 ส่วน สลับกับฟางข้าว 1 ส่วน ควรใช้ลังไม้เป็นแบบในการกองเห็ด ขนาดของลังประมาณ 30 x 30 x 50 ซม. เพื่อความสะดวกในการยกกองเห็ดออกจากลัง ควรทำลังไม้เป็น 2 ส่วน ไม่มีฝาบนและล่าง แล้วประกอบเข้าด้วยกัน โดยใช้สายยูเกี่ยว วางลังที่ประกอบแล้วลงบนแผ่นไม้ วางผักตบชวาแห้งที่แช่น้ำให้ชุ่มลงในลัง เป็นชั้นสูงประมาณ 10 ซม. แล้วกดให้แน่น โรยเชื้อเห็ดตามริม (ลึกเข้าไปประมาณ 2-3 ซม.) วางฟางข้าวที่แช่น้ำให้ชุ่มเป็นชั้น แบบเดียวกับชั้นผักตบชวา แล้วโรยเชื้อเห็ดด้วยวิธีเดียวกัน วางผักตบชวาและฟางข้าวสลับชั้นเช่นนี้จนกระทั่งถึงปากลัง ด้านบนโรยเชื้อเห็ดทั้งหมด กองหนึ่งใช้เชื้อเห็ดประมาณครึ่งกระป๋อง (กระป๋องละ 3 บาท) จากนั้นก็แกะไม้แบบลังออก ยกกองเห็ดเข้าไปไว้ในที่อับลมและชื้น เช่นใต้ถุนบ้าน เพื่อช่วยให้เห็ดมีความชื้นมากๆ ควรทำที่กำบังลมโดยใช้แผงจาก แฝก หรือแผ่นพลาสติกกั้น รักษาให้ความชื้นอยู่เสมอ จะเกิดดอกเห็ดทั้งด้านข้าสี่ด้านและด้านบนประมาณวันที่ 7 ปริมาณเห็ดที่เกิดบนได้ประมาณกองละ 1 กิโลกรัม ซากผักตบชวาและฟางข้าวที่เก็บเห็ดไปหมดแล้ว ใช้เป็นปุ๋ยหมักหรือวัสดุคลุมดินได้เป็นอย่างดี การกองเห็ดกองขนาดนี้จะใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที หากสามารถทำได้ทุกวันๆ ละกองจะมีเห็ดฟางรับประทานวันละ 1 กิโลกรัม ถ้าหากรับประทานไม่หมด ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้ในราคาเฉลี่ยประมาณกิโลกรัม 15 บาท โดยลงทุนค่าเชื้อเห็ดเพียง 1.510 บาท หรือได้กำไรถึง 10 เท่า

เอเลี่ยนสปีชี่ส์

ดอกสีม่วงอ่อนของผักตบชวาผักตบชวาจัดเป็น "เอเลี่ยน สปีชี่ส์" หรือ "ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น" ที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศน์ในประเทศไทย มีการแพร่ขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว ใน 1 เดือนผักตบชวาเพียง 1 ต้นอาจขยายพันธุ์ได้มากถึง 1,000 ต้น ถึงแม้น้ำจะแห้งจนต้นตายแต่เมล็ดของมันก็ยังมีชีวิตต่อไปได้นานถึง 15 ปีและทันทีที่เมล็ดได้รับน้ำที่เพียงพอมันก็จะแตกหน่อเป็นต้นใหม่ต่อไป[3] จนกลายเป็นปัญหาทางน้ำและทวีความรุนแรงจนเป็นปัญหาระดับประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องเสียงบในการกำจัดผักตบชวาจำนวนมาก ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้นอีกกว่า 50 ประเทศทั่วโลกก็เจอปัญหาเช่นเดียวกันนี้ จะมีก็แต่ประเทศในแถบยุโรปเท่านั้นที่ปลอดการรบกวน และบริเวณที่ถูกผักตบชวาคุกคามมากที่สุดคือ ทะเลสาบวิกตอเรีย ประเทศไทยเองมีการเริ่มกำจัดผักตบชวามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ถึงขนาดมีการออกพระราชบัญญัติสำหรับกำจัดผักตบชวา พ.ศ. 2456[4][5] ปัจจุบันมีหน่วยงานและองค์ก่อนต่างๆได้เข้ามาช่วยเหลือในการกำจัด เช่น นำไปผลิตเป็นของใช้ อาหารสัตว์ ทำปุ๋ย ฯลฯ และมีการนำแมลงมวนผักตบจากแหล่งกำเนิดที่ทวีปอเมริกาใต้ เข้ามาทดลองปล่อยในประเทศไทย เพื่อควบคุมจำนวนประชากรของผักตบชวา

บทบาทในการกำจัดน้ำเสีย

ผักตบชวาสามารถช่วยในการบำบัดน้ำเสีย โดยการทำหน้าที่กรองน้ำที่ไหลผ่านกอผักตบชวาอย่างช้าๆ ทำให้ของแข็งแขวนลอยต่างๆ ที่ปนอยู่ในน้ำถูกสกัดกั้นกรองออก นอกจากนั้น ระบบรากที่มีจำนวนมากจะช่วยกรองสารอินทรีย์ที่ละเอียด และจุลินทรีย์ที่อาศัยเกาะอยู่ที่ราก จะช่วยดูดสารอินทรีย์ไว้ด้วยอีกทางหนึ่ง รากผักตบชวาจะดูดสารอาหารที่อยู่ในน้ำ ทำให้ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในน้ำเสียจึงถูกกำจัดไป อย่างไรก็ตามไนโตรเจนในน้ำเสียนั้น ส่วนมากจะอยู่ในรูปสารประกอบทางเคมี เช่น สารอินทรีย์ไนโตรเจน แอมโมเนียไนโตรเจน และไนเตรทไนโตรเจน พบว่า ผักตบชวาสามารถดูดไนโตรเจนได้ทั้ง 3 ชนิด แต่ในปริมาณที่แตกต่างกันคือ ผักตบชวาสามารถดูดอินทรีย์ไนโตรเจนได้สูงกว่าไนโตรเจนในรูปอื่นๆ คือ ประมาณ 95 % ขณะที่ไนเตรทไนโตรเจน และแอมโมเนียไนโตรเจน จะเป็นประมาณ 80 % และ 77 % ตามลำดับ[6] สถานที่แรกในประเทศไทยที่ใช้การบำบัดด้วยวิธีนี้คือ "บึงมักกะสัน" ซึ่งเป็นโครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยใช้หลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยการกรองน้ำเสียด้วยผักตบชวา (Filtration)



วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มันสำปะหลัง

มันสำปะหลัง (Cassava)

มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญพืชหนึ่ง เป็นพืชอาหารที่ใช้เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต ถ้าพิจารณาจากปริมาณการผลิตพืชอาหารทั่วโลกมันสำปะหลังอยู่ในอันดับที่ 5 รองมาจากข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวและมันฝรั่ง เป็นพืชอาหารที่สำคัญของประเทศในเขตร้อน โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ และเอเชียบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งปลูกมันสำปะหลังเพื่อใช้ในการบริโภคโดยตรง ปริมาณการผลิตของมันสำปะหลังทั่วโลกประมาณสองในสามส่วนใช้เป็นอาหารมนุษย์ที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์และใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม (Cock , 1985) จากรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) พ.ศ. 2538 ทั่วโลกผลิตมันสำปะหลังได้ 163.78 ล้านตัน แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ทวีปแอฟริกา ซึ่งผลิตได้ถึง 82.77 ล้านตัน รองลงมาเป็นทวีปเอเชีย ผลิตได้ 48.36 ล้านตัน ส่วนทวีปอเมริกาผลิตรวมกันได้ 32.5 ล้านตัน ส่วนมากเป็นประเทศในอเมริกาใต้หรือแถบลาตินอเมริกา ประเทศที่ผลิตได้มากที่สุดในโลก 5 อันดับแรกได้แก่ ไนจีเรีย บราซิล ไทย ซาอีร์ และอินโดนีเซีย
สำหรับประเทศไทยมันสำปะหลังมีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมากเพราะมีเนื้อที่ปลูกมากเป็นอันดับ 4 รองจาก ข้าว ข้าวโพด และยางพารา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน พ.ศ. 2532 มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุดถึง 10.14 ล้านไร่และผลิตมันสำปะหลังได้ถึง 24.26 ล้านตัน ทำให้ผลผลิตมากเกินความต้องการราคาจึงต่ำลง เกษตรกรจึงหันไปปลูกพืชอื่นแทนทำให้เนื้อที่ปลูกมันสำปะหลังในปีต่อมาลดลงเหลือปีละ 8-9 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 17-20 ล้านตัน ซึ่งพอเพียงกับความต้องการของตลาดแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญที่สุดได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเนื้อที่ปลูกรวมกันมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเนื้อที่ปลูกทั้งประเทศ รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ซึ่งรวมภาคตะวันออกและภาคตะวันตกมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 26 เปอร์เซ็นต์และภาคเหนือมีเนื้อที่ปลูกประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ ส่วนภาคใต้ไม่มีการปลูกมันสำปะหลังเลย จังหวัดมีเนื้อที่ปลูกมากที่สุดได้แก่จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ปลูกถึง 1.7 ล้านไร่ และมีจังหวัดที่มีเนื้อที่ปลูกเกินหนึ่งแสนไร่ใน พ.ศ. 2539 รวม 24 จังหวัด
แม้ว่าประเทศไทยจะไม่ใช่ประเทศที่ผลิตมันสำปะหลังมากที่สุดในโลก แต่เป็นประเทศที่ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังมากที่สุดในโลก เพราะประเทศที่ผลิตได้มากกว่า ได้แก่ บราซิล และไนจีเรีย จะใช้บริโภคภายในประเทศหมด ส่วนประเทศไทยมีการใช้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังน้อยมากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ไทยส่งออกอยู่ในรูปของมันเส้นและมันอัดเม็ดมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ตลาดที่สำคัญได้แก่ประชาคมยุโรป ส่วนที่เหลือส่งออกในรูปแป้งและสาคูไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน เกาหลี และอื่นๆ รวมมูลค่าของการส่งออกทั้งหมดมากกว่าสองหมื่นล้านบาทต่อปี
มันสำปะหลังมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปอเมริกา ตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกในทวีปอเมริกาไปจนถึงประเทศบราซิลในอเมริกาใต้ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ขุดพบเครื่องปั้นดินเผาเป็นรูปหัวมันสำปะหลังที่ประเทศเปรู แสดงให้เห็นว่าชนชาวพื้นเมืองรู้จักใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารมานานกว่า 2,500 ปี และก่อนที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสจะสำรวจพบทวีปอเมริกาใน ค.ศ. 1492 (พ.ศ. 2035) นั้น ยังไม่เคยพบพืชชนิดนี้ที่ใดมาก่อนเลยมันสำปะหลังได้แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของโลกในสมัยที่มีการล่าอาณานิคมในราวศตวรรษที่ 16 โดยชาวโปรตุเกสได้นำมันสำปะหลังจากประเทศบราซิลไปยังทวีปแอฟริกา ส่วนทวีปเอเชียนั้นชาวสเปนได้นำมันสำปะหลังจากประเทศเม็กซิโกไปยังประเทศฟิลิปปินส์ก่อนในราวศตวรรษที่ 17 และชาวดัทช์ได้นำมันสำปะหลังจากสุรินัมเข้ามายังเกาะชวาในราวต้นศตวรรณที่ 18 สำหรับประเทศไทยเชื่อกันว่ามีการนำมันสำปะหลังจากมาลายูเข้ามาปลูกในภาคใต้ราว พ.ศ. 2329 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นมันสำปะหลังชนิดหวานใช้ทำขนมส่วนพันธุ์ชนิดขมที่ปลูกส่งโรงงานนั้นนำเข้ามาภายหลังโดยปลูกเป็นพืชแซมในสวนยางพาราโดยเฉพาะที่จังหวัดสงขลามีโรงงานอุตสาหกรรมผลิตแป้งมันและสาคูส่งออกไปยังปีนังและสิงคโปร์ เมื่อยางพาราโตขึ้นคลุมพื้นที่ทั้งหมดไม่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ จึงได้ย้ายแหล่งปลูกไปยังภาคตะวันออกที่จังหวัดชลบุรีและระยอง การปลูกมันสำปะหลังเป็นการค้าขนาดใหญ่นั้นเริ่มหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง (พ.ศ. 2489) เพราะประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาต้องการแป้งมันสำปะหลังเป็นจำนวนมากทำให้พื้นที่ปลูกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับประเทศไทยได้ส่งกากมัน มันเส้น และมันอัดเม็ดไปยังยุโรปเพื่อการเลี้ยงสัตว์มากขึ้นจึงได้ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือจนกระทั่งปัจจุบันเป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลังที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มันสำปะหลังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Manihot esculenta Crantz. หรือ Manihot utilissima Pohl. อยู่ในตระกูล Euphorbiaceae เป็นไม้พุ่มเตี้ย อายุหลายปี
ราก มันสำปะหลังมีรากน้อยและอยู่ไม่ลึกจากผิวดิน มีราก 2 ชนิด คือ รากจริงและรากสะสมอาหาร ที่เรียกกันทั่วไป หัว มีปริมาณแป้งประมาณ 15 - 40 % มีกรดไฉโดรไซยานิก ( HCN ) หรือกรดพรัสซิก ( prussic acid ) ซึ่งมีพิษ จะมีอยู่มากในส่วนของเปลือกมากกว่าเนื้อของหัว การแช่น้ำ การต้ม จะทำให้กรดระเหยไปได้
ลำต้น มีลักษณะเป็นข้อๆ ซึ่งเป็นรอยที่ก้านใบร่วงหลุดไป สีของลำต้นส่วนยอดจะเป็นสีเขียวส่วนทางด้านล่างอาจมีสีน้ำตาล หรือสีม่วงแดงขึ้นอยู่กับพันธุ์
ใบ เป็นใบเดี่ยว ใบแยกเป็นแฉกคล้ายใบปาล์มมีสีเขียว ก้านใบอาจมีสีเขียว หรือสีแดง บางพันธุ์ใบจะมีสีเหลือง หรือขาว หรือใบด่าง ที่ใช้เป็นไม้ประดับ
ดอก มันสำปะหลังมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ในช่อดอกเดียวกัน ดอกตัวผู้จะอยู่ทางส่วนปลายของช่อดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกตัวเมีย มีกลีบดอก 5 กลีบ มีสีเหลืองหรือมีลายแดง ผลและเมล็ด ในแต่ละผลจะมี 3 เมล็ด เมล็ดจะมีสีเทาหรือลายจุดดำ

พันธุ์


พันธุ์ มันสำปะหลังที่
ปลูกในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. พันธุ์ที่ใช้ประดับ นิยมปลูกตามบ้านเพื่อความสวยงาม เนื่องจากใบมีแถบสีขาวและเหลืองกระจายไปตามความยาวของใบจึงเรียกว่า มันด่าง และยังมีพันธุ์อีกชนิดหนึ่งเป็นพันธุ์ป่า มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดกลางถึงใหญ่ใช้ปลูกเพื่อให้ร่มเงาพบมากแถบจังหวัดชลบุรีและระยอง
2. พันธุ์ชนิดหวาน พันธุ์นี้จะใช้หัวเป็นอาหารมนุษย์โดยเชื่อม ต้ม ปิ้ง หรือเผา ไม่มีรสขมเนื่องจากมีปริมาณ HCN ต่ำ ที่พบในบ้านเรามี 3 พันธุ์ ได้แก่ มันสวน มันห้านาทีหรือก้านแดงและระยอง 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรปรับปรุงขึ้นมาใช้สำหรับทอดเป็นแผ่นบางเช่นเดียวกับ potato chips
3. พันธุ์ชนิดขม พันธุ์นี้มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุดหลายล้านไร่เป็นพันธุ์ปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด และแป้ง แต่เดิมปลูกพันธุ์เดียวคือพันธุ์ดั้งเดิมที่มีผู้นำเข้ามาในประเทศเป็นเวลานาน ผ่านการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีจนจัดเป็นพันธุ์พื้นเมือง ต่อมากรมวิชาการเกษตรได้ทำการคัดเลือกพันธุ์จากแหล่งปลูกทั่วไปพบว่าพันธุ์ที่ปลูกในจังหวัดระยองให้ผลผลิตดีที่สุดจึงตั้งชื่อใหม่ว่า พันธุ์ระยอง 1 ลักษณะทรงต้นสูงใหญ่แข็งแรงความงอกดีเก็บต้นไว้ทำพันธุ์ได้นานให้ผลผลิตค่อนข้างสูงต้านทานโรคและแมลงได้ดี แต่มีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำโดยเฉพาะในฤดูฝน ต่อมามีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังโดยหน่วยงานของราชการอย่างน้อยสองแห่งที่ดำเนินการในเรื่องนี้หน่วยงานแรกคือ กรมวิชาการเกษตรมีศูนย์วิจัยอยู่ที่จังหวัดระยองฉะนั้นพันธุ์ใหม่ๆ จึงใช้ชื่อว่า พันธุ์ระยอง เช่น ระยอง 2 ระยอง 3 ระยอง 5 ระยอง 60 และระยอง 90 ส่วนอีกหน่วยงานหนึ่งคือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีสถานีวิจัยอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จึงใช้ชื่อพันธุ์ใหม่ว่าศรีราชา 1 และเกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งตั้งชื่อเพื่อเป็นการร่วมฉลองในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก่อตั้งมาครบ 50 ปี ในพ.ศ. 2536

ลักษณะดีเด่นของพันธุ์ระยอง 5
ผลผลิต พันธุ์ระยอง 5 เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหัวสด ผลผลิตมันแห้ง และผลผลิตแป้งสูงกว่าทุกๆ พันธุ์ และทุกๆ สภาพแวดล้อม เมื่อเปรียบเทียบกับพันธุ์ระยอง 1 ให้ผลผลิตหัวสด มันแห้ง และผลผลิตแป้งสูงกว่า 23, 32 และ 44% ตามลำดับ

การดูแลรักษากิ่งพันธุ์
อายุกิ่งพันธุ์เก็บได้ไม่เกิน15วันถ้านานกว่านี้เปอร์เซ็นต์ความงอกจะลดลงต้นที่คัดไว้ทำพันธุ์ควรวางให้ส่วนยอดตั้งขึ้นและโคนต้นแตะพื้นดิน เกษตรกรควรทำแปลงพันธุ์ไว้ใช้ปลูก ในฤดูต่อไป เพื่อให้ได้ท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ และเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง โดยเฉพาะเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวในฤดูแล้ง และไม่สามารถปลูกต่อได้ทันที

การเปรียบเทียบลักษณะ
การเปรียบเทียบลักษณะของมันสำปะหลังพันธุ์
ระยอง 5, ระยอง 1, ระยอง 3, ระยอง 60, ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
สภาพพื้นที่ดิน มันสำปะหลังเป็นพืชที่ปลูกในเขตร้อนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างกว้างขวางพบปลูกตั้งแต่บริเวณเส้นรุ้งที่ 30 องศาเหนือถึง 30 องศาใต้ และที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลจนถึง 2,000 เมตร แต่ปลูกมากระหว่างเส้นรุ้งที่ 20 องศาเหนือถึง 20 องศาใต้ ประเทศไทยอยู่ในระหว่างเส้นรุ้งที่ 6-20 องศาเหนือ จึงสามารถปลูกมันสำปะหลังได้ทุกภาค
มันสำปะหลังขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนปนทรายเพราะจะลงหัวและเก็บเกี่ยวง่ายมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง แต่สามารถขึ้นและให้ผลผลิตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำซึ่งปลูกพืชไร่อื่นๆ เช่น ข้าวโพดและถั่วต่างๆ ไม่ได้ผล โดยทั่วไปพบว่าเขตปลูกมันสำปะหลังมักจะเป็นพื้นที่ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์จนกระทั่งมีผู้เข้าใจผิดว่าการปลูกมันสำปะหลังทำให้ดินเสื่อมหากปลูกในดินมีความอุดมสมบูรณ์เกินไปมันสำปะหลังพันธุ์พื้นเมืองจะเจริญเติบโตทางต้นและใบมากและลงหัวน้อย แต่พันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น ระยอง 5 และเกษตรศาสตร์ 50 นั้นยิ่งดินดีมากยิ่งให้ผลผลิตมาก มันสำปะหลังจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินที่ไม่มีน้ำท่วมขังมี pH ระหว่าง 5.5-8.0 ทนต่อสภาพความเป็นกรดสูงได้แม้ pH ของดินจะต่ำจนถึง 4.5 ก็ไม่ทำให้ผลผลิตลดแต่ไม่ทนต่อสภาพดินที่เป็นด่างโดยไม่สามารถขึ้นถ้า pH สูงถึง 8

สภาพอากาศ มันสำปะหลังเจริญเติบโตที่อุณหภูมิ 10-35 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมโดยเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสเพราะจะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงักในเขตหนาวหรือ เขตอบอุ่นที่มีหิมะและน้ำค้างแข็งจึงไม่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ (Cock , 1985)
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ทนแล้งต้องการน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-3,000 มิลลิเมตรต่อปี เมื่องอกขึ้นมาและตั้งตัวได้แล้วจะไม่ตายแม้ฝนจะทิ้งช่วงนาน 3-4 เดือน ทั้งนี้เพราะมันสำปะหลังมีระบบรากลึก อาจลึกถึง 2.6 เมตร (CIAT , 1980) จึงสามารถหาน้ำจากใต้ดินขึ้นมาใช้ได้ แต่มันสำปะหลังไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง เพราะจะทำให้หัวเน่าและตายได้ ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังจะทนแล้งแต่ถ้าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 600 มิลลิเมตรต่อปี เช่น เขตทะเลทรายก็ไม่สามารถปลูกมันสำปะหลังได้ (Cock , 1985)

ฤดูปลูก มันสำปะหลังสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกช่วงต้นฤดูฝน (เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม) ถึง 65 เปอร์เซ็นต์ และปลูกในช่วงปลายฤดูฝนหรือในฤดูแล้ง (เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์) ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะปลูกในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม การปลูกในช่วงต้นฤดูฝนให้ผลผลิตหัวสดสูงกว่าการปลูกในช่วงอื่นๆ แต่ถ้าเป็นดินทรายการปลูกในช่วงฤดูแล้งจะให้ผลผลิตหัวแห้งสูงสุด (วิจารณ์และคณะ , 2537) การเลือกฤดูปลูกของเกษตรกรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ปริมาณน้ำฝน การปลูกในช่วงต้นฤดู ปริมาณน้ำฝนยังไม่มากนักจึงมีเวลาเตรียมดินได้ดี การมีเวลาเตรียมดินอย่างดีจะทำให้จำนวนวัชพืชลดลงมาก ดินร่วนเหมาะกับการลงหัวและมันสำปะหลังจะได้รับน้ำฝนตลอดระยะเวลาของการเจริญเติบโต ถ้าปลูกช่วงปลายฤดูหรือในฤดูแล้งหลังจากมันสำปะหลังขึ้นมาแล้วจะพบกับระยะฝนทิ้งช่วง 2-3 เดือน ทำให้มันสำปะหลังชะงักการเจริญเติบโตแต่ข้อดีของการปลูกปลายฝนคือมีวัชพืชขึ้นรบกวนน้อย

2. ชนิดดิน ถ้าเป็นดินทรายสามารถปลูกได้ตลอดปีแต่เกษตรกรมักนิยมปลูกปลายฤดูฝน เช่น แถบจังหวัดระยองและชลบุรี แต่ถ้าเป็นดินเหนียวจะนิยมปลูกต้นฤดูฝน เพราะถ้าเป็นฤดูแล้งการไถพรวนจะได้ดินก้อนใหญ่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจะแห้งตายก่อนที่จะงอกเป็นต้น

3. พันธุ์ มันสำปะหลังพันธุ์พื้นเมืองถ้าเก็บเกี่ยวในฤดูฝนจะมีเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำและการขนส่งลำบากจึงนิยมปลูกปลายฤดูเพื่อการเก็บเกี่ยวและขนส่งในฤดูแล้งจะได้คุณภาพและราคาดี แต่ในปัจจุบันมีพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งสูงทุกฤดูจึงสามารถปลูกได้ทั้งปีเป็นการกระจายผลผลิตให้สม่ำเสมอตลอดปีได้ (ปิยะวุฒิ , 2535)

การปลูกและการดูแลรักษา

การเตรียมดิน มันสำปะหลังเป็นพืชหัวผลผลิตที่ใช้ประโยชน์คือรากที่มีการสะสมอาหารจำพวกแห้งจนขยายใหญ่ขึ้นเป็นหัวอยู่ในดิน การเลือกพื้นที่ปลูกควรเลือกที่ดอนดินเป็นดินร่วนปนทรายถ้าเป็นดินเหนียวต้องมีการระบายน้ำดีน้ำไม่ท่วมขังและต้องมีหน้าดินลึกพอสมควร ก่อนปลูกควรไถและพรวนอย่างน้อย 2-3 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร เพื่อกลบเศษซากพืชจากฤดูก่อนและทำลายวัชพืชต่างๆ ให้ลดจำนวนลง การไถด้วยผาน 3 ติดท้ายรถแทรกเตอร์ 1 ครั้ง ตามด้วยพรวนจาน 7 ผาน อีก 1 ครั้ง จะได้ผลผลิตมันสำปะหลังและกำไรสูงสุด ถ้าพื้นที่มีความลาดเทต้องไถตามแนวขวาง เพื่อป้องกันการชะล้างพังทะลายของดินและถ้าดินระบายน้ำได้ดีต้องยกร่องปลูก

การเตรียมวัสดุปลูก การปลูกมันสำปะหลังนิยมใช้ท่อนพันธุ์โดยตัดลำต้นให้เป็นท่อนปลูก 15-20 เซนติเมตร เลือกใช้ต้นพันธุ์ที่แก่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป โดยปกติเกษตรกรจะปลูกมันสำปะหลังและเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 10-12 เดือน หลังจากที่เก็บหัวส่งโรงงานแล้วจะเก็บต้นไว้ใช้ขยายพันธุ์ปลูกต่อไปทันที ในกรณีที่ไม่แน่ใจว่าจะสามารถปลูกฤดูต่อไปได้เมื่อใด เช่น ฝนทิ้งช่วงหรือขาดแรงงานแนะนำว่าควรเหลือพื้นที่ที่ยังไม่เก็บเกี่ยวไว้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อพร้อมจะปลูกจึงตัดเพื่อป้องกันการเสื่อมคุณภาพของท่อนพันธุ์เนื่องจากตัดต้นไว้นานเกินไป
การปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ท่อนพันธุ์ดังกล่าวเป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่ค่อนข้างช้า เมื่อเปรียบเทียบกับพืชไร่อื่น คือมีอัตราการขยายพันธุ์ประมาณไม่เกิน 10 เท่า เท่านั้น ในสมัยก่อนเกษตรกรปลูกเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองทั่วไปจึงไม่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนท่อนพันธุ์ แต่ในปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ดีขึ้นใหม่หลายพันธุ์ จึงต้องมีวิธีขยายพันธุ์ให้ได้มากเพื่อเพิ่มพื้นที่ปลูกพันธุ์ดีให้มากขึ้นโดยเร็ว ซึ่งทำได้โดยตัดท่อนพันธุ์ให้มีขนาด 3-5 เซนติเมตร (ปกติ 20-25 เซนติเมตร) หรือมีตา 2-3 ตา นำไปปักชำในถุงพลาสติกนานประมาณ 3 สัปดาห์ก่อนย้ายลงปลูกในแปลง วิธีนี้สามารถขยายพันธุ์ได้ไม่ต่ำกว่า 40 เท่า อีกวิธีคือ การตัดต้นไปทำพันธุ์ก่อนถึงอายุเก็บเกี่ยวเหลือต้นตอไว้ให้แตกหน่อขึ้นมาเมื่อได้อายุประมาณ 6 เดือน ก็สามารถตัดไปขยายพันธุ์ได้อีกวิธีนี้สามารถขยายพันธุ์เพิ่มได้ประมาณ 24 เท่า นอกจากนี้ยังมีวิธีขยายพันธุ์ได้เป็นจำนวนมากแต่มีเทคนิคและวิธีการที่ยุ่งยากมาก เช่น การขยายพันธุ์โดยใช้ยอดอ่อนสามารถผลิตท่อนพันธุ์ที่ตัดตามความยาวปกติได้ 12,000-24,000 ท่อนและวิธีการใช้ตาข้างของก้านใบก็สามารถผลิตท่อนพันธุ์ได้ 120,000-300,000 ท่อน

วิธีการปลูกและระยะปลูก การปลูกมันสำปะหลังโดยใช้ท่อนพันธุ์ทำได้ 2 วิธี ได้แก่
1. การปลูกแบบฝังหรือวางนอน เป็นวิธีการปลูกแบบเก่าปัจจุบันไม่นิยมปลูกด้วยวิธีนี้ เพราะต้นมันสำปะหลังจะงอกโผล่พ้นดินช้ากว่าวัชพืชทำให้การกำจัดวัชพืชลำบากมากขึ้น แต่มีข้อดีคือถ้าดินมีความชื้นน้อยการปลูกด้วยวิธีนี้จะต้องมีต้นอยู่รอดมากและไม่ต้องระวังว่าจะปลูกโดยเอายอดลงดิน
2. การปลูกแบบปัก ใช้ท่อนพันธุ์ปักลงในดินให้ลึกประมาณ จากท่อนพันธุ์ควรระวังอย่าปักส่วนยอดลงดินเพราะตาจะไม่งอกการปักตรง 90 องศา หรือปักเฉียง 45 องศากับพื้นดินให้ผลผลิตไม่แตกต่างกัน ข้อดีของการปลูกแบบนี้คือมันสำปะหลังจะงอกเร็วสะดวกต่อการกำจัดวัชพืชและปลูกซ่อมและลงหัวด้านเดียวเป็นกลุ่มง่ายต่อการเก็บเกี่ยวและให้ผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบฝัง 10-15 เปอร์เซ็นต์ ในฤดูฝนควรปลูกแบบปักจะปักตรงหรือปักเฉียงก็ได้ใช้ท่อนพันธุ์ยาว 20 เซนติเมตร ปักลึก 5-10 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นฤดูแล้งควรให้ท่อนพันธุ์ยาวขึ้นเป็น 25 เซนติเมตร และปักตรงให้ลึก 15 เซนติเมตร จะทำให้มีจำนวนต้นอยู่รอดเก็บเกี่ยวและผลผลิตสูงกว่าการปลูกแบบปักเฉียงและแบบฝังในสภาพที่ดอนและน้ำไม่ท่วมขังไม่จำเป็นต้องยกร่องปลูก
มีข้อแนะนำให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ระยอง 1 โดยใช้ระยะ 100 x 100 เซนติเมตร ซึ่งในพื้นที่ 1 ไร่จะปลูกได้ 1,600 ต้น แต่พันธุ์ใหม่ที่ปลูกในปัจจุบันมีลักษณะทรงพุ่มแตกต่างกันไปจึงควรปรับระยะปลูกให้เหมาะสม เช่น พันธุ์ระยอง 90 ควรใช้ระยะ 80 x 100 เซนติเมตร (2,000 ต้นต่อไร่) พันธุ์ระยอง 60 ซึ่งต้นขนาดเล็กกว่าควรใช้ระยะ 66 x 100 เซนติเมตร (2,400 ต้นต่อไร่) อย่างไรก็ตามระยะปลูกยังอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามวัตถุประสงค์ในการปลูก เช่น ถ้าต้องการปลูกพืชแซมหรือใช้เครื่องมือเครื่องทุ่นแรงช่วยในการกำจัดวัชพืชหรือการเก็บเกี่ยวอาจต้องขยายระยะแถวให้กว้างขึ้นเป็น 110-150 เซนติเมตร และลดระยะระหว่างต้นให้แคบลงเป็น 60-80 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงาน

การใส่ปุ๋ย มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะปลูกในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ฉะนั้นจึงต้องมีการบำรุงรักษาดินมิให้เสื่อมสภาพลงการใช้ปุ๋ยเคมีจะช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและเพิ่มผลผลิตได้ การปลูกมันสำปะหลังโดยไม่ใส่ปุ๋ยจะทำให้ผลผลิตลดลงเฉลี่ยปีละ 250 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นถ้าปลูกซ้ำติดต่อกันหลายปีความอุดมสมบูรณ์ของดินจะลดลงเรื่อยๆ ให้ใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใส่สูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อมันสำปะหลังอายุ 1 เดือน ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยยูเรีย อัตรา 15 กิโลกรัมต่อไร่พร้อมปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ 15 กิโลกรัมต่อไร่ 15 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน โดยขุดหลุมข้างต้นในแนวทรงพุ่มใส่ปุ๋ยแล้วกลบดินแต่ แนะนำให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อไร่เพียงครั้งเดียวเมื่ออายุ 1-2 เดือน การปลูกพืชหมุนเวียนโดยใช้พืชตระกูลถั่วเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้นรวมถึงการไถกลบเศษซากของมันสำปะหลังฤดูก่อนจะช่วยปรังปรุงคุณสมบัติของดินให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและการเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังอีกวิธีหนึ่งด้วย
ในพื้นที่ที่มีความลาดเท นอกจากการบำรุงดินดังกล่าวแล้วควรอนุรักษ์ดินและน้ำควบคู่ไปด้วย โดยการไถ พรวน และยกร่องปลูกขวางความลาดเทหรือปลูกหญ้าแฝกแทรกระหว่างแถวมันสำปะหลังทุกระยะ 20 เมตร ก็จะช่วยป้องกันการชะล้างของหน้าดินได้ ควรใช้ระยะปลูกถี่ขึ้นเพื่อลดช่องว่างในระยะแรกของการเจริญเติบโต

การควบคุมวัชพืช มันสำปะหลังมีโรคและแมลงรบกวนน้อยมากปัจจัยที่มีผลทำให้ผลผลิตลดลงมากที่สุดได้แก่วัชพืช เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชที่มีระยะปลูกค่อนข้างห่างและมีการเจริญเติบโตในระยะแรกช้ามากต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 เดือน จึงจะสร้างพุ่มใบให้ชนกันจนครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด ฉะนั้นในระยะแรกจะมีวัชพืชขึ้นรบกวนมากและระยะเวลาวิกฤติในการกำจัดวัชพืชจะอยู่ที่ 2-3 เดือนแรก เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่มันสำปะหลังกำลังลงหัวหลังจาก 4 เดือนไปแล้วมันสำปะหลังจะไม่มีการสร้างหัวเพิ่ม แต่จะขยายขนาดหัวให้ใหญ่ขึ้นถ้ามีวัชพืชขึ้นรบกวนในช่วงนี้มากจะทำให้ผลผลิตลดลง การเริ่มกำจัดวัชพืชครั้งแรกต้องรีบกระทำอาจเริ่มที่ 15 วันหลังจากปลูกยิ่งล่าช้าออกไปผลผลิตจะยิ่งลดลงควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกให้เสร็จภายใน 1 เดือนหลังจากปลูกและอาจต้องกำจัดวัชพืชอีก 2-3 ครั้ง จนกว่าพุ่มของใบมันสำปะหลังจะชิดกัน
การควบคุมวัชพืชในมันสำปะหลังมีหลายวิธีสำหรับพื้นที่ขนาดเล็กอาจใช้แรงงานคนภายในครอบครัวโดยใช้จอบถาก ถ้าพื้นที่มากขึ้นอาจใช้แรงงานสัตว์ เช่น โค หรือกระบือ ลากไถเข้าพรวนดินระหว่างแถวซึ่งเรียกว่าการเดี่ยวร่องและใช้จอบถากในระหว่างต้นซึ่งจะลดพื้นที่ในการถากหญ้าได้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และช่วยให้กำจัดวัชพืชได้เร็วขึ้น ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ต้องใช้เครื่องพรวนดินระหว่างแถวติดท้ายรถแทรกเตอร์เข้าทำงานแทนแรงงานสัตว์ การกำจัดวัชพืชด้วยแรงคนหรือสัตว์มีข้อจำกัดหลายประการเช่น แรงงานหายากทำงานได้ช้าและการกำจัดวัชพืชในฤดูฝนวัชพืชบางส่วนจะไม่ตาย ดังนั้นอาจต้องใช้สารกำจัดวัชพืชร่วมด้วย ซึ่งสารที่ใช้มี 2 ประเภท ได้แก่

ประเภทสารคุม (pre-emergence herbicides) ฉีดพ่นสารทันทีที่ปลูกเสร็จ ก่อนที่มันสำปะหลังและวัชพืชจะงอกสามารถควบคุมการงอกของวัชพืชได้นาน 45-60 วัน สารเหล่านี้ได้แก่ อะลาคลอร์ (alachlor) เมโตคลอร์ (metolachlor) ไดยูรอน (diuron) และอ๊อกซีฟลูออร์เฟน (oxyfluorfen)

ประเภทสารฆ่า (post-emergence herbicides) ฉีดพ่นสารภายหลังจากที่วัชพืชและมันสำปะหลังงอกขึ้นมาแล้วแต่ยังมีขนาดเล็กเรียกว่า early post-emergence ซึ่งต้องเลือกใช้สารที่ไม่เป็นอันตรายต่อมันสำปะหลังและเป็นสารที่กำจัดเฉพาะวัชพืชใบแคบเท่านั้น เช่น อาโลซี่ฟอพ (halosyfop) โปรปาควิซาฟอพ (propaquizafop) และฟลูอะซีฟอพ (fluazifop) สารดังกล่าวจะได้ผลในขณะที่วัชพืชมีขนาดเล็กมีเพียง 3-4 ใบ เท่านั้น เมื่อมันสำปะหลังมีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปเรียกว่า late post-emergence หากยังมีวัชพืชขึ้นรบกวนต้องใช้สารอีกกลุ่มหนึ่งเช่น พาราควอท (paraquat) ไกลโฟเสท (glyphosate) ซัลโฟเสท (sulfosate) และกลูโฟซิเนท (glufosinate) พ่นโดยระวังอย่าให้ละอองสารปลิวไปถูกต้นและใบมันสำปะหลัง เพราะจะเป็นอันตรายได้
การควบคุมวัชพืชในไร่มันสำปะหลังให้ได้ผลดีที่สุดควรใช้วิธีผสมผสานทั้งการถากหญ้าใช้สารคุมและการใช้สารฆ่าจากการทดลองพบว่าการใช้จอบถาก 1 ครั้ง ตามด้วยสารฆ่า 2 ครั้ง หรือการใช้สารคุมตามด้วยจอบถาก 2 ครั้ง จะให้ผลผลิตและรายได้สุทธิสูงกว่าการใช้จอบถาก 3 ครั้ง

การเก็บเกี่ยว
มันสำปะหลังได้เปรียบพืชไร่ชนิดอื่นที่สามารถยืดหยุ่นอายุการเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังตามความจำเป็น เช่น ราคา และแรงงาน แต่โดยปกติจะเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 11-12 เดือน เพราะผลผลิตมันสำปะหลังจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าอายุมากเกินไปแม้จะให้ผลผลิตหัวสดสูง แต่คุณภาพจะลดลงเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำลงสัดส่วนของเส้นใยจะสูงขึ้นและถ้ายึดอายุเก็บเกี่ยวออกไปมากจะไปกระทบต่อการปลูกในปีต่อไปด้วย วิธีการเก็บเกี่ยวจะใช้แรงงานคนถอนหรือใช้จอบขุด แต่ถ้าดินมีความชื้นน้อยอาจใช้เครื่องมือที่เกษตรกรคิดขึ้นเองเรียกว่า ดั๊ม ลักษณะเป็นเหล็กคล้ายกับหัวค้อนถอนตะปูติดกับคานงัดซึ่งจะช่วยทุ่นแรงได้มาก ในปัจจุบันมีปัญหาเรื่องแรงงานมากจึงมีการประดิษฐ์เครื่องขุดมันสำปะหลังติดท้ายรถแทรกเตอร์ขึ้นซึ่งมีหลายแบบ จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเครื่องขุดมัน 4 แบบ สรุปได้ว่าเครื่องขุดมันมีความสามารถทำงานได้ระหว่าง 2.27-2.85 ไร่ต่อชั่วโมง ประสิทธิภาพการทำงานระหว่าง 71.74-80.79 เปอร์เซ็นต์ และมีค่าการสูญเสียจากผลผลิตที่หลงเหลือในดินระหว่าง 2.27-17.04 เปอร์เซ็นต์ ส่วนค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าการใช้แรงงานคนประมาณ 65 เปอร์เซ็นต์ และลดแรงงานได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์
หลังจากขุดหัวมันสำปะหลังจะต้องตัดเหง้าและต้นออกและรีบส่งหัวมันสดเข้าโรงงานทันทีหรืออย่างช้าไม่เกิน 3 วัน มิฉะนั้นหัวมันจะเริ่มเน่าส่วนลำต้นต้องเก็บทันทีเพื่อใช้ทำพันธุ์ต่อไปโดยนำไปกองรวมกันแบบตั้งขึ้นให้โคนติดพื้นดินส่วนยอดตั้งขึ้นจะเก็บไว้กลางแจ้งหรือในร่มไม้ก็ได้ วิธีนี้สามารถเก็บต้นได้นานถึง 30 วัน ถ้าทิ้งต้นไว้ในไร่นานจะถูกแดดเผาจนต้นแห้งตายไม่สามารถไปปลูกได้

การใช้ประโยชน์
1. ใช้เป็นอาหารมนุษย์ โดยนำหัวสดไปต้ม นึ่ง ปิ้ง เผา หรือเชื่อม สำหรับประเทศที่บริโภคมันสำปะหลังเป็นอาหารหลักจะมีวิธีการปรุงแต่งโดยเฉพาะ เช่น Gari อาหารของชาวไนจีเรีย หรือ Bononoka ของชาวมาดากัสกา นอกจากนี้ยังนำแห้งมันสำปะหลังไปปรุงเป็นอาหารทั้งคาวและหวานอีกหลายชนิด
2. ใช้เป็นอาหารสัตว์ ประเทศไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในรูปมันเส้นและมันอัดเม็ด ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ส่งออกทั้งหมด เพื่อการเลี้ยงสัตว์ของประเทศในกลุ่มประชาคมยุโรปสำหรับการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยใช้มันสำปะหลังน้อยมาก แม้ว่ามันสำปะหลังสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ทุกชนิด แต่ผู้ใช้จะต้องปรับสูตรอาหารให้เหมาะสมกับการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิด ข้อดีของการใช้มันสำหรับเป็นอาหารสัตว์คือราคาถูกและยังไม่เคยพบสาร aflatosin จึงปลอดภัยต่อการบริโภค แต่มีข้อเสียบ้างที่ว่าการใช้มันสำปะหลังต้องป่นให้ละเอียดและต้องผสมกากน้ำตาลซึ่งวิธีการผสมค่อนข้างยุ่งยาก
3. ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่จะนำแป้งดิบ (native starch) มาใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปอื่นๆ เช่น ผลิตผงชูรส และไลซีน สารให้ความหวานเช่น glucose dextrose sorbital manitol และ inositol และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เช่น สารดูดน้ำ (polymer) พลาสติกที่สลายได้ทางชีวภาพ ผลิตเชื้อไรโซเบียม ผลิต flexible foam สำหรับทำที่นอนและเฟอร์นิเจอร์ ผลิต rigid foam เพื่อการบรรจุหีบห่อและตกแต่งภายใน นอกจากนี้ยังนำไปผลิตแป้งแปรรูป (modified starch) โดยการนำเอาแป้งดิบมาผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงโมเลกุลของแป้งให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเฉพาะอย่างเช่น อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม อุตสาหกรรมไม้อัด อุตสาหกรรมทำกาวและอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์

โรคและการป้องกันกำจัด
มันสำปะหลังที่ปลูกในประเทศไทยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงรบกวนน้อยมาก อาจเนื่องมาจากส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมืองซึ่งปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีและมีความต้านทานต่อโรคและแมลงอยู่แล้ว แต่เมื่อนำพันธุ์ใหม่เข้ามาปลูกโดยไม่มีการควบคุมที่ดีพออาจมีโรคร้ายแรงติดเข้ามาระบาดในประเทศได้ ดังนั้นการนำพันธุ์เข้ามาใหม่จึงควรมีการระวังป้องกันอย่างเข้มงวดโรคที่พบระบาดในประเทศไทยมีดังนี้

โรคใบจุดสีน้ำตาล (brown leaf spot)
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Cercosporidium henningsii
อาการ : อาการที่พบจะเป็นจุดที่ใบโดยเฉพาะใบแก่รอยแผลจะเป็นเหลี่ยมตามเส้นใบมีขอบชัดเจนสีเหลืองตรงกลางแผลจะแห้งโรคนี้พบได้ในทุกพันธุ์ พันธุ์พื้นเมืองซึ่งเป็นพันธุ์ต้านทานปานกลางโรคนี้ทำให้ผลผลิตลดลง 14-20 เปอร์เซ็นต์
การป้องกันกำจัด : การป้องกันกำจัดโดยใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชไม่คุ้มค่า

โรคใบไหม้ (Cassava bacterial blight , CBB)
เชื้อสาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas camprestris pv. Manihotis
อาการ : อาการจะเกิดขึ้นที่ใบ เริ่มแรกเป็นจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำแล้วขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นใบไหม้ ใบเหี่ยว ร่วงหล่น มียางไหล ต่อมาเกิดอาการยอดเหี่ยวและแห้งตายลงมา (die back) เป็นโรคที่ร้ายแรงมากชนิดหนึ่งซึ่งจะทำความเสียหายให้มันสำปะหลังได้ถึง 30-90 เปอร์เซ็นต์
การแพร่ระบาด : ในประเทศไทยพบอาการต้นเป็นโรคแต่ไม่ระบาดรุนแรง อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการระบาดและพันธุ์ที่แนะนำส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างต้านทานต่อโรคนี้
นอกจากนี้ยังสามารถพบโรคอื่นๆ ได้ เช่น โรคใบจุดไหม้ (blight leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora viscosae โรคใบจุดขาว (white leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Phaeoramularia manihotis โรคลำต้นเน่า (stem rot) เกิดจากเชื้อ Glomerella cingulata และโรคหัวเน่า (root rot) ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อราหลายชนิดมักจะเกิดขึ้นเมื่อหัวมันสำปะหลังเป็นแผล
แมลงและการป้องกันกำจัด แมลงที่ทำลายมันสำปะหลังมักจะพบระบาดมากในช่วงที่อากาศค่อนข้างแห้งแล้งมักจะเป็นแมลงพวกปากดูด ได้แก่
ไรแดง (red spider mite)
ที่พบทำความเสียหายให้มันสำปะหลังมี 2 ชนิดได้แก่ ไรแดงหม่อน (Tetranychus truncatus) จะดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบล่างๆ แล้วลามขึ้นสู่ยอดและไรแดงมันสำปะหลัง (Oligonychus biharensis) จะดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบส่วนยอดแล้วขยายปริมาณลงสู่ส่วนล่างของต้น ถ้าไรแดงระบาดมากๆ ใบจะเหลืองซีด ม้วนงอ ส่วนยอดงองุ้มถ้ามันสำปะหลังมีขนาดเล็กอาจตายได้
การป้องกันกำจัด : หากระบาดมากต้องพ่นสารกำจัดแมลงและศัตรูพืชเป็นจุดเฉพาะบริเวณที่ระบาดรุนแรงสารที่ใช้ได้แก่ ฟอร์มีนาเนท (formetanate)

เพลี้ยแป้ง (stripped mealy bug)
เป็นแมลงปากดูดทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงตามส่วนต่างๆ และถ่ายมูลเหลวไว้ทำให้เกิดราดำ ถ้าระบาดมากต้นจะแคระแกร็นยอดแห้งตายหรือแตกพุ่ม
การป้องกัน : ถ้าพบต้องตัดต้นไปทำลาย การใช้สารกำจัดแมลงมักไม่คุ้มค่า
แมลงหวี่ขาว (white fly)
เป็นแมลงปากดูดจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนใต้พืชและถ่ายมูลเหลวออกมาทำให้เกิดราดำ มักเกิดควบคู่กับการเข้าทำลายของไรแดงและเพลี้ยแห้ง
แมลงปากกัดอื่นๆ
พบบ้างแต่ไม่ทำความเสียหายมากนัก เช่น แมลงนูนหลวง ตัวหนอนจะทำลายกัดกินราก ต้นมันสำปะหลังที่มีขนาดเล็กอาจตายได้ ด้วงหนวดยาว ตัวหนอนจะกัดกินภายในเหง้าและต้นทำให้ต้นหักล้ม

ปัญหาในการผลิตและแนวทางการแก้ไข

ปัญหา
1. ปริมาณการผลิตไม่แน่นอน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเฉลี่ย 8-9 ล้านไร่ต่อปี ได้ผลผลิตหัวมันสด 20-21 ล้านต้น แต่ปริมาณความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศรวมกันประมาณปีละ 19 ล้านตัน (ใช้ภายในประเทศเพียง 3-4 ล้านต้น) ฉะนั้นถ้าปีใดผลิตได้มากจะเกิดปัญหาการล้นตลาดและราคาตกต่ำ ถ้าปีใดพื้นที่ปลูกลดลงผลผลิตไม่เพียงพอราคาจะสูง
2. ประสิทธิภาพการผลิตค่อนข้างต่ำ คือเฉลี่ย 2.2-2.3 ตันต่อไร่ สาเหตุเนื่องมาจากการใช้พันธุ์พื้นเมืองซึ่งให้ผลผลิตไม่สูงนักและเปอร์เซ็นต์แป้งต่ำ การดูแลรักษาไม่ถูกวิธีขาดการบำรุงดินและการใช้ปุ๋ยเคมีหรือใช้อย่างไม่ถูกต้องทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็วและส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูง
3. ความไม่แน่นอนของตลาดต่างประเทศ เนื่องจากไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังส่วนมากในรูปมันเส้นและมันอัดเม็ดไปยังประเทศกลุ่มประชาคมยุโรปเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ฉะนั้นถ้าในปีใดประเทศเหล่านั้นผลิตธัญพืชได้มากก็จะซื้อมันสำปะหลังจากไทยน้อยหรือกดราคา แต่ถ้าปีใดขาดแคลนธัญพืชก็จะหันมาใช้มันสำปะหลังจากไทยมากขึ้นทำให้ราคาสูงขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อราคาหัวมันสดภายในประเทศ

แนวทางแก้ไข
1. ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิตโดยใช้พันธุ์ดีที่แนะนำ เช่น ระยอง 5 , ระยอง 90 และเกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งพันธุ์เหล่านี้ให้ผลผลิตสูง 3.1-4.2 ตันต่อไร่ และมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูงถึง 20-24.9 ซึ่งระหว่างพ.ศ. 2536-2540 กรมส่งเสริมการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินโครงการพัฒนาการผลิตมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการผลิตและการตลาดในเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับมันสำหรับมันสำปะหลัง 26 จังหวัดซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด และภาคตะวันออก 7 จังหวัด โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีให้ได้ถึง 1.56 ล้านไร่ นอกจากนี้ยังมีภาคเอกชนได้แก่ มูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลัง ซึ่งมีโครงการที่จะขยายมันสำปะหลังพันธุ์ดีให้กับเกษตรพร้อมกับให้การฝึกอบรมด้านการปลูกมันสำปะหลังด้วย โดยกำหนดเป้าหมายที่จะปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดีเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านไร่ภายในพ.ศ. 2540
2. ลดพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง โดยพยายามจำกัดให้ปลูกมันสำปะหลังเฉพาะในเขตเศรษฐกิจสำหรับมันสำปะหลัง 26 จังหวัดเท่านั้น พร้อมทั้งจะต้องลดพื้นที่ปลูกทั่วประเทศลงให้ได้ 1.2 ล้านไร่ภายใน 3 ปี (พ.ศ. 2537-2539) พร้อมไปกับการส่งเสริมให้ปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อการผลิตเยื่อกระดาษ และการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แทน เช่น โคเนื้อ และโคนม
3. ส่งเสริมการให้ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้มากขึ้น โดยการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ภายในประเทศมากขึ้นหาตลาดส่งออกมันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันชนิดแป้งดิบและแป้งแปรรูปเพิ่มขึ้นและส่งเสริมการวิจัยเพื่อหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากมันสำปะหลัง เช่น สารดูดน้ำพลาสติกที่สลายได้และภาชนะบรรจุอาหาร

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao' Jow Hawm Phitsanulok 1)


ชื่อพันธุ์ - ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 (Khao' Jow Hawm Phitsanulok 1)

ชนิด - ข้าวเจ้า

คู่ผสม - ขาวดอกมะลิ 105 / LA29'73NF1U-14-3-1-1// IR58

ประวัติพันธุ์

- ได้จากการผสมพันธุ์ 3 ทาง ระหว่างพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ LA29'73NF1U-14-3-1-1 กับIR58 ที่สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2525-2526

- พ.ศ. 2528-2533 นำไปปลูกคัดเลือกที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ตั้งแต่ชั่วที่ 2-7 จนได้สายพันธุ์ SPRLR83228-PSL-32-1

การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2541

ลักษณะประจำพันธุ์

- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน
- ลำต้นสูง ทรงกอตั้ง ฟางแข็งปานกลาง ใบสีเขียว ใบธงเอน คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ระแง้ถี่
- เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 11 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.4 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 14.9%

ผลผลิต

- ประมาณ 579 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

- ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพในการให้ผลผลิต
- ค่อนข้างต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และโรคใบหงิก
- เป็นข้าวอายุหนักกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงสามารถปลูกเสริมพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เพื่อช่วยในการกระจายแรงงานในการเก็บเกี่ยว
- คุณภาพเมล็ดดี สามารถสีเป็นข้าวสาร 100 % ได้
- คุณภาพหุงต้มและรับประทานดี นุ่มเหนียว และหอมเหมือนพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105

ข้อควรระวัง

- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

พื้นที่แนะนำ

- ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง


จากเว็บ www.rakbankerd.com


กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ข้าวกำผาย 15 (Gam Pai 15)

ชื่อพันธุ์กำผาย 15 (Gam Pai 15)

ชนิด
ข้าวเหนียว

ประวัติพันธุ์ ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตรอำเภอ จากอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 99 รวง และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวพาน และสถานีทดลองข้าวสันป่าตอง ระหว่าง พ.ศ.2500-2505 คัดเลือกได้สายพันธุ์ กำผาย 30-12-15

การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ุ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพัน ธุ์เป็นข้าวเหนียวต้นสูง สูงประมาณ 168 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 30 พฤศจิกายนระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 6 สัปดาห์เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.8 x 7.2 x 2.0 มิลลิเมตร




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้าวขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105)

ชื่อพันธุ์ - ขาวดอกมะลิ 105 (Khao Dawk Mali 105)

ชนิด - ข้าวเจ้าหอม

ประวัติพันธุ์

- ได้มาโดยนายสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ.2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ (Pure Line Selection) และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ท้องถิ่นในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่งเลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คืออำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึงพันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และเลข 105 หมายถึง แถวหรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวง

การรับรองพันธุ์


- คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502

ลักษณะประจำพันธุ์

- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวง เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1 x 7.5 x 1..8 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 12-17 %
- คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต

- ประมาณ 363 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

- ทนแล้งได้ดีพอสมควร
- เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี
- คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม
- ทนต่อสภาพดินเปรี้ยว และดินเค็ม

ข้อควรระวัง

- ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้ และโรคใบหงิก
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว และหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ

- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน


จากเว็บ www.rakbankerd.com



กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ข้าวเก้ารวง 88 (Gow Ruang 88)

ชื่อพันธุ์ - เก้ารวง 88 (Gow Ruang 88)

ชนิด - ข้าวเจ้า

ประวัติพันธุ์

- ได้จากการรวบรวมพันธุ์โดยพนักงานเกษตร จากอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 203 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์ตามสถานีทดลองข้าวต่างๆ จนได้สายพันธุ์ เก้ารวง 17-2-88

การรับรองพันธุ์

- คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ให้ใช้ขยายพันธุ์ เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2505

ลักษณะประจำพันธุ์

- เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร
- ไวต่อช่วงแสง
- ลำต้นและใบสีเขียวเข้ม เมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 21 พฤศจิกายน
- ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์
- เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา =2.2 x 7.3 x 1.7 มิลลิเมตร
- ปริมาณอมิโลส 22-26%
- คุณภาพข้าวสุก ร่วน นุ่ม

ผลผลิต

- ประมาณ 420 กิโลกรัมต่อไร่

ลักษณะเด่น

- น้ำหนักเมล็ดข้าวเปลือกดี
คุณภาพการสีดี ได้ข้าวสารใส แกร่ง
- ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว

ข้อควรระวัง

- ไม่ต้านทานโรคไหม้ และโรคใบสีส้ม
- ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ

- ภาคกลาง




จากเว็บ www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=88





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้าว กข13 ( RD13 )

ชื่อพันธุ์กข13 ( RD13 )

ชนิด
ข้าวเจ้า

คู่ผสมนางพญา 132 / ผักเสี้ยน 39

ประวัติ พันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์นางพญา 132 กับพันธุ์ผักเสี้ยน 39 ที่สถานีทดลองข้าวบางเขน ในปี พ.ศ.2507 แล้วนำข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ไปปลูกคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวควนกุฎ จังหวัดพัทลุง จนได้สายพันธุ์ BKN6402-352

การรับรองพันธุ์ คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2521

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 160 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงลำต้นตั้งตรง สีเขียว ใบธงตก ชูรวงอยู่เหนือใบ ระแง้ถี่อายุ

เก็บเกี่ยว ประมาณ 26 กุมภาพันธ์เมล็ดข้าวเปลือกสีน้ำตาลท้องไข่ปานกลาง
ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์




กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

ข้าว กข8 (RD8)

ชื่อพันธุ์กข8 (RD8)

ชนิด
ข้าวเหนียว

คู่ผสมเหนียวสันป่าตอง*2 / ไออาร์ 262

ประวัติ พันธุ์ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์เหนียวสันป่าตอง กับพันธุ์ไออาร์ 262 ในปี พ.ศ.2509 แล้วผสมกลับไปหาพันธุ์เหนียวสันป่าตองอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.2510 โดยผสมพันธุ์และคัดเลือกที่สถานีทดลองข้าวบางเขนได้สายพันธุ์ BKN6721 เมล็ดพันธุ์ผสมชั่วที่ 2 ถูกส่งไปให้สถานีทดลองข้าวขอนแก่นทำการปลูกคัดเลือกต่อ และได้เปลี่ยนชื่อคู่ผสมตามรหัสของสถานีเป็นสายพันธุ์ KKN6721 สถานีทดลองข้าวขอนแก่นได้ทำการคัดเลือกและปลูกเปรียบเทียบผลผลิต จนได้สายพันธุ์ KKN6721-5-7-4

การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2521

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเหนียว สูงประมาณ 150 เซนติเมตรไวต่อช่วงแสงอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 23 พฤศจิกายนลำต้นและใบสี
เขียวเข้ม ใบธงตั้ง ฟางแข็ง ชูรวงอยู่เหนือใบ เมล็ดข้าวค่อนข้างป้อม ลำต้นแข็งเมล็ดข้าวเปลือกสีเหลืองระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3 สัปดาห์





กลับสู่ : หน้าหลัก พืชผัก พืชสมุนไพร

สร้อยสุวรรณา

สร้อยสุวรรณา

ใบ : เปลี่ยนรูปเป็นเส้นและมีกระเปาะดักแมลงเช่นเดียวกับทิพเกสร
ดอก : สีเหลืองสดในเรียงอยู่บนก้านเป็นช่อยาวมี 3 - 10 ดอก โคนดอกเชื่อมติดกันและยื่นยาวเป็นจะงอยแหลม ด้านล่าง ส่วนปลายแยกเป็น 2 ปาก ดูคล้ายเป็นถ้วยเล็ก ๆ ผลกลมแป้นขนาดเล็กเมื่อแก่จะแตกออกส่งเมล็ดภายใน ให้หล่นลงดิน และเจริญขึ้นใหม่ในฤดูฝนปีต่อไป ออกดอกในเดือน ต.ค. - ธ.ค.



วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มะม่วงหิมพานต์

ลักษณะทั่วไป

มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของอเมริกา เขตแล้งชายฝั่งทะเลตอนกลางและตอนเหนือของบราซิล มะม่วงหิมพานต์เผยแพร่ไปยังส่วนต่างๆ ของโลกโดยนัดเดินเรือชาวสเปน เข้าสู่ประเทศไทยพร้อมๆกับยางพารา ในราว พ.ศ. 2444 พระยารัชฎานุประดิษฐ์
เราใช้ส่วนของผลหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเมล็ดรับประทาน ปรุงอาหาร น้ำจากก้านผลใช้เป็นยาแก้เจ็บคอ ขับปัสสาวะ ใช้ผลิตไวน์ และช่วยกระตุ้นสมองให้จำได้ดีขึ้น ใบอ่อนใช้แก้โรคท้องร่วง โรคบิด ใบแก่ใช้บดพอกแผลน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ยางของมะม่วงหิมพานต์ใช้เป็นยากันปลวก ใช้ทำกาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะม่วงหิมพานต์มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anacardium accidentale L. อยู่ในตระกูลเดียวกับมะม่วงคือ Anacardiaceae เป็นพืชที่มีสีเขียวตลอดปี แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง เนื้อไม้ไม่สู้แข็งนัก มียางเหนียวสีเหลือง
ใบ ค่อนข้างหนา ปลายใบกลมมน โคนใบแหลม ใบออกเป็นพุ่ม
ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบพานิเคิล แต่ละดอกมีขนาดเล็กมาก มีกลิ่นหอม มีกลีบดอก 5 กลีบสีขาว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะเริ่มเปลี่ยนจากสีขาวไปเป็นสีชมพูอมเหลือง ดอกมี 3 ชนิด คือ ดอกตัวผู้ ดอกตัวเมีย และดอกกะเทยอยู่บนช่อดอกเดียวกัน
ผล จะติดอยู่ตอนล่างของก้านอก ซึ่งเป็นก้านผลพองโตออก ส่วนผลที่แท้จริงคือ ส่วนที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ด โดยทั่วไปเรียกว่า เมล็ด แท้ที่จริงแล้วคือ ผล เมื่อยังอ่อนมีสีเขียวเป็นมัน เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาล มีเนื้อ ( kernel ) รูปไตอยู่ภายใน สีขาวนวล มีสองซีกประกบกัน

พันธุ์


พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ ศิริชัย ศรีสะเกษ บราซิล อินเดีย อาฟริกา

การขยายพันธุ์


การเสียบยอดแบบเสียบลิ่ม
นิยมกระทำกับต้นมะม่วงหิมพานต์ที่มีต้นขนาดเล็ก ซึ่งได้จากการเพาะกล้าในถุงพลาสติกจนต้นโตได้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 1/2-1 เซนติเมตรหรือเมื่ออายุได้ 2-2 1/2 เดือนหลังจากการเพาะแล้วจึงนำมาเสียบ


วิธีทำ
1. เพาะต้นตอลงในถุงพลาสติกจนอายุประมาณ 2- 2-1/2 เดือน
2. ตัดต้นตอเหลือยาว 3-5 นิ้ว ใช้มีดที่คมและสะอาดผ่าตามยาว แผลลึกประมาณ 1.5 เซนติเมตร
3. เลือกยอดพันธุ์ดีที่มีตาเต่งและเป็นยอดที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
4. ตัดใบที่ติดอยู่กับยอดให้หมดและเอาตายอดเหลือไว้เพียง 1 ตา ใช้มีดเฉือนยอดให้เป็นรูปลิ่ม
5. เสียบยอดพันธุ์ดีลงบนต้นตอที่เตรียมไว้ให้เปลือกของต้นตอสัมผัสกับกิ่งพันธุ์ดีทั้ง 2 ข้าง หรือด้านใดด้านหนึ่ง
6. พันรอยแผลด้วยผ้าพลาสติกโดยพันจากล่างขึ้นบนจนมิดรอยแผล
7. ครอบด้วยถุงพลาสติก เพื่อต้นที่ต่อไว้จะได้ไม่เหี่ยว แล้วนำเข้าไว้ในที่ร่ม
8. เอาถุงที่ครอบออกเมื่อยอดพันธุ์ดีเริ่มแตกผลิยอดออกมาซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 25-30 วัน

การเสียบยอดแบบเสียบเปลือก
นิยมกระทำกับต้นมะม่วงหิมพานต์ที่มีต้นหรือกิ่งค่อนข้างโตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วขึ้นไป


วิธีทำ
1. ต้นมะม่วงหิมพานต์ที่จะเปลี่ยนพันธุ์ดีบริเวณกิ่งต่างๆ ทุกกิ่ง โดยลอกเปลือกกิ่ง มะม่วงหิมพานต์ให้แผลยาว 3-5 นิ้ว แล้วตัดเปลือกที่ลอกออกให้เหลือ 1 ใน 3
2. เลือกยอดที่มีตาเต่งยอดไม่อ่อนหรือแก่เกินไป ตัดยอดให้ยาว 3-5 นิ้ว และริดใบออกให้หมด
3. ใช้มีดที่คมและสะอาดเฉือนยอดพันธุ์ดี
4. สอดยอดพันธุ์ดีลงในรอยเผยอของเปลือกที่เตรียมไว้ตามข้อ 1 ให้รอยแผลของกิ่งพันธุ์ดีแนบชิดกับต้นตอที่เปิดเปลือก
5. พันพลาสติกใสจากล่างขึ้นบน เพื่อกันน้ำซึมเข้าแผล
6. แก้พลาสติกออกหลังจากตาเริ่มผลิออก
7. การเจริญเติบโตของยอดมะม่วงหิมพานต์พันธุ์ดี

การปลูก


มะม่วงหิมพานต์สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ดินเปรี้ยวก็สามารถปลูกได้ แต่จะต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำได้ดี มะม่วงหิมพานต์สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้ดี
เตรียมหลุมประมาณขนาด 30x30x30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกและ รอคฟอสเฟต นำต้นกล้ามาปลูกโดยใช้ระยะปลูกประมาณ 6x6-8x8xเมตร ในระยะ 1 – 2 ปี อาจทำการปลูกพืชแซม เช่น สับปะรด น้อยหน่า เป็นต้น เพื่อเสริมรายได้ในระยะแรก
ควรใส่ปุ๋ยคอกอย่างน้อยปีละครั้ง และใส่ปุ๋ยวิยาศาสตร์เช่น 13-13-21 ปีละ 2 – 3 ครั้ง คลุมโคนต้นในฤดูแล้งเพื่อช่วยรักษาความชื้น มะม่วงหิมพานต์ไม่ต้องการตัดแต่งมากนัก นอกจากมีโรคและแมลงเข้ารบกวน

การเก็บเกี่ยว
มะม่วงหิมพานต์สามารถออกติดผลตั้งแต่ปีแรก เริ่มให้ผลผลิตมากในราวเดือน ธันวาคม – มกราคม ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ต่อเมื่ออายุประมาณ 75 วัน ภายหลังการออกดอก เก็บเกี่ยวโดยใช้ไม้ปลายแหลมจิ้ม ใช้ตะกร้อสอย หรือเขย่าให้ผลร่วง


หอมแบ่ง

หอมแบ่ง

หอมแบ่งหรือต้นหอมเป็นผักที่รับประทานส่วนของใบ ใช้ส่วนของใบประกอบอาหารและรับประทานสด มีถิ่นกำเนิดทางแถบเอเชียและแถบเมดิเตอร์เรเนียน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หอมแบ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium cepa var. aggregatum
อยู่ในตระกูล Amaryllidaceae
เป็นพืชที่มีลำต้นใต้ดิน เป็นพืชอายุ 2 ฤดู แต่มักปลูกเป็นพืชฤดูเดียว มีระบบรากเป็นรากฝอย
ใบ ของหอมแบ่งเรียวแหลม ภายในกลวงตั้งอยู่บนฐานของหัว ( bulb ) รอบๆ ลำต้นมีกาบใบล้อมรอบ ส่วนของกาบห่อหุ้มต้นทำให้มีลักษณะพองโตเป็นหัว ซึ่งจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ดอก เป็นดอกสมบรูณ์เพศ ออกเป็นช่อ

การปลูกและการดูแลรักษา

หอมแบ่งชอบดินร่วนปนทรายที่มีอินทรียวัตถุอยู่มาก และต้องเป็นดินที่มีการระบายน้ำดี หอมแบ่งชอบอากาศเย็นและชื้น ฤดูปลูก ที่เหมาะสมคือ ฤดูหนาว ควรเริ่มปลูกประมาณเดือนตุลาคม – ธันวาคม
การปลูกหอมแบ่ง ควรมีการพรวนดิน ย่อยดินและตากดินไว้ประมาณ 7 – 14 วัน ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 3 ตันต่อไร่ คลุกเคล้าให้เข้ากันกับดิน จากนั้นนำส่วนของหัวหอมแบ่งที่ใช้เป็นต้นพันธุ์มาปลูกต้นพันธุ์เหล่านี้ได้แกะกลีบดอกให้เหลือกลีบเดียวแล้วใช้ผ้าชิ้นห่อไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อให้หอมงอกแล้วจึงนำไปปลูก โดยใช้ระยะปลูก 15 x 15 ซม.
การให้ปุ๋ย ควรให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในระยะที่ต้นกล้าเริ่มตั้งตัว และให้ครั้งที่สองเมื่อหอมแบ่งมีอายุประมาณ 1 เดือน โดยให้ครั้งละประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผิวดินแห้งควรให้น้ำทันที ยกเว้นในระยะที่หอมแบ่งเริ่มแก่ให้ลดการให้น้ำ หอมแบ่งจะได้แก้เร็วขึ้น

โรคที่สำคัญ

โรคของหอมแบ่ง คือ โรคโคนเน่าหรือโรคแอนแทรกโนส โรคราดำ โรคใบจุด โรครากเน่า

ส่วนแมลงที่เป็นศัตรูสำคัญ คือ เพลี้ยไฟ และหนอนหลอด

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดอกหงอนนาค

ชื่ออื่นๆ : น้ำค้างกลางเที่ยง หญ้าหงอนเงือก หงอนเงือก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia giganteum ( Vahl. ) Br.

ลำต้น : สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ใบรูปดาบ กว้าง 4.12 มม. ยาว 15-40 ซม. ออกสลับรอบข้อที่ผิวดิน

ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือปลายยอด ดอกสีม่วงอ่อนหรือม่วงน้ำเงิน สีขาว และสีชมพู ซึ่งค่อนข้างหายาก กลีบดอก 3 กลีบ กลีบตรงกลางด้านบนจะตั้งฉากกับกลีบด้านข้างทั้ง 2 กลีบ ยามเช้าจะหุบดอก แล้วจะบานเมื่อมีแสงแดด ส่วนกลางของดอกมักมีหยดน้ำติดอยู่

แหล่งที่พบ : ขึ้นบริเวณลานดินทรายที่มีน้ำขังหรือทุ่งหญ้าป่าสนบนภูเขาสูงๆ ที่ชุ่มชื้น จุดที่มีหงอนนาคทุ่งใหญ่ที่สุดของไทยอยู่ที่ภูสอยดาว นอกจากนี้ยังพบได้อีกหลายแห่งเช่น เขาสมอปูน ทุ่งโนนสน เขาใหญ่ และอีกหลายที่

ช่วงเวลาออกดอก ส.ค. - ต.ค.




วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ยี่โถปีนัง

ชื่อสามัญ : ยี่โถปีนัง


ชื่อท้องถิ่น : แขมดอกขาว, หญ้าจิ้มฟันควาย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Arudina graminifolia (D. Don) Hochr.


ลักษณะลำต้น : จัดเป็นกล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง ชอบขึ้นต้นเดี่ยวๆ มีความสูงโดยประมาณ ๕๐ เซนติเมตร


ลักษณะใบ : ใบรูปแถบคล้ายใบหญ้า ปลายเรียวแหลม โคนใบเป็นกาบห่อหุ้มลำต้น


ลักษณะดอก : จะออกดอกระหว่างเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ดอกออกเป็นช่อๆที่ปลายยอดช่อละ ๑ - ๒ ดอก กลีบดอกมีสีขาวปนม่วงอ่อน ปลายดอกมีรูปกรวยโคนเล็กปากดอกบานออก มีสีชมพูอ่อนอมม่วง ลึกเข้าไปในกรวยมีสีเหลืองแซมขาว

แหล่งที่พบในไทย : โดยส่วนใหญ่สามารถพบตามทุ่งหญ้าบนภูเขาหรือไหล่เขาตามพื้นดินที่ค่อนชื้นแฉะ


หม้อข้าวหม้อแกงลิง

หม้อข้าวหม้อแกงลิง (อังกฤษ: Nepenthes)
( nə'pεnθiːz / มาจากภาษากรีก: ne = ไม่, penthos = โศกเศร้า, ความเสียใจ; ชื่อของภาชนะใส่เหล้าของกรีกโบราณ (กรีก: Nepenthe) ) หรือที่รู้จักกันในชื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิง หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นสกุลของพืชกินสัตว์ในวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งประกอบไปด้วย 120 กว่าชนิด และลูกผสมอีกมากมาย เป็นไม้เลื้อยจากโลกเก่าที่ขึ้นในเขตร้อนชื้น กระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของจีน, อินโดนีเซีย, มาเลเซียและฟิลิปปิน; ทางตะวันตกของมาดากัสการ์ (2 ชนิด) และเซเชลส์ (1 ชนิด) ; ตอนใต้ของออสเตรเลีย (3 ชนิด) และนิวแคลิโดเนีย (1 ชนิด) ; ตอนเหนือของอินเดีย (1 ชนิด) และศรีลังกา (1 ชนิด) พบมากที่บอร์เนียว และ สุมาตรา ส่วนมากนั้นเป็นพืชที่ขึ้นตามที่ลุ่มเขตร้อนชื้น แต่ในระยะหลังหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดใหม่ๆมักพบตามภูเขาซึ่งมีอากาศร้อนตอนกลางวันและหนาวเย็นตอนกลางคืน ส่วนชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิง (อังกฤษ: Monkey Cups) มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าลิงมาดื่มน้ำฝนจากหม้อของพืชชนิดนี้

ศัพทมูลวิทยา
คำว่า Nepenthes (นีเพนเธส) ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1737 ใน Hortus Cliffortianus (แคตาล็อกแสดงพรรณพืชของคลิฟฟอร์ด) ของคาโรลัส ลินเนียส มาจากมหากาพย์โอดิสซีของโฮเมอร์ ในข้อความที่ว่า "Nepenthes pharmakon" (เหยือกยาที่ใช้เพื่อลืมความเศร้าซึ่งหมายถึงเหล้านั่นเอง) ถูกมอบให้เฮเลนโดยราชินีแห่งอียิปต์ คำว่า "Nepenthe" แปลตรงตัวได้ว่า "ปราศจากความเศร้าโศก" (ne = ไม่, penthos = เศร้าโศก) และในตำนานเทพเจ้ากรีกนั้น เป็นการดื่มเพื่อให้ลืมความเสียใจ ลินเนียสอธิบายไว้ว่า : ถ้ามันไม่ใช่เหยือกเหล้าของเฮเลนแล้วมันคงจะเป็นของนักพฤกษศาสตร์ทุกคนอย่างแน่นอน สิ่งใดที่นักพฤกษศาสตร์รู้สึกว่าธรรมดาไม่น่าชื่นชม ถ้าหลังจากการเดินทางอันยาวนานและแสนลำบาก แล้วเขาสามารถพบพืชที่แสนวิเศษนี้ ในความรู้สึกของเขาที่ผ่านสิ่งแย่ๆและลำบากมานั้นก็ต้องถูกลืมเลือนไปหมดสิ้น เมื่อเห็นผลงานของพระผู้เป็นเจ้าที่น่าชมเชยนี้! [แปลจากภาษาละตินโดย เอช. เจ. วีตช์

พืชที่ลินเนียสกล่าวถึงก็คือ Nepenthes distillatoria หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากศรีลังกา

หม้อข้าวหม้อแกงลิง ถูกตั้งให้เป็นชื่อสกุลในปี ค.ศ. 1753 ใน "Species Plantarum (ชนิดพันธุ์พืช) " ซึ่งเป็นการตั้งชื่อที่ถูกยอมรับและใช้จนมาถึงปัจจุบัน และ N. distillatoria ก็เป็นชนิดต้นแบบในสกุลนี้
หม้อข้าวหม้อแกงลิง จาก Species Plantarum (ชนิดพันธุ์พืช) ของคาโรลัส ลินเนียส ปี ค.ศ. 1753
ประวัติทางพฤกษศาสตร์

ภาพวาดของพลูคีเน็ต รูป N. distillatoria จาก
Almagestum Botanicum (สารานุกรมพฤกษศาสตร์ ) ปี ค.ศ. 1696ก่อนที่ชื่อ นีเพนเธส จะถูกบันทึก ย้อนกลับไปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในปี ค.ศ. 1658 ข้าหลวงชาวฝรั่งเศสที่ชื่อเบเตียน เดอ ฟรากูร์ (ฝรั่งเศส: Étienne de Flacourt) ได้พรรณนาเกี่ยวกับลักษณะของพืชชนิดนี้ในงานสัมมนา Histoire de la Grande Isle de Madagascar (ประวัติของเกาะมาดากัสการ์) ดังนี้:

พืชชนิดนี้สูง 3 ฟุต ใบยาว 7 นิ้ว มีดอกและผลคล้ายแจกันขนาดเล็กที่มีฝาปิดเป็นภาพที่น่าประหลาดใจมาก มีสีแดงหนึ่งสีเหลืองหนึ่ง สีเหลืองมีขนาดใหญ่ที่สุด คนพื้นเมืองในประเทศนี้คัดค้านที่จะเด็ดดอกของมัน เพราะมีความเชื่อที่ว่าถ้าใครเด็ดมันแล้ว ฝนจะตกในวันนั้น ในเรื่องนั้นฉันและชาวฝรั่งเศสคนอื่นๆเก็บมันมา แต่ฝนก็ไม่ตก หลังฝนตกดอกของมันเต็มไปด้วยน้ำที่เกาะอยู่จนดูคล้ายลูกแก้วที่แวววาว[แปลจากภาษาฝรั่งเศสในหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว]

ฟรากูรได้ตั้งชื่อพืชชนิดนี้ว่า Anramitaco สันนิษฐานว่าเป็นชื่อท้องถิ่น แล้วก็ล่วงเลยมามากกว่าศตวรรษ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จึงได้ถูกจัดจำแนกเป็น N. madagascariensis

หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่ 2 ที่ถูกพรรณนาถึงในปี ค.ศ. 1677 ได้แก่ N. distillatoria พืชถิ่นเดียวของศรีลังกา ถูกจัดจำแนกให้อยู่ภายใต้ชื่อ "Miranda herba" (สมุนไพรอันน่าพิศวง) 3 ปีต่อมา พ่อค้าชาวดัชต์ที่ชื่อเจคอบ เบรนี (Jacob Breyne) อ้างว่าพืชชนิดนี้เป็น Bandura zingalensium ซึ่งเป็นชื่อเรียกในท้องถิ่น[8] ในภายหลัง Bandura ได้กลายเป็นชื่อที่ใช้เรียกหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วไปจนกระทั่งลินเนียสได้ตั้งชื่อ นีเพนเธส ขึ้นในปี ค.ศ. 1737

N. distillatoria ถูกจัดจำแนกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1683 ครั้งนี้โดยแพทย์ชาวสวีเดน ที่ชื่อ เอช.เอ็น. กริม (H. N. Grimm) [9] กริมได้เรียกมันว่า Planta mirabilis distillatoria หรือ "พืชกลั่นน้ำอันน่าอัศจรรย์" และเป็นครั้งแรกที่มีภาพประกอบอย่างละเอียดของพืชชนิดนี้ 3 ปีต่อมา ในปี ค.ศ. 1686 นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษที่ชื่อจอน เรย์ (อังกฤษ: John Ray) อ้างคำพูดของกริมมากล่าวดังนี้:
รากดูดความชุ่มชื้นจากดินด้วยความช่วยเหลือของแสงอาทิตย์เข้าสู่ตัวมัน แล้วส่งผ่านไปยัง ลำต้น ก้าน ใบที่น่ากลัวของมัน ไปสู่ภาชนะตามธรรมชาติ แล้วเก็บกักไว้จนกว่ามนุษย์จะต้องการมัน [แปลจากภาษาละตินใน หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว]

หนึ่งในภาพประกอบแรกๆของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ปรากฏใน Almagestum Botanicum (สารานุกรมพฤกษศาสตร์ ) ของเลียวนาร์ด พลูคีเน็ต (Leonard Plukenet) ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1696 พืชที่เรียกว่า Utricaria vegetabilis zeylanensium ก็คือ N. distillatoria นั่นเอง

ภาพประกอบของ Cantharifera ใน Herbarium Amboinensis (พรรณไม้จากอองบง) ของรัมฟิออซ, เล่ม 5, ปี ค.ศ. 1747 ถึงแม้ว่าจะถูกวาดหลังศตวรรษที่ 17 แต่ไม้เถาทางขวาไม่ใช่หม้อข้าวหม้อแกงลิง แต่เป็น Flagellariaในเวลาเดียวกันเกออร์จ เบเบอร์ฮาร์ด รัมฟิออซ (เยอรมัน: Georg Eberhard Rumphius) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ค้นพบหม้อข้าวหม้อแกงลิง 2 ชนิดใหม่ในหมู่เกาะมลายู รัมฟิออซได้วาดภาพชนิดแรกไว้ เมื่อได้นำมาพิจารณาดูแล้วมันก็คือ N. mirabilis นั่นเอง และได้ให้ชื่อว่า Cantharifera แปลว่า "คนถือเหยือก" ชนิดที่ 2 ที่ชื่อ Cantharifera alba คิดว่าน่าจะเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิด N. maxima รัมฟิออซได้พรรณนาไว้ในงานเขียนที่มีชื่อเสียงมากของเขา : Herbarium Amboinensis (พรรณไม้จากอองบง) บัญชีรายชื่อรุกขชาติแห่งเกาะอองบง ทั้ง 6 เล่ม อย่างไรก็ตามพืชชนิดนี้กลับไม่เป็นที่รู้จักจนกระทั่งเขาถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี

หลังจากตาบอดลงในปี ค.ศ. 1670 เมื่อต้นฉบับเขียนด้วยมือสำเร็จเสร็จสิ้นเป็นบางส่วน รัมฟิออซก็ได้เขียน Herbarium Amboinensis ต่อด้วยความช่วยเหลือของเสมียนและจิตรกร ในปี ค.ศ. 1687 เมื่องานใกล้สำเร็จลุล่วง งานอย่างน้อยครึ่งหนึ่งกับเสียหายไปเพราะไฟไหม้ แต่ด้วยความอุตสาหะ รัมฟิออซและผู้ช่วยของเขาก็ทำหนังสือเล่มแรกแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1690 อย่างไรก็ตาม 2 ปีต่อมา เรือที่บรรทุกต้นฉบับไปสู่ประเทศเนเธอร์แลนด์กลับถูกโจมตีและจมลงโดยเรือรบของฝรั่งเศส เป็นการบังคับให้พวกเขาเริ่มใหม่อีกครั้ง แต่โชคยังดีที่ยังมีฉบับคัดลอกที่ถูกเก็บรักษาไว้โดย ข้าหลวง-นายพล โจฮันซ์ แคมฟุจซ์ (Johannes Camphuijs) ในที่สุดหนังสือ Herbarium Amboinensis ก็ไปถึงเนเธอร์แลนด์ในปี ค.ศ. 1696 แต่หนังสือเล่มแรกก็ยังไม่ถูกตีพิมพ์จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1741 เป็นเวลา 39 ปีหลังจากรัมฟิออซถึงแก่กรรม ในครั้งนี้ชื่อ นีเพนเธส ของลินเนียสได้กลายเป็นมาตราฐานที่มั่นคงแล้ว

ภาพวาดของ Bandura zeylanica (N. distillatoria) จาก Thesaurus Zeylanicus (อรรถาภิธานจากศรีลังกา) ของเบอร์แมน ในปี ค.ศ. 1737N. distillatoria ถูกวาดภาพและอธิบายอีกครั้งใน Thesaurus Zeylanicus (อรรถาภิธานจากศรีลังกา) ของโจฮันซ์ เบอร์แมน (Johannes Burmann) ในปี ค.ศ. 1737 ภาพวาดแสดงให้เห็นตั้งแต่ดอก ลำต้น และหม้อ เบอร์แมนเรียกพืชชนิดนี้ว่า Bandura zeylanica

การอ้างถึงหม้อข้าวหม้อแกงลิงครั้งต่อมาเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1790 เมื่อพระชาวโปรตุเกสที่ชื่อโจเอา เดอ เลอรีโร (João de Loureiro) พรรณนาถึง Phyllamphora mirabilis หรือ "ใบรูปหม้ออันน่าพิศวง" จากเวียดนาม แม้เขาจะอยู่ในประเทศนี้มาถึง 35 ปี มันดูไม่เหมือนว่า เลอรีโรจะเฝ้าศึกษาพืชชนิดนี้อย่างจริงจังนัก เขาอ้างว่าฝาของหม้อเคลื่อนไหวได้ในรูปแบบเปิดและปิดฝาหม้อ ในงานที่มีชื่อเสียงของเขา : Flora Cochinchinensis (พืชจากเวียดนามใต้ ) เขาเขียนไว้ว่า:

สายดิ่งที่ยื่นยาวต่อจากปลายสุดของใบที่บิดขดเป็นวงอยู่ตรงกลาง ทำหน้ายึดหม้อนิ่มๆรูปไข่นั่นไว้ มันมีปากที่เรียบเป็นโครงยื่นตรงขอบและที่ด้านตรงข้ามเป็นฝาปิด ซึ่งเปิดอยู่โดยธรรมชาติ และจะปิดเมื่อต้องเก็บกักน้ำค้างไว้ เป็นผลงานของพระผู้เป็นเจ้าที่น่าพิศวงมาก! [แปลจากภาษาฝรั่งเศสในหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว]

ในที่สุด Phyllamphora mirabilis ก็ถูกเปลี่ยนเข้าสู่สกุลของหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยเกออร์จ คลาริดก์ ดรูซ (George Claridge Druce) ในปี ค.ศ. 1916 ดังนั้น P. mirabilis จึงเป็น ชื่อเดิม (basionym) ของหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั่วโลกหลายชนิด

การเคลื่อนไหวของฝาหม้อที่ถูกกล่าวอ้างโดยเลอรีโรได้ถูกกล่าวซ้ำอีกครั้งโดยจีน ลุยซ์ มารี ปัวร์เรต (Jean Louis Marie Poiret) ในปี ค.ศ. 1797 ปัวร์เรตได้กล่าวถึง 2 ใน 4 ชนิดที่เป็นที่รู้จักในขณะนั้น : N. madagascariensis และ N. distillatoria เขาสร้างรูปแบบชื่อปัจจุบันและชื่อเรียกตามหลัง : Nepente de l'Inde หรือ "หม้อข้าวหม้อแกงลิงของประเทศอินเดีย" ถึงแม้ว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้จะอยู่ห่างไกลจากแผ่นดินใหญ่ก็ตาม

ใน Encyclopédie Méthodique Botanique (สารานุกรมพฤกษศาสตร์) ของจีน-บาปตีสต์ เดอ ลามาร์ก (ฝรั่งเศส: Jean-Baptiste de Lamarck) เขารวบรวมไว้ดังนี้ :

มันเป็นหม้อที่น่าพิศวง ตามดังที่ฉันจะกล่าวต่อไปนี้ โดยปกติเมื่อหม้อเต็มไปด้วยน้ำสะอาดฝาหม้อก็จะปิดลง มันจะเปิดขึ้นในระหว่างตอนกลางวัน และน้ำส่วนมากจะหายไป แต่น้ำที่หายไปนี้ใช้ไปในการบำรุงต้นระหว่างกลางคืนก็เป็นได้ และเมื่อวันใหม่เมื่อหม้อเต็มอีกครั้ง ฝาก็จะปิดลงเช่นเดิม นี่เป็นอาหารของมัน และมากเพียงพอใน 1 วันเพราะน้ำนั้นจะเหลือครึ่งเดียวในตอนกลางคืน [แปลจากภาษาฝรั่งเศสในหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากบอร์เนียว]

โรงเรือนปลูกหม้อข้าวหม้อแกงลิงของ สถานเพาะเลี้ยงวิตช์ ภาพใน The Gardener s' Chronicle (บันทึกของชาวสวน ) ปี ค.ศ. 1872เมื่อมีการค้นพบชิดใหม่ๆ ความสนใจในการปลูกเลี้ยงหม้อข้าวหม้อแกงลิงจึงเกิดขึ้นตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนสามารถเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของหม้อข้าวหม้อแกงลิงก็ว่าได้ โดยเริ่มนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1880 อย่างไรก็ตามความนิยมนี้กลับลดลงในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ก่อนจะหายไปเพราะสงครามโลกครั้งที่สอง นี่เป็นเครื่องแสดงข้อเท็จจริงที่ว่าไม่มีการค้นพบชนิดใหม่เลยในระหว่างปี ค.ศ. 1940 ถึง 1966 แต่ความสนใจในการปลูกเลี้ยงและการศึกษาในหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้กลับมาอีกครั้ง ทั้งนี้ต้องยกความดีความชอบให้แก่นักพฤกษศาสตร์ชาวญี่ปุ่นที่ชื่อไซเกะโอะ คุระตะ (Shigeo Kurata) ผลงานของเขาในปี ค.ศ. 1960 และ 1970 ได้นำเข้าสู่ความนิยมในพืชชนิดนี้อีกครั้ง

รูปร่างลักษณะและหน้าที่
หม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย มีระบบรากที่ตื้น-สั้น สูงได้หลายเมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตรหรืออาจหนากว่านั้นในบางชนิด เช่น N. bicalcarata เป็นต้น จากลำต้นไปยังก้านใบที่มีลักษณะคล้ายใบ เหมือนกับสกุลส้ม ยาวสุดสายดิ่งซึ่งบางสายพันธุ์ใช้เป็นมือจับยึดเกี่ยว แล้วจบลงที่หม้อที่เป็นใบแท้แปรสภาพมา หม้อเริ่มแรกจะมีขนาดเล็กและค่อยๆโตขึ้นอย่างช้าๆจนเป็นกับดักทรงกลมหรือรูปหลอด

ส่วนประกอบพื้นฐานของหม้อบนหม้อจะบรรจุไปด้วยของเหลวที่พืชสร้างขึ้น อาจมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อม ใช้สำหรับให้เหยื่อจมน้ำตาย จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิด ของเหลวจะบรรจุไปด้วยสารเหนียวที่ถูกผสมขึ้นเป็นสำคัญเพื่อใช้ย่อยแมลงในหม้อ ความสามารถของของเหลวที่ใช้ดักจะลดลง เมื่อถูกทำให้เจือจางโดยน้ำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นที่เป็นถิ่นอาศัยของพืชสกุลนี้
ส่วนล่างของหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้ ส่วนบริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้ ทางเข้าของกับดักเป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม จะลื่นและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่นหล่นลงไปในหม้อ ฝาหม้อ ในหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายๆชนิดนั้นใช้ป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปผสมกับของเหลวในหม้อ และด้านข้างจะมีต่อมน้ำต้อยไว้ดึงดูดเหยื่ออีกทางหนึ่งด้วย

โดยปกติหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะสร้างหม้อขึ้นมา 2 ชนิด คือหม้อล่าง เป็นหม้อที่อยู่แถวๆโคนต้นมีขนาดใหญ่ สีสันสวยงาม อีกชนิดคือหม้อบนที่มีขนาดเล็ก ก้านหม้อจะลีบแหลม รูปทรงของหม้อจะเปลี่ยนไป และสีสันจืดชืดกว่า หรือความแตกต่างอีกอย่างคือ หม้อล่างทำหน้าที่ล่อเหยื่อและดูดซึมสารอาหารไปใช้ในการเจริญเติบโต ส่วนหม้อบน เมื่อต้นโตขึ้น สูงขึ้น หม้อบนจะลดบทบาทการหาเหยื่อ แต่เพิ่มบทบาทการจับยึด โดยก้านใบจะม้วนเป็นวง เกาะเกี่ยวกิ่งไม้ข้างๆ ดึงเถาหม้อข้าวหม้อแกงลิงให้สูงขึ้นและมั่นคงขึ้นไม่โค่นล้มโดยง่าย แต่ในบางชนิดเช่น N. rafflesiana เป็นต้น หม้อที่ต่างชนิดกัน ก็จะดึงดูดเหยื่อที่ต่างชนิดกันด้วย

เหยื่อของหม้อข้าวหม้อแกงลิงโดยปกติแล้วจะเป็นแมลง แต่บางชนิดที่มีหม้อขนาดใหญ่ (N. rajah, N. rafflesiana เป็นต้น) บางครั้งเหยื่ออาจจะเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก เช่น หนู และสัตว์เลื้อยคลานดอกของหม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้น ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง จะแยกเพศกันอย่างชัดเจน แบบหนึ่งต้นหนึ่งเพศ ฝักเป็นแบบแคปซูล 4 กลีบและแตกเมื่อแก่ ภายในประกอบไปด้วยเมล็ด 10 ถึง 60 เมล็ดหรือมากกว่านั้น เมล็ดแพร่กระจายโดยลม

รูปแบบของกับดัก
รูปแบบทั้งหมดของกับดักในพืชกินสัตว์ดูที่พืชกินสัตว์
พืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชกินสัตว์ที่มีกับดักแบบหลุมพราง (Pitfall traps, pitcher) เหมือนกับพืชในสกุล Sarracenia, Darlingtonia, Heliamphora และ Cephalotus และการวิวัฒนาการของกับดักสันนิษฐานว่าการจากการคัดเลือกภายใต้แรงกดดันในระยะเวลายาวนาน เช่น มีสารอาหารในดินน้อย เป็นต้น ทำให้เกิดการสร้างใบรูปหม้อขึ้น และอาจเกิดจากแมลงซึ่งเป็นเหยื่อของมันหาอาหารมีพฤติกรรม, บิน, คลาน และไต่ ทำให้เกิดการพัฒนาจากโพรงช่องว่างที่เกิดจากใบประกบกันกลายหม้อซึ่งเป็นกับดักแบบหลุมพราง

หม้อข้าวหม้อแกงลิงนั้นถูกจัดให้มีบรรพบุรุษร่วมกับพืชที่มีกับดักแบบกระดาษเหนียว ซึ่งแสดงว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดอาจมีการพัฒนามาจากกับดักแบบกระดาษเหนียวที่สูญเสียเมือกเหนียวไป

กับดักเกิดขึ้นที่ปลายสายดิ่งหรือมือจับซึ่งพัฒนามาจากการยืดออกของเส้นกลางใบ โดยมากเป็นรูปทรงกลมหรือรูปหลอด เป็นกระเปาะ มีของเหลวอยู่ภายในมีลักษณะเป็นน้ำหรือน้ำเชื่อม ปากหม้อที่เป็นทางเข้าของกับดักอยู่ด้านบนของหม้อ เป็นส่วนประกอบที่เรียกว่าเพอริสโตม ซึ่งมีลักษณะลื่น ฉาบไปด้วยขี้ผึ้งและเต็มไปด้วยสีสันที่ดึงดูดเหยื่อเข้ามาและเสียหลักลื่นหล่นลงไปในหม้อ ส่วนล่างของหม้อจะมีต่อมสำหรับดูดซึมสารอาหารจากเหยื่อที่จับได้ ส่วนบริเวณด้านบนจะมีผิวลื่นเป็นมันใช้เพื่อป้องกันเหยื่อหนีรอดไปได้ มีฝาปิดอยู่ที่ด้านบนของกับดักป้องกันไม่ให้น้ำฝนตกลงไปในหม้อ ใต้ฝามีต่อมน้ำต้อยไว้เพื่อดึงดูดเหยื่ออีกทางหนึ่ง

การปลูกเลี้ยง

Nepenthes rajah ที่ถูกเพาะเลี้ยงกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นๆหม้อข้าวหม้อแกงลิงบางชนิดสามารถปลูกเลี้ยงได้ในเรือนกระจก เช่น N. alata, N. ventricosa, N. khasiana และ N. sanguinea หม้อข้าวหม้อแกงลิงทั้ง4ชนิดนี้เป็นพืชที่สูง (highlanders) (N. alata มีทั้งแบบพื้นราบและที่สูง) ส่วนตัวอย่างของชนิดพืชพื้นราบ (lowlander) ก็คือ N. rafflesiana, N.bicalcarata, N.mirabilis และ N.hirsuta

"พืชที่สูง" เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดที่ขึ้นในที่สูงอากาศหนาวเย็นในเวลากลางคืน (1000 เมตรขึ้นไป) "พืชพื้นราบ" เป็นชนิดที่ขึ้นใกล้กับระดับน้ำทะเล (0-1000 เมตร) หม้อข้าวหม้อแกงลิงชอบน้ำสะอาด , แสงมาก (ไม่ใช่แดดจัด), ชอบชื้นไม่ชอบแฉะ, อากาศไหลเวียนได้ดี ตัวอย่างชนิดที่สามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายอย่างเช่น N. alata ที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นต่ำได้ดี พวกชนิดพื้นที่สูงต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเย็นถึงจะเจริญเติบโตได้ดี สามารถให้ปุ๋ยได้โดยให้เจือจางกว่าที่ระบุบในฉลาก ป้อนแมลงบ้างเป็นบางครั้ง บางชนิดใช้พื้นที่ในการปลูกเลี้ยงน้อยเช่น N. bellii, N. × trichocarpa และ N. ampullaria แต่ส่วนมากจะมีขนาดต้นที่ใหญ่และยาว

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด ให้โรยบนสแฟกนัมมอสส์ที่เปียกชื้นหรือบนวัสดุปลูกอื่นๆที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว เช่นขุยมะพร้าว, พีทมอสส์ ฯลฯ หลังฝักแตกออกให้รีบเพาะเมล็ดเพราะอัตรางอกจะลดลงเรื่อยๆเมื่อเก็บไว้นานเข้า ส่วนผสม 50:50 ที่ใช้ในการปลูกกล้วยไม้เช่นมอสส์กับเพอร์ไลต์ เป็นส่วนผสมที่เหมาะที่สุดในการเพาะเมล็ด เมล็ดจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือนในการงอกเป็นต้นอ่อน และหลังจากนั้น 2 ปีหรือมากกว่านั้นจึงจะให้ดอก
การปักชำ ให้ทำปักชำในสแฟกนัมมอสส์ ถ้าความชื้นและแสงพอเพียงต้นไม้จะงอกรากใน 1-2 เดือนและจะเริ่มให้หม้อใน 6 เดือน
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในปัจจุบันเป็นการเพาะเลี้ยงในเชิงการค้าซึ่งได้ช่วยลดจำนวนต้นไม้ที่ถูกเก็บออกจากป่ามาขายได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ดี พืชหายากจำนวนมากยังถูกเก็บออกมาขาย เป็นเพราะราคาที่แพงของมันนั่นเอง หม้อข้าวหม้อแกงลิงถูกบรรจุในรายชื่อพืชที่ถูกคุกคามหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของไซเตสในบัญชี 1 และ 2


สปีชีส์
ดูบทความหลักที่ รายชื่อชนิดของหม้อข้าวหม้อแกงลิง
มีมากกว่า100ชนิดและถูกค้นพบขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ย1-2ชนิดต่อปี

หม้อข้าวหม้อแกงลิงในประเทศไทย
ในประเทศไทยพบว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง, ภาคตะวันออก และภาคใต้ ชนิดของหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ถูกบันทึกไว้ว่าพบในประเทศไทยมีดังนี้ :

N. anamensis
N. ampullaria (ไทย: หม้อแกงลิง)
N. globosa
N. gracilis (ไทย: หม้อข้าวหม้อแกงลิง)
N. mirabilis (ไทย: เขนงนายพราน)
N. sanguinea (ไทย: หม้อแกงลิงเขา)
N. smilesii (ไทย: น้ำเต้าพระฤๅษี)
N. thorelii ? (ไทย: น้ำเต้าลม)

ลูกผสมตามธรรมชนิดและที่ถูกเพาะพันธุ์โดยมนุษย์
ดูเพิ่มที่ รายชื่อชนิดลูกผสมทางธรรมชาติของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

Nepenthes × cincta
Nepenthes × ventrata
N. ventricosa × (N. lowii x N. macrophylla)มีลูกผสมมากมาย ยกตัวอย่างเช่น

N. × alisaputrana (N. burbidgeae × N. rajah)
N. × bauensis (N. gracilis × N. northiana)
N. × cantleyi (N. bicalcarata × N. gracilis)
N. × cincta (N. albomarginata × N. northiana)
N. × ferrugineomarginata (N. albomarginata × N. reinwardtiana)
N. × ghazallyana (N. gracilis × N. mirabilis)
N. × harryana (N. edwardsiana × N. villosa)
N. × hookeriana (N. ampullaria × N. rafflesiana)
N. × kinabaluensis (N. rajah × N. villosa)
N. × kuchingensis (N. ampullaria × N. mirabilis)
N. × merrilliata (N. alata × N. merrilliana)
N. × mirabilata (N. alata × N. mirabilis)
N. × pangulubauensis (N. mikei × N. pectinata)
N. × pyriformis (N. inermis × N. talangensis)
N. × sarawakiensis (N. muluensis × N. tentaculata)
N. × trichocarpa (N. ampullaria × N. gracilis)
N. × truncalata (N. alata × N. truncata)
N. × trusmadiensis (N. lowii × N. macrophylla)
N. × tsangoya ((N. alata × N. merrilliana) × N. mirabilis)
N. × ventrata (N. alata × N. ventricosa)
ตัวอย่างบางส่วนลูกผสมโดยมนุษย์เป็นผู้ผสมขึ้นที่เรารู้จักกันดี:

N. Coccinea ((N. rafflesiana × N. ampullaria) × N. mirabilis)
N. Emmarene (N. khasiana × N. ventricosa)
N. Gentle (N. fusca × N. maxima)
N. Judith Finn (N. veitchii × N. spathulata)
N. Miranda ((N. maxima × N. northiana) × N. maxima)
N. Mixta (N. northiana × N. maxima)
N. Ventrata (N. ventricosa × N. alata)

สถานะการอนุรักษ์
เนื่องจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลายชนิดมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์ทั้งจากเก็บออกมาขาย หรือบุกรุกป่าเพื่อที่ทำกิน ทำให้สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) บรรจุรายชื่อหม้อข้าวหม้อแกงลิงทุกชนิดลงในบัญชีอนุรักษ์ของอนุสัญญาไซเตส ในส่วนของประเทศไทยที่เป็นสมาชิกนั้น ได้กำหนดนโยบาย มาตราการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ

ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง พืชอนุรักษ์ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 มีรายละเอียดเกี่ยวกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงดังนี้

วงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิง (NEPENTHACEAE (Pitcher-plants))

พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 1
Nepenthes khasiana ( ไทย: นีเพนเธส คาเซียนา ) ( Indian pitcher plant )
Nepenthes rajah ( ไทย: นีเพนเธส ราจาห์ ) ( Kinabalu pitcher plant )
พืชอนุรักษ์บัญชีที่ 2
Nepenthes spp. ( ไทย: นีเพนเธส สปีชีส์ ) (Pitcher-plants, สกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงทุกชนิด)

โดยมีข้อบังคับไว้เกี่ยวกับพืชอนุรักษ์ดังนี้

ห้ามมิให้ผู้ใดนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านพืชอนุรักษ์และซากของพืชอนุรักษ์ เว้นแต่ได้รับหนังสืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (มาตรา 29 ตรี)
ผู้ใดประสงค์จะขยายพันธุ์เทียมพืชอนุรักษ์เพื่อการค้า ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสถานที่เพาะเลี้ยงพืชอนุรักษ์ต่อกรมวิชาการเกษตร (มาตรา 29 จัตวา)

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...