วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553

ว่านนกคุ้ม

ชื่อวิทยาศาสตร์
Eurycle ambeinensis (Loud)

วงศ์
AMARYLLIDACEAE

ลักษณะทั่วไป
ว่านนกคุ้มเป็นว่านที่มีหัวอยู่ใต้ดิน ลักษณะหัวว่านคล้ายหัวว่านกระชายดำ หัวเป็นแง่งกลมๆ ติดกันเป็นพืด ใบแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน หน้าใบมีลาย คล้ายปีกนก ก้านใบยาวประมาณ 15-20 ซม. ก้านใบแข็ง และมีร่องก้านใบรูปใบค่อนข้างกลม ปลายใบมนแหลมเล็กน้อย โคนใบมนเว้าเข้าหาก้านใบ ซึ่งว่านนี้จะมีความสวยงามอยู่ที่ใบ ดอกมีสีขาวปนม่วงเล็กน้อย ลักษณะของดอกเป็นสามเหลี่ยม
การปลูก
ปลูกในดินร่วนปนทรายหยาบ ควรปลูกในกระถางปากกว้างหรือกระถางปากบานทรงเตี้ยให้กระถางมีขนาดใหญ่พอสมควร เพื่อให้การเจริญเติบโตและการแตกหน่อของหัวว่านเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และได้ปริมาณมาก ควรรดน้ำให้ชุ่มทั้งเช้าและเย็นทุกวัน แต่อย่ารดให้ถึงกับโชกเกินไปจะทำให้หัวว่านเน่าได้ง่าย ให้จัดวางกระถางว่านไว้ในที่ร่มรำไร อย่าให้โดดแดดจัดจะทำให้ขอบใบไหม้ และอาจเฉาตายได้

การขยายพันธุ์
โดยการแยกหน่อ

ความเป็นมงคล
เชื่อกันว่าถ้าปลูกว่านนกคุ้มไว้ในบริเวณบ้าน จะให้คุณในทางป้องกันอันตรายต่างๆ โดยเฉพาะป้องกันอัคคีภัยได้เป็นอย่างดี


จากเว็บ http://www.panmai.com

ว่านไชยมงคล

ชื่อวิทยาศาสตร์ Crinum spp.

วงศ์ AMARYLLEDACEAE

ชื่ออื่นๆ ศรีกันไชย เศรษฐีสอด

ลักษณะทั่วไป
เป็นว่านมีหัวเหมือนหอมหัวใหญ่ มีลำต้นซึ่งประกอบด้วยกาบก้านใบเรียวซ้อนกันหลายกานลำต้นสีขาว ใบเหมือนใบพลับพลึง แต่มีขนาดแคบกว่า พื้นใบสีเขียว ปลายใบมักมัดสอดอยู่อีกปลายใบหนึ่งต่อเนื่องกันไป ดอกสีขาวเหมือนดอกพลับพลึง

การปลูก
ควรปลูกด้วยดินร่วนปนทรายชอบน้ำ แต่อย่าให้แฉะ ควรจัดวางกระถางว่านไว้ในที่ร่ม หรือให้ถูกแสงแดดเพียงรำไร รดเช้าเย็น

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการใช้หัว

ความเป็นมงคล
เป็นว่านทรงอำนาจช่วยคุ้มครองป้องกันภัยให้กับผู้ปลูกเลี้ยงจนตลอดบริเวณบ้านเรือน หัวมีสรรพคุณเป็นยาใช้กินหรือตำพอกแผลถอนพิษแมลงสัตว์กันต่อยได้ดี

จากเว็บ http://www.panmai.com



วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

ว่านมหาโชค

ชื่อวิทยาศาสตร์
Eucharis spp.

วงศ์
AMARYLLIDACEAE

ลักษณะทั่วไป
ว่านมหาโชคมีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน ภายในหัวจะเป็นกลีบเรียงตัวซ้อนกันอยู่ คล้ายหัวหอมใหญ่ ส่วนที่โผล่พ้นผิวดินจะเป็นกาบใบ ใบ และดอกเท่านั้น ใบลักษณะคล้ายใบพาย ปลายใบแหลม โคนใบค่อยๆ สอบเข้าหาก้านใบ พื้นใบสีเขียวเป็นมัน มีเส้นเรียงเป็นแถวตามแนวยาวของใบเล็กน้อย ก้านดอกเป็นทรงกรวยยาวประมาณ 30-40 ซม. ตรงปลายก้านแยกออกเป็น 5–7 ก้าน มีดอกสีขาวปลายก้าน มีกลีบเรียงซ้อนๆ กันเป็นทรงกลม 6 กลีบ มีเกสรกลางดอกเป็นสีเหลืองอ่อน และยังมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ด้วย



การปลูก
ควรปลูกในดินปนทราย รดน้ำแต่ปานกลางพอให้ดินชุ่ม และให้ได้รับแสงแดดรำไร
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อไปปลูก

ความเป็นมงคล
เชื่อกันว่าหากเลี้ยงว่านให้เจริญงอกงามดี ผู้เลี้ยงจะมีโชคลาภในทุกๆ ทาง ไม่ว่าจะเป็นวรรณะ พละกำลัง อนามัยที่สมบูรณ์ และความสุข


จากเว็บ http://www.panmai.com


ว่านสี่ทิศ

ชื่อวิทยาศาสตร์
Hippeastrum johnsonii.

วงศ์
AMARYLLIDACEAE

ชื่อสามัญ
Wan-See-Til

ลักษณะทั่วไป
ว่านสี่ทิศเป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์พลับพลึง มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีลักษณะคล้ายกับหอมหัวใหญ่ ส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินเป็นส่วนของก้านใบ และตัวใบเท่านั้น ลักษณะของใบเป็นสีเขียว รูปหอกยาวเรียว ปลายมน ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 3-5 ซม. และยาวประมาณ 25–30 ซม. ก้านดอกจะแทงสูงขึ้นจากกอ มีความประมาณ 25-30 ซม. ดอกออกตรงปลายก้านดอก มีสีชมพูตรงปลายดอก ดอกแยกออกเป็น 6 กลีบ เมื่อบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 6-8 ซม. และจะทยอยกันบานทีละ 4 ดอก จึงนิยมเรียกกันว่า “ว่านสี่ทิศ”

การปลูก
ควรปลูกในดินปนทราย ให้น้ำ และความชื้นปานกลาง ว่านสี่ทิศเป็นพันธุ์ไม้ที่ชอบแสงแดดมาก จึงควรต้องปลูกในที่แจ้ง จึงจะเจริญเติบโตและมีดอกได้ดี

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยแยกหน่อ หรือแยกหัวไปปลูกใหม่

ความเป็นมงคล
เชื่อกันว่าถ้าเลี้ยงว่านสี่ทิศให้ออกดอกพร้อมกันได้ทั้งสี่ดอกหรือสี่ทิศผู้เลี้ยงจะมีโชคลาภ และหากว่าในช่วงที่ว่านสี่ทิศกำลังออกดอกทั้งสี่อยู่นั้น ผู้เลี้ยงคิดจะทำอะไร ก็จะประสบความสำเร็จทุกประการ แต่ถ้าหากว่า ว่านสี่ทิศออกดอกไม่ครบทั้งสี่ดอก หรือออกดอกแค่ 2 หรือ 3 ดอก ก็จะไม่เป็นผลดีแก่ผู้เลี้ยงเหมือนเป็นลางบอกเหตุว่าจะมีสิ่งไม่ดีเกิดแก่ผู้เลี้ยง

จากเว็บ http://www.panmai.com


วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

ว่านนางล้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์
Anamirta cocculus

วงศ์
MENISPERMACEAE

ลักษณะทั่วไป
เป็นว่านที่มีลำต้นอยู่ใต้ดิน ในหนึ่งกอจะมีหัวใหญ่อยู่ 1 หัว อยู่ตรงกลางกอ มีหัวเล็กๆ ซึ่งเกิดทีหลังเรียงรายอยู่รอบๆ หัวใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นสีเขียว กลมเรียวเป็นมัน ใบแตกตรงส่วนยอดของหัวว่าน ใบคล้ายใบกุยช่ายพื้นใบสีเขียว ใบแคบเล็ก ยาว ขอบใบทั้งสองข้างใบจะเป็นเส้นขนานปลายใบแหลม ผิวและขอบใบเรียบ ไม่มีจัก ไม่มีก้านใบ

การปลูก
ให้ปลูกในดินร่วนปนทราย ที่ระบายน้ำได้ดี และควรปลูกใส่กระถางปากกว้าง ทรงเตี้ย แล้วจัดวางกระถางว่านไว้ในที่ร่มรำไร อย่าให้โดดแดดจัด รดน้ำเฉพาะตอนเช้า เพียงวันละหนึ่งครั้งก็พอ รดน้ำให้ชุ่ม แต่อย่าให้แฉะ เพราะจะทำให้หัวว่านเน่าได้
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการแยกหัว
ความเป็นมงคล
ว่านนางล้อมเป็นว่านมหามงคล ปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จะช่วยป้องกันคุ้มครองบ้านเรือนให้รอดพ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ได้ ทำให้ครอบครัวมีความอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากศัตรูหรืออมิตรทั้งหลาย

จากเว็บ http://www.panmai.com

ว่านกวักแม่ทองใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์
Hymenocallis spp.

วงศ์
AMARYLLIDACEAE

ลักษณะทั่วไป
ว่านกวักแม่ทองใบ เป็นว่านที่มีหัวอยู่ใต้ดิน มีลักษณะกลมคล้ายหอมหัวใหญ่ ผิวนอกของหัวมีสีเขียวอ่อน เนื้อในหัวสีขาว มองดูเผินๆ จะเหมือนกับต้นพลับพลึง แต่ไม่ใช่เพราะไม่มีลำต้นเหนือดินอย่างพลับพลึง มีก้านใบแตกออกจากหัว โคนของก้านใบเป็นกาบสั้นๆ ก้านใบด้านบนแบนแต่ด้านหลังนูน กลางใบมีร่องสีเขียวเข้ม ใบยาวประมาณ 25-30 ซม. หน้าใบเป็นเส้นอย่างเห็นได้ชัด มีความหนาพอประมาณ แตกใบออกเป็น 2 ข้างสลับกันข้างละใบ เป็นใบรูปหอก ปลายใบมนแหลม โคนค่อยๆ สอบเข้าหาก้านใบ ดอกสีขาว เหมือนดอกพลับพลึง มีเกสรสีเหลือง กลิ่นหอม มีก้านช่อดอกยาว ออกดอกเป็นกลุ่ม กลุ่มละหลายดอก มีกลีบดอกขนาดเล็กสีขาวโคนกลีบดอกมีพังผืดสีขาวเชื่อมระหว่างกลีบดอก

การปลูก
ควรปลูกในดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี กลบดินแค่ครึ่งหนึ่งของหัวว่าน อย่ากดดินให้แน่นนัก และให้รดน้ำทุกเช้า-เย็น ระวังอย่าให้น้ำขังเพราะจะทำให้หัวว่านเน่าได้

การขยายพันธุ์
โดยการแยกหัว

ความเป็นมงคล
เป็นว่านมหานิยม เหมาะที่จะปลูกไว้หน้าบ้านหรือร้านค้าขาย ดูแล้วสวยงาม จึงดึงดูดให้ผู้พบเห็นเกิดความสนใจ เรียกโชคลาภเข้าร้านเข้าบ้านไม่ขาด

จากเวบ http://www.panmai.com



วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

ว่านรางนาก

ชื่อวิทยาศาสตร์
Hippeastrum spp.

วงศ์
AMARYLLEDACEAE

ลักษณะทั่วไป
ว่านรางนากเป็นหัวกลมคล้ายหอมหัวใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน ใบจะงอกจากหัว ลักษณะใบหนาและแข็ง โคนใบจะเป็นกาบในรูปหอก ปลายใบแหลมมน ขอบใบเรียบ ไม่มีจัก ใบสีเขียวเข้ม หน้าใบมีร่องกลางใบเป็นสีขาวลากยาวตลอดใบ โคนใบด้านหลังเป็นสีแดง หรือแดงปนม่วง ดอกลักษณะเดียวกับว่านสี่ทิศ มีสีชมพูแสด โดยก้านดอกจะมีสีเขียวนวลยาวสูงพ้นใบ ดอกเป็นรูปกรวย ปลายดอกแยกออกเป็น 6 กลีบ ช่อหนึ่งจะมีดอก 2–4 ดอก

การปลูก
ว่านรางนากชอบดินร่วนปนทราย ควรมีอิฐทุบละเอียดผสมผงถ่าน หรือใบไม้ผุ เวลาปลูกให้หัวว่านโผล่พ้นดินเล็กน้อย รดน้ำปานกลางเช้า–เย็น ควรอยู่ที่แดดร่มรำไร ปลูกในกระถางทรงเตี้ยจะงามยิ่งนัก

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการใช้หัว

ความเป็นมงคล
เชื่อว่าว่านรางนากเป็นว่านเมตตามหานิยม หากปลูกในร้านค้าจะทำให้มีลูกค้าเข้าร้านมากขึ้น

จากเว็บ http://www.panmai.com


ว่านมหากาฬ

ว่านมหากาฬ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynura pseudochina (L.) DC.
var. pseudochina
ชื่อวงศ์ : Compositae

ชื่อพื้นเมือง : ผักกาดกบ หนาดแห้ง ผักกาดดง คำโคก
ผักกาดดิน ผักกาดนกเขา

ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้หัว

ขนาด [Size] : สูง <>

สีดอก [Flower Color] : สีเหลือง

อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : ปานกลาง

ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นได้ในดินทั่วไป

ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง

แสง [Light] : แดดเต็มวัน Additional Images

ลักษณะทั่วไป
ว่านมหากาฬเป็นพันธุ์ไม้เลื้อย มีหัวอยู่ใต้ดิน เนื้อของหัวเป็นสีขาว ใบมีลักษณะคล้ายใบผักกาด ใบหนาและแข็ง พื้นใบสีเขียวอ่อน มีลายสีม่วงซีดๆ บนใบ ใบอ่อนจะเป็นสีม่วงแก่ ตามแขนงใบเป็นสีขาว ก้านใบเมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีขาว ดอกมีลักษณะเป็นฝอยก้านดอกยาว มีสีเหลือง คล้ายดอกดาวเรืองแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก

ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับรอบต้น ใบรูปรียาวถึงรูปไข่แกมรูปใบหอก กว้าง 2.5-8 เซนติเมตร ยาว 6-30 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยักหรือเว้าเป็นพูตื้นๆ แผ่นใบหนา ผิวใบด้านบน สีเขียวเข้มปนสีน้ำตาลอมม่วง เส้นใบเป็นสีเขียวอ่อนตัดกับสีพื้นใบ มีขนสั้นปกคลุมทั่วใบ ผิวใบด้านล่างสีเขียว แกมเทา

ดอก (Flower) : สีเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นจากต้น ก้านช่อดอกยาว

ผล (Fruit) : ผลแห้ง เมล็ดล่อน ปลายมีขน

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ปลูกลงแปลงประดับสวน คลุมดิน ใบมีลวดลายสวยงาม ปลูกริม น้ำตก ลำธาร



การปลูก
ควรปลูกในดินปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี รดน้ำแต่พอดินชุ่มเท่านั้น เพราะว่านมหากาฬไม่ชอบดินแฉะซึ่งจะทำให้ใบเน่าได้ง่าย ควรให้ได้รับแสงแดดปานกลาง



การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ



ความเป็นมงคล
เชื่อกันว่าเป็นว่านที่มีอำนาจ หากปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้าน นอกจากสามารถป้องกันอันตรายทั้งปวงได้แล้ว ยังทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีอำนาจบารมีเป็นที่เกรงขามของคนทั่วไป




วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553

โมกราชินี

ชื่อพื้นเมือง : โมกราชินี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia sp.

ชื่อวงศ์ : APOYNACEAE

ลักษณะวิสัย : ไม้พุ่ม

ลักษณะพิเศษของพืช : ดอกสีขาว รูปร่างคล้ายดอกโมกป่า

ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้มงคล

โมกราชินี พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกค้นพบโดยศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำรวจและจำแนกพรรณไม้ กรมป่าไม้ ในระหว่างโครงการสำรวจพรรณพฤกษชาติภูเขาหินปูน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและตรวจสอบตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงในหอพรรณไม้ต่างประเทศที่เกี่ยวข้องหลายประเทศ ยังไม่เคยปรากฏชื่อหรือรายงานลักษณะรูปพรรณของพรรณไม้ชนิดนี้มาก่อน และ Dr. D.J. Middleton ผู้เชี่ยวชาญพรรณไม้วงศ์ APOCYNACEAE ของโลกแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์-วาร์ดประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันและสนับสนุนการยกรูปพรรณไม้สกุลโมกมัน ( Wrightia ) นี้เป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก การค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่นี้มีความสำคัญยิ่งต่อวงการพฤษศาสตร์ เนื่องจากในปัจจุบันโอกาสค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกในวง APOCYNACEAE มีน้อยมาก โดยเฉพาะประเภทไม้ต้น พรรณไม้ใหม่นี้เป็นชนิดที่มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ มีลักษณะดอกที่สวยงาม จัดเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียว ( Endemic species ) พบเฉพาะในประเทศไทย มีสถานภาพเป็นพรรณไม้ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ชนิดหนึ่งของโลก ( Rare and endangered species ) สมควรที่จะอนุรักษ์และนำมาปลูกขยายพันธุ์ต่อไป กรมป่าไม้จึงขอพระราชทานพระราชานุญาตให้ชื่อพรรณไม้ชนิดใหม่ของสกุล Wrightia ตามพระนามของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ว่า " Wrightia sirikitiae Middleton & Santisuk " เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบรมราชินีนาถ จากการที่ได้ทรงสนับสนุนและทรงริเริ่มโครงการต่าง ๆ ด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยอย่างจริงจังและต่อเนื่องและเพื่อเป็นสิริมงคลในวงการ พฤกษศาสตร์ของประเทศไทย




หนามเกี่ยวไก่

ชื่อท้องถิ่น: หนามเกี่ยวไก่

ชื่อพฤกษศาสตร์: Capparis echinocarpa Pierre ex Gagnep

ตระกูล(วงศ์): CAPPARACEAE

ลักษณะพืช ไม้พุ่มเตี้ย สูง 0.5 ถึง 2 เมตร กิ่งอ่อนค่อนข้างซิกแซก กลม สีเขียวแกมเทา มีกิ่งแขนง เล็กน้อย กิ่งแก่มีแขนงมากขึ้น กิ่งมีขนปกคลุมเล็กน้อย ต้นแก่สีเทาแกมเหลือง ลำต้นมีหนาม stipule spine ข้อละ 2 อัน หนามโค้งกลับ ยาว 2-4 มม.

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบสลับ ใบรูปไข่กลับ รูปไข่ หรือรูปรี ฐานใบมน ปลายใบแหลมหรือมน ขอบ ใบเรียบ ผิวใบเรียบ ใบกว้าง 1.5-4.0 ซม. ยาว 2-7 ซม. ก้านใบยาว 3-4 มม. ก้านใบอ่อน มีขนปกคลุมเล็กน้อย สีใบ เขียวแกมเหลือง

ดอก ดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ ก้านดอกยาว 1-3 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบาน 1.5-2.5 ซม. กลีบเลี้ยง 4 กลีบ สีเขียว โคนติดกันปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบกว้าง 2-4 มม. ยาว 4-5 มม. กลีบมีขนเล็กๆปกคลุม กลีบดอก 4 กลีบ สีขาว กลีบกว้าง 2-3 มม. ยาว 5-9 มม. 2 กลีบบนแยกกัน 2 กลีบล่างติดกันเป็นกลีบเดียวปลายเว้าเป็น 2 พูลึก เกินครึ่งความยาวกลีบ ตอนกลาง กลีบเป็นสีขาวหรือน้ำตาล กลีบรูปขอบขนานหรือรูปไข่กลับปลายมน มีขนเล็กๆ ที่ขอบกลีบ เกสรเพศผู้ 8-10 อัน แยกกัน ก้านชูอับเรณูยาว 2-3 ซม. อับเรณูสีเขียว เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary มีก้านชูรังไข่(gynophore) ยาว 1.5-2.5 ซม. ก้านชูรังไข่มีขนเล็กๆ ก้านเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสร เป็นตุ่ม รังไข่รูปกลมหรือรี 1 ห้อง ออวุลจำนวนมาก

ผลและเมล็ด ผลสดแบบ berry รูปกลมหรือรี เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 1-2 ซม. ผลแก่สีเหลือง

สรรพคุณ ทั้งต้น รสเฝื่อน ต้มน้ำดื่ม ขับน้ำเหลืองเสีย ขับพิษเลือดขับพิษน้ำเหลือง บำรุงร่างกาย แก้โรคผิวหนัง



วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

เกล็ดลิ่นใหญ่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllodium pulchellum (L.) Desv.

วงศ์ : Leguminosae-caecalpinodeae

ชื่ออื่น : เกล็ดปลาช่อน (สระบุรี); เกล็ดลิ่นใหญ่(นครราชสีมา); ลิ่นต้น, หญ้าสองปล้อง (ภาคกลาง);ลูกหนีบต้น (ปราจีนบุรี);หญ้าเกล็ดลิ่น (ภาคเหนือ,ภาคใต้); หางลิ่น (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้พุ่ม(shrub)ขนาดเล็ก อายุหลายปี ปลายยอดค่อนข้างตั้ง ต้นสูง 102.19-113.57 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 32.4 – 37.2 มิลลิเมตร ลำต้นสีน้ำตาลแดงมีขนปกคลุมปานกลาง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ มี ใบย่อย3 ใบย่อยและมีก้านใบ(pinnately-trifoliate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่แกมใบหอก(ovate lanceolate) โคนค่อนข้างกลม แผ่นกลางใบกว้างโค้งไปปลายใบ ปลายใบค่อนข้างมน(obtuse) ใบกลางยาว 9.9-13.1 เซนติเมตร กว้าง 4.3-7.3 เซนติเมตร ใบย่อยข้างขอบใบล่างโค้งเบี้ยวเล็กน้อย ใบข้างยาว 5.51-8.67 เซนติเมตร กว้าง 2.47-5.09 เซนติเมตร ซอกใบมีกิ่งใบย่อยเกิดซ้อน ใบสีเขียวเข้ม หน้าใบและหลังใบมีขนสั้นๆปริมาณปานกลาง ขอบใบเรียบมีสีน้ำตาลแดง ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย หน้าใบมีผิวมัน นูนขึ้นเล็กน้อยและย่น(rugose) หลังใบผิวค่อนข้างสาก ซึ่งแตกต่างจากต้นเกล็ดปลาหมอ(Phyllodium elegan)ที่มีผิวใบนุ่ม มีขนละเอียดปกคลุมหนาแน่นทั้งหน้าใบและหลังใบ มีปลายใบสอบเรียว ขอบใบสีน้ำตาลเหลือง ต้นเกล็ดปลาช่อนมีก้านใบสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียดปกคลุมมาก ก้านใบยาว 0.88-1.02 เซนติเมตร หูใบค่อนข้างแข็งเรียวแบบหนาม(spinous) ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม ดอกออกตามซอกใบและปลายยอด ความยาวช่อดอกรวม 9.13-13.93 เซนติเมตร ลักษณะดอกออกเป็นกระจุกมีใบประดับลักษณะคล้ายเกล็ดปลาประกบไว้สองใบ ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว กลีบดอกสี เหลืองนวล อับเรณู(anther)สีเหลือง ในแต่ละช่อมี 21-36 ช่อดอกย่อย รูปฝักแบนคอดเป็นข้อๆ ฝักแก่สีดำอมน้ำตาล มีขนปกคลุม ฝักยาว 0.88-1.06 เซนติเมตร กว้าง 0.27-0.41 เซนติเมตร มี 1-3 ข้อ มี 2-5 ฝักต่อช่อ

ประโยชน์ : เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติของ โค กระบือ สำหรับแทะเล็ม

ขาไก่

วงศ์ Polypodiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pyrrosia stigmosa (Sw.) Ching

ชื่อท้องถิ่น ขาไก่ (กลาง) ลิ้นผีไม้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อยสั้น ขนาดเหง้า เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้มถึงดำ ปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น มีเกล็ดปกคลุมบริเวณปลายเหง้า เกล็ดรูปไข่ปลายเป็นหางยาว ขนาดเกล็ด ที่โคน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 มิลลิเมตร ยาว 6 มิลลิเมตร บริเวณกลางเกล็ดสีเกือบดำ ขอบเกล็ดและหางสีน้ำตาลเข้ม ยาว 6-7 มิลลิเมตร กว้าง 0.4-1.2 มิลลิเมตร โคนตัด ขอบเรียบ ปลายเรียวแหลม ยาวคล้ายหาง ก้านใบ กลม ผิวเกลี้ยง สีเขียว แต่มักเห็นเป็นสีน้ำตาล เนื่องจากมีขนปกคลุมแน่น บริเวณโคนก้านมีเกล็ด ปกคลุมแน่น เกล็ดรูปร่างแบบที่เหง้า และตลอดความยาวก้านมีขนปกคลุมแน่น ขนสีน้ำตาล ทำให้ดูก้านเป็นสีน้ำตาล ก้านใบยาว 8-20 เซนติเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร สีน้ำตาลแกมแดง มีรอยต่อกับลำต้น มีขนรูปดาวสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่นทั่วก้านใบ มีร่องด้านบน ใบรูปหอกหรือขอบขนาน ยาว 28-35 เซนติเมตร กว้าง 3.5-5 เซนติเมตร โคนรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม เนื้อใบหนาคล้ายหนัง ผิวใบด้านบนค่อนข้างเกลี้ยงเป็นมัน สีเขียวเข้ม มีรูหยาดน้ำกระจายทั่วแผ่นใบ เส้นกลางใบและเส้นใบด้านล่างนูนเป็นสันชัดเจน ด้านบนเป็นร่อง เส้นใบร่างแหไม่ชัดเจน กลุ่มอับสปอร์ รูปกลม ขนาดเล็ก กลุ่มอับสปอร์เกิดกระจายเฉพาะบริเวณครึ่งบนของแผ่นใบ หรือกระจายตั้งแต่ปลายใบถึงโคนใบ
(ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

กูดเมอ

วงศ์ Thelypteridaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thelypteris immersa (Blume) Ching.

ชื่อท้องถิ่น กูดเมอ (ชื่อเรียกทั่วไป)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นสั้น ตั้งตรง เกล็ดแบบเซลล์ผนังหนา รูปแถบ ยาว 7-8 มิลลิเมตร กว้าง 0.5-0.6 มิลลิเมตร โคนตัด ขอบมีขน ปลายเรียวยาวแหลม สีน้ำตาล ก้านใบยาว 75-80 เซนติเมตร กว้าง 0.7-1 เซนติเมตร สีฟางข้าว เกล็ดหนาแน่นบริเวณโคนก้าน ใบเป็นใบหยักแบบขนนกสองชั้น รูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.2 เมตร กว้าง 65-70 เซนติเมตร แกนกลางด้านล่างเกลี้ยง ด้านบนมีขนยาวสีเหลืองอ่อนหนาแน่น ใบย่อยเรียงสลับหรือกึ่งตรงข้าม 25-30 คู่ ใบย่อยรูปแถบ ยาว 25-35 เซนติเมตร กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร ไม่มีก้านใบย่อย โคนตัด ปลายเรียวแหลม ขอบหยักเป็นแฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ แฉกเฉียงรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 15 มิลลิเมตร กว้าง 3-5 มิลลิเมตรขอบเรียบมีขนปลายมนกึ่งแหลมเนื้อใบบางอ่อนนุ่มสีเขียวอ่อนเส้นใบแบบขนนกปลายอิสระต่อมสีเหลืองปกคลุมตามแนวเส้นใบด้านล่าง เส้นกลางใบ มีขนยาวหนาแน่น เส้นกลางใบย่อย และเส้นใบมีขนสีเหลืองอ่อนประปราย กลุ่มอับสปอร์กลม เกิดบริเวณกึ่งกลางบนเส้นใบย่อย เรียงเป็นระเบียบขนานกับเส้นกลางใบย่อย ข้างละ 1 แถว เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์กลม เกลี้ยง (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

ชายผ้าสีดา

วงศ์ Polypodiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Platycerium wallichii Hook.

ชื่อท้องถิ่น ห่อข้าวสีดา ห่อข้าวย่าบา ตองห่อข้าวย่าบา หัวเฒ่าอีบา กระฌอโพน่า
กระปรอกหัวหมู กระปรอกใหญ่ ปีกผีเสื้อ (กทม.)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นแบบเหง้าเป็นแท่งเลื้อยสั้น เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ปกคลุมแน่นด้วยเกล็ดแข็ง เกล็ดเป็นเส้นยาว สีน้ำตาลเข้ม ยาว 1 เซนติเมตร กว้าง 0.4 เซนติเมตร บริเวณกลางเกล็ดสีอ่อน ทั่วทั้งต้นมีขนนุ่มสั้นทั่วไป ขนสีขาวนวล ใบหนานุ่มมือ เส้นใบปูดนูน มองเห็นได้ชัดเจน ใบกาบชูตั้งขึ้นเป็นตะกร้า หรือมงกุฏ มีขนาด 40 เซนติเมตร ทั้งด้านตั้งและด้านข้าง มีขนาดเท่ากัน ใบกาบตั้งขึ้นและปลายขอบเป็นแฉกลึก เกือบถึงครึ่งของขนาดใบ แตกแฉกเป็นคู่มากกว่า 1 ครั้ง ปลายแฉกมนกลมถึงแหลม มองเห็นเส้นใบปูดนูนทั้งสองด้านของใบในต้นที่โตเต็มที่ เส้นใบหลักแตกสาขาเป็นกิ่งคู่ เส้นใบรองเป็นร่างแห ใบส่วนบนเนื้อใบบาง ใบส่วนล่างหนาได้มากกว่า 1 เซนติเมตร ใบกาบเจริญออกมาทีละ 1 คู่ ใบชายผ้าเจริญออกมาเป็นคู่เช่นเดียวกัน ใบชายผ้าห้อยลง มีความยาวได้ถึง 50 เซนติเมตร ในต้นใหญ่อายุมาก ใบชายผ้าช่วงโคนออกมาเป็นแผ่นแผ่กว้าง ปลายใบแผ่สยายเป็นแฉกริ้วห้อยลง แตกเป็นแฉกหลัก 3 ชุด แต่ละชุดแตกเป็นแฉกกิ่งสาขาเป็นคู่ๆ ได้หลายครั้ง ปลายแฉกแคบ ขอบเรียบ เส้นใบหลักแตกกิ่งสาขาเป็นคู่ ปูดนูนบนผิวใบด้านหน้า ส่วนเส้นใบย่อยเล็กไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจนนัก ใบเป็นแผ่นหนา ปกคลุมแน่นด้วยขนรูปดาว กลุ่มอับสปอร์ เป็นแผ่นกลมนูนติดอยู่ที่ใต้ใบชายผ้า บริเวณส่วนเว้า ปลายใบ มี 2 กลุ่มบนแต่ละใบชายผ้า มีเยื่อ paraphyses รูปดาวปกคลุม สปอร์แก่มีสีเขียวอมน้ำตาล หรือสีเขียวขี้ม้า (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ เป็นไม้ประดับหายากแล้ว ใช้ใบชายผ้าของห่อข้าวสีดาต้มน้ำดื่มลดไข้ และแก้อ่อนเพลียของสตรีอยู่ไฟหลังคลอด

วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

เฟิร์นราชินี

วงศ์ Pakeriaceae

ชื่อวิทยาศาตร์ Dryopteris ludens Wall. ex Hook.

ชื่อท้องถิ่น กูดฮู้กวาว (เหนือ) เฟิร์นราชินี (กรุงเทพฯ) กะปรอกว่าว (ชลบุรี) แพน
ตาโก (สงขลา, นครศรีธรรมราช)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นยาว ทอดนอน เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 มิลลิเมตร ปกคลุมด้วยเกล็ด รูปขอบขนาน บริเวณกลางสีน้ำตาลเข้ม บริเวณขอบสีน้ำตาลอ่อนถึงสีเหลือง ยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร กว้าง 0.8-0.9 มิลลิเมตร โคนมน ขอบเรียบ ปลายเรียวแหลม ใบเป็นใบเดี่ยว ใบไม่สร้างสปอร์ มีก้านใบกลม ยาว 30-32 เซนติเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร สีม่วงดำเป็นมันวาว ขนปกคลุมหนาแน่นทั่วก้าน บริเวณโคนปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น ใบรูปหอกถึงรูปสามเหลี่ยม ยาว 15-16 เซนติเมตร กว้าง 13-15 เซนติเมตร โคนรูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบหยักแบบนิ้วมือ 3-5 แฉก แฉกหยักลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ แฉกแรกนับจากโคนใบมีขนาดใหญ่ที่สุด และมีแฉกย่อยที่โคนด้านล่าง แต่ละแฉกรูปหอกถึงขอบขนาน ยาว 8-10 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร ปลายแฉกเรียวแหลม เนื้อใบคล้ายกระดาษถึงหนาคล้ายหนัง เส้นกลางใบบนและเส้นกลางใบด้านล่างนูนเป็นสัน สีม่วงดำ และเป็นร่องด้านบน เส้นใบร่างแห ไม่มีเส้นใบย่อยในช่องร่างแห ใบสร้างสปอร์มีก้านใบยาว 50-55 เซนติเมตร ซึ่งยาวกว่าใบไม่สร้างสปอร์ ใบรูปไข่กึ่งรูปสามเหลี่ยม ยาว 16-18 เซนติเมตร กว้าง 14-18 เซนติเมตร โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบหยักแบบขนนก 3-4 คู่แฉก แฉกลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ แฉกแรกนับจากโคนใบมีขนาดใหญ่ที่สุด มีแฉกที่โคนด้านล่าง 1-2 แฉก ปลายแฉกเรียวแหลม ยาว 8-12 เซนติเมตร กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร กลุ่มอับสปอร์ เกิดเป็นแถบยาวต่อเนื่องตามแนวยาวขอบใบ ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ แต่ใช้ขอบใบพับมาปกคลุมกลุ่มอับสปอร์ (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกระถาง

กูดหูกวาง

วงศ์ Dryopteridaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectaria impressa (Fee’) Holtt.

ชื่อพื้นเมือง กูดซาง กูดกวาง กูดหก (เหนือ) กูดเกียว (เพชรบูรณ์) กูดฮ่มค่า
(ลำปาง) โชนป่า (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นสั้น ทอดนอน เกล็ดรูปแถบ ยาว 6-7 มิลลิเมตร กว้าง 0.7-0.8 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้มถึงดำ โคนตัด ขอบเรียบ ปลายแหลมยาว ใบมีภาวะทวิสัณฐาน ใบไม่สร้างสปอร์ มีก้านใบยาว 35-45 เซนติเมตร กว้าง 1-2 มิลลิเมตร เกล็ดหนาแน่นที่โคนก้าน ใบหยักแบบขนนกสามชั้นที่โคนใบ ใบรูปห้าเหลี่ยม ยาว 35-40 เซนติเมตร กว้าง 28-30 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงกึ่งตรงข้าม 3-4 คู่ ใบย่อยคู่แรกรูปสามเหลี่ยมไม่สมมาตร ยาว 12-15 เซนติเมตร กว้าง 13-15 เซนติเมตร ก้านยาว 1.5-2 เซนติเมตร ขอบใบย่อยหยักเป็นแฉกปลายมน แฉกหรือใบย่อยชั้นที่สองด้านล่างยาวกว่าด้านปลาย ใบย่อยชั้นที่สองหรือสามคู่แรกด้านล่าง รูปหอกยาว 10-11 เซนติเมตร กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ปลายใบย่อยชั้นที่สองเรียวแหลม ขอบหยัก ใบย่อยบริเวณกึ่งกลางใบก้านสั้นถึงไร้ก้าน รูปหอก ยาว 10-15 เซนติเมตร กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร โคนมนถึงรูปหัวใจ ปลายใบย่อยเรียวแหลม ขอบหยักเป็นแฉกเฉียง ปลายมน ใบย่อยที่ปลายแกนกลางรูปไข่แกมสามเหลี่ยม ยาวประมาณ 14 เซนติเมตร กว้างประมาณ 12 เซนติเมตร โคนรูปลิ่ม ขอบหยักลึกเกือบถึงแกนกลาง แฉกรูปขอบขนานถึงรูปเคียว ปลายแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน แกนกลาง เส้นกลางใบ และเส้นกลางใบย่อยด้านล่างเกลี้ยง เส้นใบร่างแห มีเส้นใบย่อยอยู่ภายใน ใบสร้างสปอร์มีก้านใบที่ยาวกว่าและแผ่นใบขนาดเล็กและแคบกว่าใบไม่สร้างสปอร์ชัดเจน ก้านใบยาว 50-55 เซนติเมตร แผ่นใบยาว 15-20 เซนติเมตร กว้าง 15-20 เซนติเมตร กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ปลายเส้นใบย่อยในช่องร่างแห เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เกลี้ยง (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับกระถาง

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

กูดตอง

วงศ์ Thelypteridaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Thelypteris aspera (J.Presl) K.Iwats

ชื่อท้องถิ่น กูดตอง (เหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นยาว ทอดนอน เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.8-1 เซนติเมตร เกล็ดแบบเซลล์ผนังหนา รูปหอก สีน้ำตาล ยาว 5-6 มิลลิเมตร กว้าง 1-1.5 มิลลิเมตร โคนตัด ขอบเรียบ ปลายแหลม ก้านใบยาว 70-80 เซนติเมตร กว้าง 5-7 มิลลิเมตร สีฟางข้าว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกหนึ่งชั้น รูปขอบขนาน ยาว 90-100 เซนติเมตร กว้าง 60-70 เซนติเมตร ใบย่อยเรียงสลับหรือกึ่งตรงข้าม 7-8 คู่ ไม่มีก้านใบย่อย ใบย่อยรูปหอกแกมขอบขนาน ยาว 25-30 เซนติเมตร กว้าง 4-7 เซนติเมตร โคนมน ปลายเรียวแหลมยาว ขอบค่อนข้างเรียบ หรือหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบคล้ายกระดาษ สีเขียวอ่อน เมื่อทำให้แห้งสีเขียวหรือสีฟางข้าว ขนสั้นแข็งกระจายทั่วผิวใบด้านล่าง ด้านบนเกลี้ยง เส้นใบร่างแหแบบเมนีสซิออยด์ เส้นกลางใบ เส้นกลางใบย่อยและเส้นใบด้านล่างมีขนสั้นกระจายทั่ว ด้านบนเส้นกลางใบเป็นร่อง มีขนยาวปกคลุมหนาแน่น เส้นกลางใบย่อยและเส้นใบเกลี้ยง กลุ่มอับสปอร์กลม เรียงเป็น 2 แถวระหว่างเส้นกลางใบย่อย เกิดใกล้รอยเชื่อมของเส้นใบ อับสปอร์มีขนสั้นแข็ง 2-3 เส้น เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์กลม รูปไต สีเหลืองอ่อน มีขนสั้นแข็ง (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)


โหราผักกูด

วงศ์ Dennataedtiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Microlepia speluncae (L.) Moore

ชื่อพื้นเมือง กูดผี กูดยี โหราผักกูด (กลาง) โชน (ประจวบคีรีขันธ์)
เนระพูสี(ยะลา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นเลื้อย ปลายยอดเหง้าปกคลุมแน่นด้วยขน ส่วนมากผิวเปลือย เหง้าสีน้ำตาลเข้ม ขนาดใหญ่กว่า 7 มิลลิเมตร ก้านใบ สีฟางข้าว มีร่องตื้นๆ มีขนสั้นนุ่ม ใบประกอบแบบขนนกสามชั้นหรือหยักแบบขนนกสี่ชั้น แผ่นใบรูปกึ่งสามเหลี่ยม ยาว 70 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร แกนกลางใบสีฟาง หรือสีออกน้ำตาล ด้านบนเป็นร่องมีขนใบย่อยชั้นแรกเป็นใบที่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นรูปขอบขนานถึงรูปกึ่งสามเหลี่ยม โคนรูปลิ่มอย่างกว้าง ขนาดใหญ่สุดเป็นใบย่อยที่สองหรือสาม จากโคนขึ้นมา ค่อยๆ สอบแคบสู่ปลาย ปลายสุดแหลม มีใบย่อยเล็กอีกชั้นด้านข้างจำนวนมากกว่า 20 คู่ ยาว 60 เซนติเมตร กว้าง 20 เซนติเมตร เส้นกลางใบย่อย ผิวด้านบนเป็นร่องมีขน ใบย่อยส่วนบนค่อยๆ ลดขนาดลง ใบย่อยชั้นที่สอง ในใบที่มีขนาดใหญ่กว่า เป็นรูปขอบขนานแกมกึ่งสามเหลี่ยม หรือรูปขอบขนานแกมหอก ค่อยๆ สอบแคบลงสู่ปลาย โคนใบรูปลิ่มสองข้างไม่เท่ากัน ยาว 15 เซนติเมตร กว้าง 3 เซนติเมตร มีก้านใบย่อยชัดเจน ใบย่อยชั้นเล็กสุด ขอบหยักลึกเหมือนใบประกอบย่อยลงไปอีกชั้น ส่วนของหยัก เป็นรูปขอบขนานแกมกึ่งสีเหลี่ยม ปลายสุดมนกลมถึงแหลม โคนรูปลิ่มสองข้างไม่เท่ากัน ขนาดทั่วไป ยาว 1.5-2 เซนติเมตร กว้าง 0.6-0.8 เซนติเมตร ปลายสุดของส่วนหยักรูปมนกลมหรือรูปใบพาย และปลายสุดของใบย่อยรูปมนถึงแหลม ขอบเรียบ หรือเป็นคลื่นในส่วนหยักที่ใหญ่กว่า ทั้งใบ เนื้อใบบาง อ่อนนุ่ม ด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวอ่อนกว่า มีขนบนแกนและผิวใบ เส้นใบแยกสาขาแบบขนนก 1-2 ชั้น เห็นไม่ชัดทั้งด้านบนและล่าง กลุ่มสปอร์ ขนาดเล็ก เกิดที่ส่วนหยักของขอบใบย่อย มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์รูปถ้วย มีขน (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)


วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

ผักปีกไก่

วงศ์ Polypodiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Pyrrosia adnascens (Sw.) Ching.

ชื่อท้องถิ่น ผักปีกไก่ (เชียงราย) เฟิร์นงูเขียว (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น เหง้า เลื้อยยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง 1- 2 มิลลิเมตร ปกคลุมด้วยเกล็ดหนาแน่น เกล็ดรูปหอก ตรงกลางสีน้ำตาลเข้ม ริมขอบสีน้ำตาลอ่อน ยาว 3 มิลลิเมตร กว้าง 0.6 มิลลิเมตร โคนมน ขอบมีขนยาว ปลายแหลม ใบมีภาวะทวิสัณฐาน ใบไม่สร้าง สปอร์ มีก้านใบยาว 1 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม มีร่องด้านบน เกล็ดปกคลุมหนาแน่นบริเวณโคนก้าน ใบรูปขอบขนาน หรือรูปหอก ยาว 6 เซนติเมตร กว้าง 1.7 บางครั้ง ยาว 15 เซนติเมตร กว้าง 1.8 เซนติเมตร โคนรูปลิ่ม ขอบเรียบ ปลายมน เนื้อใบอวบหนาคล้ายหนัง สีเขียวอ่อน เส้นกลางใบด้านล่างนูนชัดเจน ด้านบนเป็นร่อง เส้นใบร่างแหไม่ชัดเจน ใบสร้างสปอร์มีขนาดยาวกว่า ก้านใบยาว 20 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตร สีน้ำตาลเข้ม มีร่องด้านบน เกล็ดปกคลุมหนาแน่นบริเวณโคนก้าน มีขนรูปดาวปกคลุมทั่วก้านใบ ใบรูปขอบขนาน หรือรูปแถบ โคนสอบแคบ ขอบเรียบ ปลายแหลมหรือมน เนื้อใบอวบหนาคล้ายหนัง สีเขียวอ่อน ขนรูปดาวมีประปรายบริเวณเส้นกลางใบและหลังใบ เส้นกลางใบด้านล่างนูนชัดเจน ด้านบนเป็นร่อง เส้นใบร่างแหไม่ชัดเจน กลุ่มอับสปอร์เกิดปลายใบและกระจายหนาแน่นตามขอบใบ ยกเว้นเส้นกลางใบ ไม่มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์ กลุ่มอับสปอร์อยู่ใกล้กัน เมื่อยังอ่อนมีขนรูปดาวปกคลุมหนาแน่น (ธีรพล, 2546 ; Smitinand, T. and K.Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ เลี้ยงเป็นไม้กระถางแขวนประดับได้ดี หรือปลูกเกาะติดต้นไม้ ทำให้ดูเป็นธรรมชาติ


กูดใบเล็ก

วงศ์ Pakeriaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Adiantum zollingri Mett. ex Kuhn

ชื่อพื้นเมือง กูดใบเล็ก

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น สั้นตั้ง มีเกล็ดปกคลุมแน่น เกล็ดรูปยาวแคบ ยาว 6 มิลลิเมตร ขอบเรียบ มีสองสี ก้านใบยาว 12 เซนติเมตร สีน้ำตาลแดงเข้มเกือบดำ มีขนปกคลุมแน่นตลอด ขนสีน้ำตาล เป็นขนแบบหลายเซลล์ประกอบกัน (multicellular) ช่วงโคนก้านมีเกล็ด ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ยาว 30 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร ใบอาจตั้งตรงหรืออ่อนโค้งเล็กน้อย ซอกใบหยักเป็นพู ทอดนอนไปกับพื้น ตัวใบรูปแคบยาว ผิวด้านบนแกนกลางใบมีขนปกคลุมแน่น ผิวด้านล่างเกลี้ยงเกลา ในต้นที่โตเต็มที่ส่วนปลายแกนกลางใบอาจยืดยาวไม่มีแผ่นใบ และสามารถเกิดรากและต้นอ่อนเจริญออกมา แผ่นใบย่อยด้านข้างแกนกลางใบสองข้างเจริญเยื้องสลับกัน ใบย่อยทางด้านบนมีขนาดใหญ่กว่า ขนาดค่อยๆ เล็กลงสู่ปลายใบ และอยู่ห่างกันใบย่อยคู่ล่างใกล้โคนใบมีขนาดเล็กกว่าใบย่อยช่วงบนและทำมุมชี้ลง ใบย่อยที่มีขนาดใหญ่มักไม่มีก้าน ตัวแผ่นใบย่อย รูปร่างกึ่งสี่เหลี่ยมขอบขนาน ปลายมนกลม ขอบล่างส่วนมากตัดตรง ขอบด้านในชิดแกนทำมุมรูปลิ่มแคบกับขอบด้านล่าง ขอบด้านบนและด้านนอกเป็นหยัก ส่วนมาก ระยะหยักลึก 1/3 ของความกว้างใบ มีส่วนเว้าระหว่างหยักเห็นได้ชัด ส่วนหยักมนกลมหรือเป็นรูปช้อน ปลายของส่วนหยักมนกลม กึ่งตัดตรง หรือหยักเป็นซี่ฟัน แต่ละหยักมีปลายเส้นใบ 5-7 เส้น แผ่นใบนุ่มและบางเหมือนกระดาษ ส่วนมากผิวเกือบเกลี้ยง หรือมีขนประปรายบริเวณเส้นใบหรือที่ขอบใบ และที่ริมขอบใบ เส้นใบค่อนข้างไม่ชัดเจน ทั้งผิวด้านบนและด้านล่าง กลุ่มอับสปอร์ เกิดบริเวณปลายของหยัก ขอบใบพับลงมาปิดอับสปอร์เป็นรูปกลม หรือรูปรียาว ผิวเกลี้ยง หรือมีขนประปรายมีใบย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ มีสรรพคุณใช้ทำยารักษา อาการไอ ไอเนื่องจากหืด เยื่อหุ้มปอด อักเสบ ขับปัสสาวะ แก้ดีซ่าน นิ่วอุดตันในไต ช่วยละลายเสมหะ แก้จุกแน่นหน้าอก แก้ขัดเบา ลดไข้ รูมาติสซัม ลดกรดในกระเพาะ


วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2553

กระฉอดแรด

วงศ์ Dryopteridaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectaria griffithii (Baker) C.Chr.
ชื่อพื้นเมือง กะฉอดแรด (ตะวันออกเฉียงใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นสั้น ตั้งตรง เกล็ดรูปหอก ยาวประมาณ 20 มิลลิเมตร กว้าง 3 มิลลิเมตร สีน้ำตาลเข้มถึงดำ โคนตัด ขอบเรียบ ปลายแหลมยาว ก้านใบยาว 70 เซนติเมตร สีน้ำตาลแดง มีร่องด้านบน เกล็ดและขนหนาแน่นตลอดทั้งก้าน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นที่โคน รูปห้าเหลี่ยม ยาว 70 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร ใบย่อยชั้นแรกเรียงกึ่งตรงข้าม 1-4 คู่ ใบย่อยชั้นแรกคู่แรกรูปสามเหลี่ยมไม่สมมาตร ก้านยาว 1.5-2 เซนติเมตร ใบย่อยยาว 30 เซนติเมตร กว้าง 25 เซนติเมตร ขอบหยักเป็นแฉก แฉกหรือใบย่อยชั้นที่สองด้านล่างยาวกว่าด้านปลาย ใบย่อยชั้นที่สองแรกด้านล่างมีขนาดใหญ่และยาวอย่างเด่นชัด ยาว 20 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลม แฉกเฉียง ปลายตัด ใบย่อยชั้นแรกบริเวณกึ่งกลางใบมีขนาดเล็กกว่าคู่แรกเล็กน้อย รูปหอกแกมขอบขนาน ก้านสั้นหรือไร้ก้านหรือโคนเชื่อมกับแกนกลางแผ่เป็นครีบ ปลายเรียวแหลม ขอบหยักเป็นแฉกรูปเคียว ปลายแหลมถึงมน ใบย่อยชั้นแรกที่ปลายแกนกลางรูปไข่แกมสามเหลี่ยม โคนเชื่อมกับแกนกลางแผ่เป็นปีก ปลายเรียวแหลม ขอบหยักเป็นแฉกลึกเกือบถึงแกนกลาง รูปขอบขนานถึงรูปเคียว ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน แกนกลาง เส้นกลางใบ และเส้นกลางใบย่อยด้านล่างมีเกล็ดประปราย เส้นใบร่างแห มีเส้นใบย่อยอยู่ภายใน กลุ่มอับสปอร์เกิดที่ปลายเส้นใบย่อยในช่องร่างแห เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เกลี้ยง (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นไม้ประดับอาคาร

กูดขาว

วงศ์ Athyriaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Diplazium esculentum (Retz.) Sw.

ชื่อพื้นเมือง กูดกิน กูดคึ (เหนือ) กูดน้ำ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ไก้กวิลุ ปู่
แปลเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ผักกูด (ชื่อเรียกทั่วไป) ผักกูดขาว (ชลบุรี) หัสดำ (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้น ตั้งตรง สูงมากกว่า 1 เมตร เกล็ดรูปหอก สีน้ำตาลเข้มถึงดำ กว้าง 10 มิลลิเมตร ยาว 1.2 มิลลิเมตร ขอบเกล็ดหยักเป็นซี่ฟัน ก้านใบยาว 70 เซนติเมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น แผ่นใบยาว 40 เซนติเมตร กว้าง 25 เซนติเมตร ใบย่อยรูปหอก เรียงสลับ ใบย่อยบริเวณโคนใบ 2-3 ใบ มักลดรูป ใบย่อยบริเวณกลางประกอบแบบขนนกหนึ่งชั้น รูปหอกหรือขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ใบย่อยบริเวณปลายใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม ใบย่อยชั้นที่สองรูปหอกแกมขอบขนาน เรียงสลับ ยาว 13 เซนติเมตร กว้าง 2.5 เซนติเมตร โคนตัดหรือรูปหัวใจ ปลายเรียวแหลม ขอบใบย่อยชั้นที่สองหยักฟันเลื่อยถึงหยักลึกเป็นแฉกมน ขอบแฉกหยักซี่ฟัน ปลายแฉกมนถึงตัด เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ สีเขียวเข้ม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นใบร่างแห มีเส้นใบย่อยราว 10 คู่ กลุ่มอับสปอร์ จัดเรียงเป็นแถวตามความยาวของเส้นใบ มีเยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์รูปจันทร์เสี้ยว 2 ข้างของอับสปอร์ เมื่อสปอร์แก่จะเปิดออก 2 ข้าง ทิศตรงข้ามกัน (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ ใบอ่อนนิยมนำมารับประทานเป็นผักสด หรือผักลวกจิ้มน้ำพริก



วันเสาร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2553

กูดหางค่าง

ชื่อ : กูดหางค่าง

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Pteris biaurita L.

วงศ์ : Pteridaceae

ชื่ออื่นๆ : ผักกูดคางพญานาค

ลักษณะโดยทั่วไป : เป็นเฟิร์นที่เจริญบนพื้นดิน เหง้าสั้น มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้มปกคลุม ก้านใบยาวมีร่องที่ด้านบน ใบประกอบคล้ายขนนกสองชั้น ยาว 100-120 ซม. โครงรูปใบรูปสามเหลี่ยม มีใบย่อย 5-12 คู่ ใบย่อยคู่ล่างมีขนาดใหญ่สุด เนื้อใบบาง เส้นใบแบบร่างแห ใบย่อยขอบหยักลึกเข้ามาเกือบถึงเส้นใบ อับสปอร์เกิดเป็นแถบยาวที่ขอบใบทังสองข้าง ยกเว้นปลายใบ เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เนื้อบางใส

นิเวศวิทยา : พบขึ้นในที่ร่มรำไรตามริมน้ำ



เฟิร์นใบบัว

ชื่อ : กูดใบบัว

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Helmionitis arifolia (Burm.f.) Moore

วงศ์ : Parkeriaceeaen

ลักษณะโดยทั่วไป : เป็นเฟิร์นที่เจริญบนพื้นดิน ลำต้นสั้นมีเกล็ดสีน้ำตาลเข้มปกคลุมหนาแน่น ก้านใบสีม่วงดำ ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. ปลายใบมน โคนใบรูปเงี่ยงลูกศร ปลายใบมน เส้นใบแบบร่างแห ใบมีภาวะทวิสัณฐาน ใบไม่สร้างสปอร์มีก้านสั้นๆ ใบสร้างสปอร์มีก้านยาว 15-20 ซม. กลุ่มอับสปอร์ไม่มีเยื่อคลุม เกิดบนเส้นใบตลอดทั่วใบ

นิเวศวิทยา : พบขึ้นในที่ร่มรำไร ตามซอกหินหรือตามพื้นดินที่ค่อนข้างชื้น

ประโยชน์/โทษ : ปลูกประดับ

กูดแก้ว

ชื่อพื้นเมือง : กูดแต้ม กูดแก้ว (ภาคเหนือ), กูดไก่ (เชียงราย), กูดหก (ไทยใหญ่-แม่ฮ่องสอน), กูดหัวเหล็ก (เชียงใหม่), เซ็งเขี่ยดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectaria polymorpha (Wall. ex Hook.) Copel.

ชื่อวงศ์ : DRYOPTERIDACEAE


กูดแก้ว

Tectaria angulata (Willd.) C. Chr., DRYOPTERIDACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เฟิร์น เหง้าสั้น ทอดขนานหรือตั้งตรง มีเกล็ดสีน้ำตาลเข้ม เกล็ดรูปแถบแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 2 มม. ยาวประมาณ 2 ซม. ขอบเรียบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 40 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม. แกนกลางใบประกอบสีน้ำตาลแดง ด้านบนมีขน ด้านล่างเกลี้ยง ก้านใบสีน้ำตาลแดงหรือเกือบดำ เป็นมัน ยาวประมาณ 60 ซม. โคนมีเกล็ดแน่น ใบย่อย 2-6 คู่ รูปขอบขนาน กว้างประมาณ 9 ซม. ยาวประมาณ 20 ซม. ปลายเรียวแหลมมีติ่งยาว โคนมนถึงรูปกึ่งหัวใจ ขอบเรียบ ใบย่อยคู่ล่างสุดหยักลึกเป็นแฉก ใบย่อยที่ปลายใบใหญ่ที่สุด รูปขอบขนานแกมรูปกึ่งสามเหลี่ยม กว้างประมาณ 12 ซม. ยาวประมาณ 25 ซม. ปลายเรียวแหลมและมีติ่ง แผ่นใบบาง เส้นกลางใบย่อยสีน้ำตาลแดง มีขนทางด้านบน นูนเห็นชัดทางด้านล่าง เส้นร่างแหเห็นได้ชัด มีเส้นสั้นอยู่ภายในช่องร่างแห ก้านใบย่อยคู่ล่างยาวประมาณ 2.5 ซม. และลดขนาดความยาวลงโดยลำดับไปหาใบย่อยคู่บนสุด กลุ่มอับสปอร์รูปกลม อยู่บนเส้นสั้นในช่องร่างแห เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 มม. เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์เล็กและร่วงง่าย

การกระจายพันธุ์ : ภูมิภาคมาเลเซีย

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย : ภาคเหนือและภาคใต้

สภาพนิเวศน์ : ขึ้นตามพื้นดินใกล้ลำธารในป่าดิบแล้งที่อยู่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก




กูดฮอก

กูดฮอก

วงศ์ Polypodiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์ Drynaria sparsisora (Desv.) S.Moore.

ชื่อท้องถิ่น กูดฮอก (เหนือ) พังงา (มลายู-ใต้) ว่านงูกวัก ว่าว (ใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร ปกคลุมแน่นด้วยเกล็ดสีน้ำตาล เกล็ดรูปกลม ด้านในสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ริมนอกสีน้ำตาลอ่อน ยาว 3 มิลลิเมตร กว้าง 2 มิลลิเมตร โคนมนหรือกลม ขอบหยักซี่ฟัน ปลายเรียวแหลมยาวคล้ายหาง ใบมี 2 แบบ ใบประกบลำต้น รูปร่างกลมรี 17-23 เซนติเมตร กว้าง 16-22 เซนติเมตร โคนรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบหยักเป็นแฉกลึกประมาณ 1/4 ของความยาวเส้นกลางใบ ขอบแฉกเรียบ ปลายแหลม เนื้อใบหนาไม่หลุดร่วง เส้นกลางใบและเส้นกลางใบนูนชัดเจนทั้งสองด้าน เส้นใบร่างแห ใบแท้หยักแบบขนนก ก้านใบยาว 12-18 เซนติเมตร กว้าง 6-4 มิลลิเมตร สีน้ำตาล เกล็ดปกคลุมหนาแน่นบริเวณโคนก้าน แผ่นใบ รูปขอบขนาน ยาว 40-50 เซนติเมตร กว้าง 25-35 เซนติเมตร โคนใบเฉียงแผ่ออกเป็นปีกสั้นๆ ขอบใบหยักลึกเป็นแฉกแบบขนนกจนเกือบถึงเส้นกลางใบ จำนวน 6-8 แฉก รูปขอบขนาน ขอบเรียบ ปลายแฉกเรียวแหลม เนื้อใบหนาคล้ายหนัง สีเขียวเข้ม มีรอยต่อระหว่างแผ่นใบกับเส้นกลางใบ เส้นกลางใบแผ่ออกเป็นปีกแคบ เส้นใบร่างแหปลายปิด กลุ่มอับสปอร์มีขนาดเล็ก เป็น 2 แถว อยู่ระหว่างเส้นกลางใบ จัดเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ กลุ่มอับสปอร์ กระจายไม่เป็นระเบียบบนเส้นใยใบร่างแห (ธีระพล, 2546 ; Smitinand, T. and K. Larsen, 1989)

การใช้ประโยชน์ นิยมนำมาปลูกประดับสวน ทำให้ดูเหมือนเป็นป่าธรรมชาติ อีกทั้งปลูกเลี้ยงง่าย ไม่ต้องดูแลมาก ในตำราสมุนไพรจีน ใช้สำหรับบำบัดอาการป่วยเนื่องจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว ใช้สำหรับบำบัดอาการปวดหลังและหัวเข่า แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน ในตำราสมุนไพรไทยโบราณ ใช้เหง้าต้มดื่ม แก้โรคหืดหอบ เหง้าของ Drynaria มีรสขม มีสรรพคุณช่วยให้โลหิตหมุนเวียน แก้อาการมือเท้าเย็น ขยายหลอดเลือด


วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

กูดดอย

ชื่อพื้นเมือง : กูดดอย (ลพบุรี), กูดข้างฟาน (แม่ฮ่องสอน), มหาสดำ (ภาคตะวันออกเฉียงใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Blechnum orientale L.

ชื่อวงศ์ : BLECHNACEAE

ลักษณะ : เฟิร์น ลำต้นตั้ง อาจสูงได้มากกว่า 50 ซม. ลำต้นมีเกล็ดรูปแถบ สีน้ำตาล ปลายเกล็ดเรียวยาวเป็นหาง ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ รูปขอบขนาน ก้านใบสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลแดงเมื่อใบยังอ่อน โคนมีเกล็ดหนาแน่น ตามก้านใบมีใบที่ลดขนาดรูปร่างคล้ายติ่งหูอยู่ทั่วไป ใบย่อยมีจำนวนมาก เรียงตัวเฉียงกับแกนกลางใบประกอบ รูปแถบหรือรูปขอบขนาน ปลายเรียวยาวเป็นหาง โคนมนหรือกึ่งตัด ขอบเรียบ เส้นใบแยกสาขาเป็นคู่ใกล้เส้นกลางใบย่อย ใบย่อยไม่มีก้าน กลุ่มอับสปอร์เป็นแถบแคบๆ ทาบตลอดความยาวของเส้นกลางใบย่อย เยื่อคลุมกลุ่มอับสปอร์แคบ มักเปิดออกก่อนที่อับสปอร์จะแก่



กูดก้านแดง

ชื่อ : กูดก้านแดง

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Thelypteris truncate (Poir.) K. Iwats.

วงศ์ : Thelypteridaceae

ลักษณะโดยทั่วไป : เป็นเฟิร์นที่เจริญบนพื้นดิน เหง้าสั้น มีเกล็ดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ก้านใบยาวและมีเกล็ดที่โคน ใบประกอบแบบขนชั้นเดียว โครงรูปใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 40-50 ซม. ยาวได้ถึง 1 ม. ใบย่อย 30 คู่หรือมากกว่า ใบย่อยคู่ล่างมักลดรูปคล้ายติ่งหู เนื้อใบบาง ใบย่อยคู่กลางมีขนาดใหญ่สุดรูปขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนสอบตัด ขอบหยักลึกเข้ามา 1/3 ของใบ อับสปอร์เกิดเป็นกลุ่มมีเยื่อคลุม กลุ่มอับสปอร์รูปร่างกลมเกิดบนเส้นใบแบบขนนกในแต่ละหยัก เห็นเป็นสองแถวขนานกัน

นิเวศวิทยา : พบขึ้นในที่ร่มรำไรตามริมน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553

กินกุ้งน้อย

ชื่อ : กินกุ้งน้อย

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Murdannia nudiflora (L.) Brenan.

วงศ์ : Commelinaceae

ชื่ออื่นๆ : ผักปลาบ หญ้าเลินแดง

ลักษณะโดยทั่วไป : ไม้ล้มลุก สูง5-50 ซม. ลำต้นอวบน้ำ แตกกอแผ่กว้างและแตกรากตามข้อ ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็นกระจุกที่โคน แผ่นใบรูปขอบขนาน ยาว 3-5 ซม. กาบใบเป็นปลอกหุ้มลำต้น ดอกออกเป็นช่อและแตกแขนงเป็น 2-3 ช่อย่อย แต่ละช่อย่อยมี 1-3 ดอก กลีบดอกสีม่วงหรือสีฟ้าอ่อน มี 3 กลีบ ผลค่อนข้างกลม สีเขียวอ่อน ปลายเป็นติ่งแหลม เมื่อแก่แตกเป็น 3 พู

นิเวศวิทยา : พบบริเวณลานหินและบริเวณที่มีน้ำขังแฉะ
ประโยชน์/โทษ : ทั้งต้นต้มในน้ำมันรักษาโรคเรื้อน ใบใช้พอกแผล ยอดกินเป็นผัก





กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่อพื้นเมือง : กำแพงเจ็ดชั้น (ระยอง, ตราด, ประจวบคีรีขันธ์) ตะลุ่มนก (ราชบุรี), ตาไก้ (พิษณุโลก,นครราชสีมา), น้ำนอง มะต่อมไก่ (ภาคเหนือ), หลุมนก (ภาคใต้)

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Salacia chinensis L.

ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE

ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง

2-6 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบหยักหยาบๆ ดอกออกเป็นกลุ่มหรือเป็นช่อสั้นๆ ที่ง่ามใบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลือง กลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ป้อม ผลค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลสุกสีแดงหรือแดงอมส้ม มี 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม
คุณประโยชน์ : ผลกินได้ ในฟิลิปปินส์ใช้รากเข้ายาแผนโบราณเพื่อบำบัดอาการปวดประจำเดือนหรืออาการประจำเดือนผิดปรกติบำรุงโลหิตและช่วยระบายลมในท้อง ลดอาการปวดเมื่อยตามข้อ มีสรรพคุณคล้ายกับใบข่า แต่ใช้ต้มดื่ม โดยนำมาฝานให้เป็นแว่นๆ แล้วต้มในน้ำจนเดือด น้ำจะเป็นสีชา มีรสจืด ดื่มแทนน้ำได้เลย
ราก แก้ลมอัณฑพฤกษ์ ขับลม รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลืองหัว รักษาบาดแผลเรื้อรัง รักษาตะมอยหรือตาเดือนหัวใจ แก้ไข้ แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้ประดง แก้ซางให้ตาเหลือง แก้ดีพิการใบ แก้มุตกิต ขับโลหิตระดู ขับน้ำคาวปลาดอก แก้บิดมูกเลือดต้น ขับลม แก้น้ำดีพิการ แก้เสมหะ แก้ไข้ ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต แก้ปวดตามข้อ



วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

กะเม็ง

กะเม็ง หรือกะเม็งตัวเมีย มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อ ขึ้นกับแต่ละท้องถิ่น เช่น ทางภาคเหนือ เรียกว่า ฮ่อมเกี้ยว ทางพายับ เรียก หญ้าสับ จีน เรียก บั้งกีเช้า ทางภาคกลาง เรียก กะเม็งตัวเมีย

กะเม็งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Eclipta prostrata Linn. ในวงศ์ Compositae ซึ่งเป็นพืชในวงศ์เดียวกับ ทานตะวัน และดาวเรือง

กะเม็ง เป็นพืชขนาดเล็ก เป็นพืชที่ขึ้นเองตามริมทาง ที่ชื้นแฉะ และที่รกร้างทั่วไป อาจมีการเพาะปลูกไว้เพื่อใช้เป็นยา กระเม็งมีลำต้นอวบ เลื้อยแผ่บนดิน ปลายยอดมักตั้งขึ้นตรง ใบออกตรงข้าม มีลักษณะเรียว ยาวประมาณ 4-10 ซม. และกว้าง 0.8-2 ซม. ถ้าเกิดในที่ชุ่มชื้น มีน้ำมากใบก็ใหญ่ เกิดในที่แห้งแล้ง ใบจะเล็ก ฐานใบมีลักษณะเป็นรอยเว้าเข้า และบานออกเล็กน้อยทั้งสองด้าน ปลายค่อนข้างแหลม ขอบใบมีรอยหยักตื้น ๆ ทั้งสองด้าน มีขนสั้น ๆ สีขาว กะเม็ง ออกดอกเป็นช่อ จากซอกใบ หรือที่ยอดเป็นกลุ่มแน่นสีขาว ขอบของช่อดอก มีดอกย่อยคล้ายลิ้นเรียงตัวเป็นรัศมีสีขาวชั้นเดียว มีกลีบเลี้ยงสีเขียวรองรับช่อดอก 5-6 กลีบ ผลมีสีเหลืองปนดำ เมื่อขยี้ดูจะมีน้ำสีดำออกมา

การเก็บกะเม็งมาใช้เป็นยานั้น จะเก็บมาใช้ทั้งต้นในขณะที่ต้นเจริญเต็มที่ กำลังออกดอก เมื่อเก็บมาแล้ว ควรล้างดินออกให้สะอาด หั่นเป็นท่อนหรือชิ้นเล็ก ๆ ตากหรือผึ่งให้แห้ง เก็บไว้ในที่แห้งและเย็น เพื่อใช้เป็นยา ลักษณะของยาแห้งที่ดี ควรมีสีเขียว ไม่มีเชื้อรา และสิ่งอื่นเจือปน

สำหรับสรรพคุณทางยาของกะเม็งนั้น มีหลายประการด้วยกัน กะเม็งมีรสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้เป็นยาห้ามเลือด บำรุงไต แก้บิด ถ่ายเป็นมูกเลือด แก้ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบเรื้อรัง โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา และรักษาผมหงอกก่อนวัย
วิธีและปริมาณที่ใช้ของกะเม็งนั้น จะใช้ทั้งต้นแห้ง 10-30 กรัม ต้มเอาน้ำกิน หรือจะนำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดลูกกลอน หรือกินเป็นผงก็ได้

รายละเอียดของวิธี และปริมาณที่ใช้ของกะเม็ง ในการนำมารักษาโรคต่าง ๆ จะเป็นดังนี้
1. ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใช้ต้นสด ตำพอก หรือใช้ต้นแห้ง บดเป็นผง โรยที่แผล
2. แก้บิดถ่ายเป็นมูกเลือด ใช้ต้นแห้ง 30 กรัม หรือ ต้นสด 120 กรัม ต้มน้ำกินติดต่อกัน 3-4 วัน
3. แก้โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา ใช้น้ำคั้นจากใบสดทาบริเวณมือและเท้า
ปล่อยให้แห้งก่อนและหลังการลงไปทำนา เป็นการป้องกันมือและเท้าเปื่อย แต่ถ้ามือและเท้าเปื่อย จากการทำนาแล้ว ก็สามารถใช้น้ำคั้นจากใบทารักษาได้ โดยทาวันละ 2 ครั้ง จนกว่าจะหาย
4. แก้ผมหงอกก่อนวัย ใช้น้ำคั้นจากต้นเคี่ยวกับน้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าวทา
ศีรษะจะทำให้ผมดกดำ และแก้ผมหงอกก่อนวัย

มีรายงานการวิจัยพบว่า กะเม็ง สามารถแก้ความเป็นพิษที่ตับ ที่เกิดจากการทำให้เซลล์ตับเป็นพิษ ด้วยสารพิษบางชนิดได้ผลดี มีรายงานว่า กะเม็ง มีฤทธิ์แก้ไข้ และแก้แพ้ในหนูถีบจักร และหนูขาวอีกด้วย ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลที่ยืนยันได้ว่า กะเม็ง สามารถนำมาใช้ในการรักษาตับอักเสบ และโรคผิวหนังผื่นคันได้เป็นอย่างดี

ชาวจีนได้นำกะเม็งมาใช้ในการแก้ผมหงอกก่อนวัย และทำให้ผมดกดำมาเป็นเวลานาน และยังใช้จนมาถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้แพทย์แผนไทยในชนบท ยังได้นำกะเม็งมาใช้เป็นยาบำรุงเลือดอีกด้วย จะเห็นได้ว่า กะเม็ง จัดเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย

สรุป

กะเม็ง เป็นพืชล้มลุก พบขึ้นตามที่รกร้าง และที่ชื้นแฉะทั่วไป กะเม็งเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันมานาน มีประโยชน์ทางยามากมาย สามารถนำมาใช้ในการรักษาโรคตับอักเสบ โรคผิวหนังผื่นคันจากการทำนา และรักษาผมหงอกก่อนวัย ทำให้ผมดกดำ มีรายงานการวิจัยพบว่า กะเม็งสามารถแก้ความเป็นพิษต่อตับที่เกิดจากสารพิษได้ดี มีฤทธิ์แก้ไข้และแก้แพ้ในหนูถีบจักร และหนูขาว ดังนั้น จึงเป็นข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนในการใช้กะเม็ง เพื่อรักษาโรคตับอักเสบและโรคผิวหนังผื่นคัน

าก http://herbal.pharmacy.psu.ac.th/Article/10-44/Eclipta.htm

กระแตไต่หิน

ชื่อ : กระแตไต่หิน

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Drynaria bonii Christ

วงศ์ : Polypodiaceae

ชื่อพ้อง : Drynaria meeboldii Rosenst.

ชื่ออื่น : กระปรอกเล็ก, กระแตไต่หิน, กระจ้อน , Krajont (Thai
กระแตไต่หินต้นนี้พบที่เขาตะกุดรัง อำเภอปักธงชัย

ลักษณะโดยทั่วไป : เฟิร์นเลื้อยเกาะ เหง้ามีเกล็ดสีน้ำตาลเหลือบเงินปกคลุม ใบมีภาวะทวิสัณฐาน ใบไม่สร้างสปอร์หรือใบรังนก (nest-leaves) รูปไข่กว้างเกือบกลม ฐานใบเว้าลึกเป็นรูปหัวใจ เรียงสลับซ้อนเหลื่อมกันปิดเหง้าไว้ และใบที่สร้างสปอร์ (foliage-leaves) ก้านใบมีครีบแคบๆบริเวณโคน แผ่นใบเว้าลึกเป็นแฉก สปอร์เกิดเป็นกลุ่มของอับสปอร์รูปร่างค่อนข้างกลม เรียงไม่เป็นระเบียบ อยู่ระหว่างเส้นใบ


นิเวศวิทยา : พบทั่วไปตามก้อนหินหรือลำต้นของต้นไม้ในป่าดิบแล้ง



ประโยชน์/โทษ : ยาพื้นบ้านล้านนาใช้เหง้าต้มน้ำดื่มรักษามะเร็งในปอด ปอดพิการ ขนจากเหง้าบดให้ละเอียดแก้หืด สามารถปลูกเป็นเฟิร์นประดับตามโขดหินหรือต้นไม้ในสวนได้ ชอบพื้นที่ที่มีแสงไม่จัดนัก
ใช้รากฝนน้ำมะนาวกิน ทา แก้เนื้อตายจากพิษของงูเขียวหางไหม้



กระแตชนิดนี้เป็นเฟินเกาะอาศัยอยู่บนคาคบไม้สูง หรือพบอยู่ตามซอกหิน บนโขดหิน ในป่าดิบชื้นและป่าดิบแล้ง ตั้งแต่ระดับต่ำถึงระดับสูง 800 ม. MSL. มักพบอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่
ลักษณะทั่วไป ลำต้นเป็นเหง้าเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ปกคลุมแน่นด้วยเกล็ดสีน้ำตาล ตอนกลางเกล็ดเป็นสีดำ ใบมี 2 แบบ
ใบปกติ sterile frond ใบนี้ไม่สร้างสปอร์ รูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 15-25 ซ.ม. ยาวได้ถึง 25 ซ.ม. ขอบใบเป็นแฉก หยักเว้า ลึกเข้าไปเกือบครึ่งของความกว้างจากขอบใบถึงเส้นกลางใบ แฉกเป็นรูปกึ่งสามเหลี่ยม ปลายแฉกมน ขอบเรียบ ใบนี้ทำหน้าที่เก็บสะสมความชื้นและเศษซากอินทรีย์วัตถุ
ใบสปอร์ เป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายแหลม หยักเว้าเกือบถึงเส้นกลางใบ แฉกรูปขอบขนาน ปลายเรียว ขอบเรียบ เส้นกลางใบเป็นสันนูนเห็นได้ชัดเจนทั้งสองด้าน แผ่นใบเรียบ แข็งหนา ขนาดของใบ ยาวได้ถึง 50-60 ซ.ม.กว้าง 25-35 ซ.ม. อับสปอร์มีขนาดเล็ก เป็น 2 แถว อยู่ระหว่างเส้นกลางใบ จัดเรียงตัวไม่เป็นระเบียบอับสปอร์ กระจายไม่เป็นระเบียบบนเส้นใยใบร่างแห
กระแตชนิดนี้ พบที่ภาคตะวันออก ที่เขาใหญ่ และที่ยะลา กระจายพันธุ์ใน ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตเลียเขตร้อน และโพลินีเซีย

ในตำราสมุนไพรจีน เฟินสกุลนี้เป็นสมันไพรที่มีความสำคัญมากตัวหนึ่ง ใช้สำหรับบำบัดอาการป่วยเนื่องจากกระดูกแตกและเส้นเอ็นฉีกขาด โดยนำเฟินสกุลนี้ไปเข้ากับสมุนไพรตัวอื่น หรือใช้เดี่ยว นอกจากนี้นังครอบคลุมไปถึงอาการเคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว ซึ่งสรรพคุณนี้ชาวจีนโบราณค้นพบมานานร่วมพันปีแล้ว และเรียกมันว่า "Mender of Shattered Bones." เฟินสกุลนี้นำไปผสมกับ Dipsacus และอื่นๆ เพื่อใช้บำบัดอาการป่วยได้ดีนอกจากนี้ เฟินในสกุลนี้ ใช้สำหรับบำบัดอาการปวดหลังและหัวเข่า แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ปวดฟัน ในตำราสมุนไพรไทยโบราณ ใช้เหง้าต้มดื่ม แก้โรคหืดหอบ ได้อีกด้วย
เหง้าของ Drynaria มีรสขม มีสรรพคุณช่วยให้โลหิตหมุนเวียน แก้อาการมือเท้าเย็น ขยายหลอดเลือด ลดอาการเจ๊บปวดเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีกขาด แก้ไขข้ออักเสบ ปวดหลัง ปวดข้อ กระดูกแตก




วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

กะตังใบ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Leea indica (Burm.f.) Merr.

ชื่อพื้นเมือง: คะนางใบ บังบายต้น

ชื่อวงศ์: LEEACEAE

ลักษณะทั่วไปทางพฤกษศาสตร์

ไม้ลัมลุกอายุหลายปีทอดนอนตามพื้นดินหรืออาจสูงได้ถึง 1 ม. มีหัวใต้ดิน หูใบติดบนก้านใบเป็นปีกแคบๆ กว้าง 0.3-0.5 ซม. ยาว 1-3 ซม. ใบมี 3 ใบย่อยหรือใบประกอบย่อย 1-3 ใบ แกนกลางยาวได้ประมาณ 10 ซม. มีขนละเอียด บางครั้งเป็นปีกแคบๆ ก้านใบยาว 3-10 ซม. ใบย่อยมีหลายรูปแบบ ส่วนมากรูปไข่ รูปขอบขนานหรือเกือบกลม ยาว 3-12 ซม. มีขนกระจาย ขอบจักฟันเลื่อยหรือจักมนเป็นคลื่น ปลายกลมหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบกลมหรือรูปลิ่ม ไม่เท่ากัน ก้านใบย่อยยาวได้ถึง 0.8 ซม. มีปีกแคบๆ ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 8 ซม. มีขนกระจาย ดอกแน่น ใบประดับรูปสามเหลี่ยมยาวประมาณ 0.3 ซม. ติดทน ก้านช่อดอกยาว 1-5 ซม. กลีบดอกและกลีบเลี้ยงมีจำนวนอย่างละ 5 กลีบ กลีบเลี้ยงติดเป็นหลอดยาวประมาณ 0.2 ซม. กลีบยาวประมาณ 0.1 ซม. หลอดกลีบดอกยาวเท่าๆ หลอดกลีบเลี้ยง กลีบดอกยาวประมาณ 0.2 ซม. หลอดเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันยาวประมาณ 0.1 ซม. ปลายแยกกัน ยาวประมาณ 0.1 ซม. รังไข่มี 4-6 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย ยาว 0.1-0.2 ซม. ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาว 0.5-0.8 ซม. สีม่วงดำ เมล็ดมี 4-6 เมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 0.3 ซม.กะตังใบเตี้ยมีเขตการกระจายพันธุ์เฉพาะในภูมิภาคอินโดจีน ในไทยพบแทบทุกภาคยกเว้นภาคเหนือตอนบน และภาคใต้ ขึ้นหนาแน่นตามทุ่งหญ้าในป่าเต็งรัง หรือป่าเบญจพรรณ ระดับความสูงจนถึงประมาณ 250 เมตร

นิเวศวิทยา: พบขึ้นได้ทั่วไป

การใช้ประโยชน์: รากต้มกินเป็นยาแก้ท้องเสีย ผลกินได้ เป็นยาขับเหงื่อ ระงับความร้อน แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย รากแก้บิดและท้องร่วง

การขยายพันธุ์:ใช้เมล็ด


กระต่ายจาม

ชื่อ : กระต่ายจาม

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Adenosma indiana (Lour.) Merr.

วงศ์ : Scrophulariaceae

ชื่ออื่นๆ : พริกกระต่าย โซเซ

ลักษณะโดยทั่วไป : พืชล้มลุกอายุปีเดียว ต้นตั้งตรง สูง 20-70 ซม. ทุกส่วนของลำต้นมีขนละเอียดสีขาว ใบ
เดี่ยว เรียงตรงกันข้าม รูปไข่ กว้าง 0.5-2 ซม. ยาว 1-7 ซม. ขอบใบจักฟันเลื่อย แผ่นใบมีขนละเอียดทั้ง

สองด้าน ดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่นรูปร่างกลมหรือทรงกระบอกที่ปลายยอดและตามซอกใบ ดอกย่อยสีม่วง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ยาว 5-6 มม. ปลายแยกเป็นปากสองปาก ผลแบบผลแห้งแล้วแตก รูปไข่

นิเวศวิทยา : พบในบริเวณที่โล่งมีน้ำขังแฉะเล็กน้อยและตามลานหินในป่าเต็งรังและริมน้ำตก

ประโยชน์ : บางประเทศใช้เป็นยาแผนโบราณแก้อาการปวดท้อง

วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553

กระไดลิง

ชื่อ : กระไดลิง

ชื่อพฤกษศาสตร์ : Bauhinia scandens L.

วงศ์ : Fabaceae-Leguminosae-Caesalpinioideae

ชื่ออื่นๆ : กระไดวอก

ลักษณะโดยทั่วไป : ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง มีมือพันออกตามซอกใบ เถาแก่แข็ง เหนียว แบนหยักโค้งเป็นลอนคล้ายบันได ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปร่างใบแปรผันมาก รูปไข่ หรือ รูปไข่กว้าง ปลายใบแหลม หรือหยักเว้าลึกจนถึงฐานใบ ดอกออกเป็นช่อกระจะหรือช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง แกนช่อดอกมีขนสีสนิมปกคลุม ดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวแกมเหลือง ผลเป็นฝักแบน รูปรีหรือค่อนข้างกลม กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3-4 ซม. ฝักแก่สีน้ำตาลแดง

นิเวศวิทยา : พบทั่วไปในป่าดิบแล้ง พบบ้างในป่าผสมผลัดใบ

ประโยชน์/โทษ : ลำต้นคล้ายบันได เรียกว่า Monkey-ladders ช่วยในการเดินทางของสัตว์ป่าที่หากินตามเรือนยอดของไม้ใหญ่ เช่น ลิง ชะนี ค่าง กระรอก เป็นต้น โดยไม่ต้องลงดินซึ่งจะทำให้มันปลอดภัยจากศัตรู


Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...