วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

มะแฮะนก

มะแฮะนก

วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Flemingia lineata (L.) W.T.Aiton var. lineata
(syn. Moghania lineata (L.) O.Kuntze)

ชื่อสามัญ มะแฮะนก (เชียงใหม่) ; ขมิ้นธรณี ,ขมิ้นมัทรี

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มลำต้นตั้งตรง สูง 80 - 125 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 4.2 - 6.6 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (trifoliate) ใบรูปไข่กลับแกมใบหอก (obovate-lanceolate) ใบย่อยบนสุดยาว 6.34 - 8.22 เซนติเมตร กว้าง 1.86 - 2.34 เซนติเมตร ใบย่อยด้านข้างยาว 4.7 - 6.36 เซนติเมตร กว้าง 1.45 - 1.91 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 2.13 - 2.59 เซนติเมตร สีใบเขียว นุ่มปานกลาง หน้าใบ หลังใบ และก้านใบมีขนสั้นๆปกคลุมปานกลาง เส้นใบ (vein) และเส้นกลางใบ (mid rib) ของส่วนหลังใบเป็นสันนูนขึ้น ขอบใบเป็นขนครุยสั้นๆ (ciliate) หูใบรูปแถบเรียวยาวไปส่วนปลาย ช่วงออกดอกประมาณเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนมกราคม ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่วออกที่ปลายยอดและตามซอกใบ สีดอกชมพู-แดง ความยาวของดอกถั่ว 0.47 - 0.65 เซนติเมตร ฝักรูปขอบขนาน (oblong) ยาว 0.65 - 0.89 เซนติเมตร กว้าง 0.41 - 0.53 เซนติเมตร เมล็ดรูปกลมสีน้ำตาล-ดำ 1-2 เมล็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเมล็ด 2 - 2.3 มิลลิเมตร

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นในพื้นที่โล่งแจ้งและป่าผลัดใบ สภาพดินร่วนทราย ดินเหนียว เช่น ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (PC 181) ตำบลบุโฮม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 199) ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 543 เมตร และพบมีขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าชุ้มชื้น สภาพดินทรายละเอียด เช่น ตำบลคลองแสง อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คุณค่าทางอาหาร ระยะก่อนออกดอกอายุประมาณ 12 สัปดาห์ มีค่าโปรตีน 16.21 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.41 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 28.66 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 4.77 เปอร์เซ็นต์ NFE 48.95 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.08 เปอร์เซ็นต์ NDF 52.33 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 18.25 เปอร์เซ็นต์ และ ลิกนิน 10.93 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ เป็นอาหารสัตว์ โค กระบือ แพะ และสัตว์ป่า ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง ดินระบายน้ำไม่ดี


วันจันทร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2553

ตาลส้านดอย

ตาลส้านดอย วงศ์ PAPILIONOIDEAE
Desmodium renifolium var. renifolium (L.) Schindl..

ชื่อสามัญ ตาลส้านดอย (เชียงใหม่) เล็บมือนาง (นครราชสีมา)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขาเลื้อยทอดนอนไปตามพื้น (prostrate) ยาว 80-145 เซนติเมตร ลำต้นไม่มีขนมีสีเขียวถึงเขียวอ่อน เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 2.5-4.5 มิลลิเมตร ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว (simple) ปลายใบมีรอยเว้าตื้น (emarginate) เช่นเดียวกับโคนใบ รูปร่างใบคล้ายรูปพัด ด้านกว้างของใบจะกว้างกว่าด้านยาว คือ กว้าง 3.8-6.2 เซนติเมตร ยาว 1.9-3.2 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ (entire) หน้าใบและหลังใบไม่มีขน ใบที่เจริญเติบโตเต็มที่มีสีเขียวค่อนข้างเข้มถึงเขียวเข้ม ก้านใบยาว 1.5-2.7เซนติเมตร ออกดอกที่ยอดและตาข้าง กลีบเลี้ยงสีขาวออกเหลืองอ่อนๆ กลีบดอกมีสีขาวครีม อับเรณูและเกสรเพศเมียสีเหลืองอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน ยาว 1.6-3.0 เซนติเมตร หักได้เป็นข้อๆ มี 2-6 ข้อ ออกดออกติดเมล็ดตลอดทั้งปี

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบที่อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ (PC 353) อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น (PC 308)

คุณค่าทางอาหาร อายุ 75 – 90 วัน โปรตีน 13.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.25 เปอร์เซ็นต์ โพแทสเซียม 1.77 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 1.22 เปอร์เซ็นต์ ADF 29.9 เปอร์เซ็นต์ NDF 42.3 เปอร์เซ็นต์ DMD 71.9 เปอร์เซ็นต์ (โดยวิธี Nylon bag)

การใช้ประโยชน์ อาหารสัตว์ โค-กระบือ


ครามใหญ่

ครามใหญ่

วงศ์ PAPILIONOIDEAE

Indigofera suffruticosa Mill.

ชื่อสามัญ ครามผี , ครามเถื่อน ( เชียงใหม่ ); ครามใหญ่ ( อุบลราชธานี )

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก (shrub) อายุหลายปี ต้นสูง 129.81- 192.19 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 18.02- 26.04 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd pinnately) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite) รูปร่างใบย่อยแบบรูปรี (elliptic) โคนใบรีกลม ปลายใบแหลมติ่ง (cuspidate) ใบยาว 1.9- 2.78 เซนติเมตร กว้าง 0.75- 0.95 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.67- 0.83 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 6.74- 8.96 เซนติเมตร หน้าใบมีขนสีขาวสั้นๆยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตรปกคลุมปานกลาง หลังใบมีขนสีขาวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรปกคลุมอยู่หนาแน่น ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างนุ่ม เส้นกลางใบ (mid rib) ด้านหน้าเป็นร่องจากโคนใบถึงปลายใบเห็นชัดเจน เส้นใบ (vein) ไม่ชัดเจน ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) มีขนสีขาวสั้นๆ ลำต้นสีน้ำตาลอมม่วงมีขนสีขาวคลุมบางๆ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ออกที่ตาข้างจำนวนมาก ช่อดอกยาว 3.75- 10.49 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว สีชมพู มีก้านดอกสั้นประมาณ 1 มิลลิเมตรมี 14-36 ดอกต่อช่อ ฝักอยู่รวมกันเป็นช่อฝักรูปกลมโค้งงอคล้ายรูปเคียวมีรอยคอดระหว่างข้อตื้นๆปลายยอดฝักชี้ลง มี 12-34 ฝักต่อช่อ ฝักยาว 0.18- 1.52 เซนติเมตร กว้าง 0.19- 0.29 เซนติเมตร เมล็ดรูปทรงกระบอกปลายตัด มี 3-4 เมล็ดต่อฝัก เมล็ดยาว 2- 2.5 มิลลิเมตร กว้าง 1- 1.5 มิลลิเมตร สีน้ำตาลดำ ฝักแก่แตกเป็นสองซีก

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ดินร่วนปนเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 35 เมตร เช่นเขตตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (SN 198)
คุณค่าทางอาหาร เฉพาะส่วนใบ มีค่า โปรตีน 25.69 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 27.73 เปอร์เซ็นต์ NDF 35.21 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.26 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.35 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียม 2.25 เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.38 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ แพะ และสัตว์ป่า สรรพคุณ ใบ รสเย็นฝาดเบื่อ ดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกต้น รสเย็นฝาดเบื่อ แก้พิษฝี แก้พิษงู ฆ่าพยาธิ แก้โลหิต น้ำมันจากเมล็ด ทาแก้หิด สารสำคัญใบ มี rutin และ rutinoid ประมาณ 0.65-0.80 เปอร์เซ็นต์ มีไนโตรเจนสูง เหมาะใช้ทำปุ๋ย ทำยาฆ่าแมลง ( วงศ์สถิตย์และคณะ , 2543)


วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2553

ครามขน

ชื่อสามัญ ครามขน ( เชียงใหม่ )

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชล้มลุก (annual) ออกดอกติดฝักเมล็ดแก่ร่วงงอกใหม่ในฤดูฝนต่อไป ทรงต้นเป็นกอพุ่ม (herb) ขนาดเล็ก ปลายยอดตั้ง ความสูงของต้น 62- 68 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวมีขนสีน้ำตาลยาว 3-4 มิลลิเมตรปกคลุมหนาแน่น (abundant) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 12.5- 16.1 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd pinnate) เรียงตรงข้ามกัน (opposite) ใบเป็นแบบรูปไข่กลับ (obovate) โคนใบสอบเรียว (attenuate) ปลายใบติ่งหนามสั้น (macronulate) ขนาดใบยาว 3.1- 4.96 เซนติเมตร กว้าง 1.48- 2.48 เซนติเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนสีขาวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรปกคลุมหนาแน่น ใบสีเขียวนวล ผิวใบนุ่ม (tender) เส้นกลางใบ (mid rib) เล็กยาวจากโคนถึงปลายใบ เส้นกลางใบด้านหลังมีขนสีน้ำตาลยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตรขึ้นเรียงตามกัน เส้นใบ (vein) แตกแบบขนนก (pinnate) ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) มีขนสีขาวปนสีม่วงแดงยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ก้านใบรวมยาว 5.2- 6.8 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.2-0.3 เซนติเมตรและมีขนสีน้ำตาลแดงยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตรคลุมอยู่หนาแน่น หูใบ (stipule) รูปแหลม (filiform) สีเขียวยาว 1-2 เซนติเมตรและมีขนขึ้นเรียงถี่ๆ ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม ช่อดอกออกที่ปลายยอดและซอกใบแบบช่อกระจะ (raceme) ช่อดอกยาว 12.39- 23.35 เซนติเมตร ส่วน Head ยาว 5.11- 12.17 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วสีชมพูอมแดง มีฐานรองดอกแยกเป็น 5 แฉกและมีขนคลุม ดอกยาว 0.67- 0.95 เซนติเมตร มี 67-130 ดอกต่อช่อ ฝักรูปทรงกระบอก กลม มีขนยาว 1-2 มิลลิเมตรคลุมหนาแน่น ปลายฝักมีติ่งหนามแหลมแข็งยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ฝักยาว 1.85- 2.01 เซนติเมตร กว้าง 0.2- 0.3 เซนติเมตร มี 76-120 ฝักต่อช่อ ฝักแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดสีน้ำตาลรูปกรวย

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ป่าละเมาะ ดินเหนียวปนลูกรัง ดินเหนียว เช่น เขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ( LP 38 )

คุณค่าทางอาหาร ส่วนใบรวมก้านใบและยอดอ่อน อายุประมาณ 45 วันก่อนมีดอก มีค่า โปรตีน 15.95 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 22.08 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 6.21 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 8.90 เปอร์เซ็นต์คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.86 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 26.27 เปอร์เซ็นต์ NDF 33.18 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 4.91 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ ระยะก่อนออกดอกเป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม บำรุงโลหิต สับเป็นท่อนๆวางไว้ที่ปากไหปลาร้า ป้องกันหนอนขึ้น ( จิรายุพินและคณะ , 2542)



ครามเครือ

ครามเครือ

วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Indigofera hendecaphylla Jacq.
ชื่อสามัญ ครามเครือ (เชียงใหม่) ; จ๊าผักชี (เชียงใหม่) ; โสนนก (นครสวรรค์)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชอายุค้างปี ต้นทอดแผ่คลุมดิน (semi-prostrate) ต้นสูง 11.76-20.74 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.85-2.65 มิลลิเมตร การจัดเรียงตัวของใบแบบขนนกเรียงสลับ (alternate) รูปร่างใบย่อยแบบใบหอก (lanceolate) ขนาดเล็ก โคนใบสอบปลายใบเรียวแหลม ใบยาว 2.63-3.23 เซนติเมตร กว้าง 0.24-0.36 เซนติเมตร หลังใบมีขนปกคลุมจำนวนมากกว่าหน้าใบ สีใบเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างนูนเล็กน้อย ขอบใบเรียบ (entire) หูใบแบบหนาม (spinous) สีเขียวอมม่วง ลำต้นสีเขียวอมม่วงค่อนข้างเหนียว ลำต้นและก้านใบมีขนละเอียดสั้นประมาณ 1 มิลลิเมตรคลุมอยู่ปานกลาง ออกดอกเดือน พฤษภาคม – พฤศจิกายน ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ช่อดอกออกตามซอกใบ ช่อยาว 3.49-7.05 เซนติเมตร ช่อดอกค่อนข้างแน่น ดอกรูปดอกถั่ว สีชมพู-ส้ม มี 30-47 ดอกต่อช่อ ฝักรูปกลม ยาว 2.63-3.47 เซนติเมตร กว้าง 0.2-0.3 เซนติเมตร มี 5-14 ฝักต่อช่อ ฝักแก่ไม่แตก

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่ค่อนข้างโล่ง ดินทราย เช่น เขตบ้านหนองแวง อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น (PC 291)

คุณค่าทางอาหาร ต้นถั่วอายุประมาณ 45 วัน ระยะเริ่มออกดอก มีค่าโปรตีน 14.45 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 25.05 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.27 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 10.9 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท(NFE) 48.33 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วนADF 32.44 เปอร์เซ็นต์ NDF 41.66 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 8.28 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ


วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

ครามดอย

ครามดอย

วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Indigofera cassioides Rottl.ex DC.

ชื่อสามัญ เสียดเครือ (เลย) ; ครามดอย (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่ม (shrub) อายุหลายปี ต้นสูง 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 19.21-40.03 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite) บางกิ่งใบเรียงแบบสลับ (alternate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่ (oval) ใบยาว 1.76-2.14 เซนติเมตร กว้าง 0.85-1.22 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 12.45-16.29 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมจำนวนมาก ก้านใบมีขนคลุมปานกลาง ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบสีเหลือง เรียบ (entire) ปลายใบ (apex) มีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หูใบ (stipnle) แบบหนาม (spinous) สีเขียวอมน้ำตาล ลำต้นสีเขียวปนสีน้ำตาล ไม่มีขนคลุม ออกดอกเดือน สิงหาคม – เมษายน ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกออกที่ปลายยอดและตาข้าง มีดอกพร้อมกันเต็มลำต้น ช่อดอกยาว 7.69-11.65 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 12-30 ดอกต่อช่อ กลีบดอกกลาง (standard) สีชมพูสดอมม่วงอ่อนด้านในมีแถบสีขาวตรงกลาง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูเข้มกว่า กลีบคู่ล่าง (keel) สีชมพูมีแถบขาวตรงกลาง ก้านเกสรตัวเมีย (stigma) สีเขียวตองอ่อน อับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียวตองอ่อน ฝักขนาดเล็กรูปกลม ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้น สั้น ๆ ขนาดฝักยาว 2.48-3.62 เซนติเมตร กว้าง 0.23-0.31 เซนติเมตร มี 19-30 ฝักต่อช่อ ฝักแก่ไม่แตก
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่พื้นที่ป่าโปร่งเต็ง รัง ป่าละเมาะ ดินร่วนทราย เช่น เขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 195)

คุณค่าทางอาหาร ส่วนใบรวมก้านใบย่อยมีค่าโปรตีน 12.78เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.91 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 14.22 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.31 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.21 เปอร์เซ็นต์ NDF 43.47 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 9.26 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 10.33 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ


กาวกะปอม

กาวกะปอม

วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Rhynchosia minima (L.) DC.

ชื่อสามัญ กาวกะปอม (สระบุรี) ; Rhynchosia ; least rhynchosia ; burn mouth vine

ลักษณะทางพฤษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชอายุหลายปี ลำต้นเลื้อยและตั้งขึ้นเล็กน้อย (sub-erect) ความสูงของต้น 8.33-12.79 เซนติเมตร ลำต้นสีม่วงแดง มีขนละเอียดปกคลุมปานกลาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.33-1.71 มิลลิเมตร ใบมี 3 ใบย่อย มีก้านใบ (pinnately-trifoliate) ใบบนรูปไข่ (ovate) โคนใบสอบ (cuneate) แผ่นใบกว้างไปส่วนปลายลักษณะรูปใบคล้ายสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด (rhomboidal) ปลายใบบางใบจะเว้าลงเล็กน้อย บางใบแหลม ใบบนยาว 2.14-2.48 เซนติเมตร กว้าง 2.19-2.75 เซนติเมตร ใบข้างรูปไข่ ปลายใบแหลมขอบใบด้านในเบี้ยวเล็กน้อย (unequal) ใบข้างยาว 1.6-2.4 เซนติเมตร กว้าง 1.4-2.5 เซนติเมตร เส้นใบจัดเรียงแบบร่างแห (reticulate) สีใบเขียวเข้ม หน้าใบ หลังใบไม่มีขน ขอบใบเรียบ ผิวใบนุ่มปานกลางและมีรอยย่น (rugosa) ก้านใบยาว 2.48-3.36 เซนติเมตร มีขนปานกลาง หูใบ (stipule) เป็นแบบหนามหรือแหลม (spinose or filiform) ออกดอกตลอดปี ดอกออกที่ซอกใบดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ช่อดอกยาว 8.6-11.8 เซนติเมตร ช่อดอกมีลักษณะหลวม ๆ ดอกเดี่ยวในช่อดอกเกิดขึ้นห่าง ๆ มี 7-10 ดอกต่อช่อ ดอกสีเหลืองขนาดเล็ก ฝักรูปขอบขนาน (oblong) ยาว 1.4-1.8 เซนติเมตร กว้าง 0.46-0.52 เซนติเมตร มีขนละเอียดปกคลุมจำนวนมาก มี 4-9 ฝักต่อช่อ แต่ละฝักมี 1-2 ข้อ ฝักแก่มีสีดำ เมล็ดมีสีดำ และน้ำตาล

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นทั่วไปในพื้นที่โล่ง สภาพดินที่มีเนื้อดินหนัก ดินร่วน ดินเหนียว เช่น อำเภอเถิน อำเภอสามเงา จังหวัดลำปาง (LP 045, LP 046) อำเภอสีคิ้ว อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (PC 021, PC 032, PC 046, PC 082, PC 216) อำเภอม่วงค่อม อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี (PC 192, PC 231)

คุณค่าทางอาหาร อายุ 60 วัน มีโปรตีน 12.14 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 29.86 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.59 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 7.18 เปอร์เซ็นต์ NFE 54.65 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 38.43 เปอร์เซ็นต์ NDF 42.50 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 11.92 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์สำหรับโค กระบือ แกะ ทนต่อการแทะเล็ม



วันศุกร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2553

ขางครั่ง

ขางครั่ง

วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Dunbaria bella .

ชื่อสามัญ ขางครั่ง (ลำพูน) ; ดอกครั่ง (เชียงใหม่) ; เถาครั่ง (เลย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นพืชอายุค้างปี ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพัน (twinning) ลำต้นยาวประมาณ 3-5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 2.83-9.47 มิลลิเมตร ใบมี 3 ใบย่อย (trifoliate-pinnately) รูปร่างใบย่อยแบบขอบขนาน (oblong) ใบกลางปลายใบมน โคนใบกลม (rounded) ใบข้างขอบใบด้านล่างเบี้ยว (unequal) ความยาวใบกลาง 5.94-8.88 เซนติเมตร กว้าง 2.05-2.73 เซนติเมตร ใบข้างยาว 5.11-6.61 เซนติเมตร กว้าง 1.8-2.14 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 1.01-2.91 เซนติเมตร ก้านใบข้างสั้นมากยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมหนาแน่น ผิวใบนุ่ม (tender) สีใบด้านหน้าเขียวอมเหลืองอ่อน ถึงเขียวเข้ม ค่อนข้างมัน สีใบด้านหลังเขียวอมเหลืองเข้มกว่าด้านหน้าและผิวด้านเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ด้านหลังนูนขึ้นเป็นสันเล็กน้อย เส้นใบแตกแบบขนนก (pinnate) ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ก้านใบมีขนปกคลุมหนาแน่น ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลมีขนละเอียดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรคลุมอยู่มาก หูใบแหลม (filiform) สั้น 0.5-1 มิลลิเมตร ออกดอกเดือน พฤศจิกายน – มกราคม ดอกออกที่ตาข้างช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ยาว 6.43-14.29 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่ว จำนวน 6-35 ดอกต่อช่อ เกิดเรียงสลับรอบแกนช่อดอก กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกด้านในสีม่วงอมแดงเข้ม ผลเป็นฝักยาวค่อนข้างแบน มีขนคลุม

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่ในพื้นที่มีร่มเงาเล็กน้อย ดินเหนียว เนื้อดินละเอียด เช่น พื้นที่ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (PC 591)

คุณค่าทางอาหาร ส่วนใบและเถาอ่อน มีค่าโปรตีน 13.34 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 29.14 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.18 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 6.87 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท(NFE) 48.47 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วนADF 33.38 เปอร์เซ็นต์ NDF 45.11 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 9.88 เปอร์เซ็นต์

การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ ยาพื้นบ้าน ล้านนา ใช้ใบหรือรากผสมใบโผงเผง บดเป็นผงละเอียดปั้นเป็นยาลูกกลอนกินแก้ไข้ (วงศ์สถิตย์และคณะ, 2539)



ก้นบึ้งเล็ก

ก้นบึ้งเล็ก

วงศ์ PAPILIONOIDEAE
Campylotropis parviflora (Kurz) Schindl. ex Gagnep.

ชื่อสามัญ ก้นบึ้งเล็ก หิ่งเม่น (เชียงใหม่) เลือดใน (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาตร์และเกษตร เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 1.0 – 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9.5 – 12.5 มิลลิเมตร ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อย 3 ใบ รูปรี (elliptic) หรือรูปขอบขนาน (oblong) ใบบนสุดกว้าง 1.1 – 3.2 เซนติเมตร ยาว 3.2 - 5.0 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 1.2 - 2.9 เซนติเมตร ยาว 2.6 – 4.4 เซนติเมตร หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก ช่อดอกยาว 10.5 – 12.8 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบน ค่อนข้างกลม มี 1 เมล็ด ออกดอกมากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และต้นฤดูฝนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบในสภาพพื้นที่เป็นเขา อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ (PC 189) ซึ่งมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 893 เมตร

การใช้ประโยชน์ ยาพื้นบ้าน ใช้รากต้มน้ำดื่ม ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ (วงศ์สถิต และคณะ, 2543)


วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

หญ้าเนเปียร์

หญ้าเนเปียร์ (Pennisetum purpureum)

เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี สายพันธุ์ที่นิยมปลูก คือ หญ้าเนเปียร์แคระ (P. purpureum. Cr. Mott.) หญ้าเนเปียร์ (ธรรมดา) และหญ้าเนเปียร์ลูกผสม (P. Purpureum x P. americanum) ซึ่งมี 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าเนเปียร์ยักษ์ และหญ้าบาน่า หญ้าเนเปียร์แคระสูง 1- 2 เมตร แตกกอดี ใบมาก ส่วนหญ้าเนเปียร์ธรรมดา และเนเปียร์ลูกผสมสูง 3- 4 เมตร ทุกสายพันธุ์เจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 3-4 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน 8–10 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน ไถพรวน 2 ถึง 3 ครั้ง ย่อยดินให้มีขนาดเล็กและร่วนซุย

การปลูก ปลูกได้ด้วยท่อนพันธุ์ ระยะปลูก 75x75 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 2 ท่อน ให้ข้ออยู่ใต้ดินลึก 1- 2 นิ้ว ในพื้นที่ 1 ไร่ ใช้ท่อนพันธุ์ 300- 500 กิโลกรัม

การใส่ปุ๋ย ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังการตัดทุกครั้ง

การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชภายหลังจากปลูกหญ้า 2-4 สัปดาห์

การใช้ประโยชน์ การตัดหญ้าเนเปียร์ไปเลี้ยงสัตว์ ควรตัดครั้งแรก 60-70 วันหลังปลูก และตัดหญ้าครั้งต่อไปทุก 30-45 วัน ช่วงฤดูฝนหญ้าโตเร็ว อาจตัดอายุน้อยกว่า 30 วัน โดยตัดชิดดิน หญ้าเนเปียร์เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ กระบือ ในรูปหญ้าสด หรือหญ้าหมัก ไม่เหมาะสำหรับทำหญ้าแห้ง


ถั่วไมยรา

ถั่วไมยรา (Desmanthus virgatus)

ถั่วไมยราหรือถั่วเดสแมนธัส หรือ เฮดจ์ลูเซอร์น เป็นพืชมีอายุหลายปี เป็นไม้ทรงพุ่มค่อนข้างตั้งตรง สูง 2.0–3.5 เมตร ใบและดอกคล้ายกระถิน แต่มีขนาดเล็กกว่า เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนในดินเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขัง และดินกรดจัด ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2 – 3 ตันต่อไร่ต่อปี มีโปรตีนประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน ไถย่อยดิน โดยไถพรวน 2 – 3 ครั้ง ปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ

การปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ ก่อนปลูกแช่น้ำร้อนอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที โรยเมล็ดเป็นแถว แต่ละแถวห่างกัน 30- 60 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยผสมสูตร 12-24-12 อัตราประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และอาจมีการใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย ส่วนในปีต่อ ๆ ไป ควรใส่ปุ๋ยเช่นเดียวกันกับปีแรกในช่วงต้นฤดูฝน

การกำจัดวัชพืช ควรกำจัดวัชพืชครั้งแรกหลังจากปลูก 2-4 สัปดาห์ และหากมีวัชพืชขึ้นหนาแน่น ควรมีการกำจัดวัชพืชตามความจำเป็น

การใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ การตัดถั่วไมยราครั้งแรก ควรตัดที่อายุ 60-70 วัน และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 30-45 วัน โดยตัดสูงจากพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร สามารถนำไปใช้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ กระบือ ทั้งในรูปถั่วสดและแห้ง



วันพุธที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2553

ถั่วคาวาลเคด

ถั่วคาวาลเคด (Centrosema pascuorum cv. Cavalcade)
เป็นพืชฤดูเดียว เถาเลื้อยใบดกมีสัดส่วนของใบมากกว่าลำต้น และเมื่อแห้งใบจะไม่ร่วงหล่นง่ายเหมาะสำหรับใช้ทำถั่วแห้งอัดฟ่อน จะให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 1 ตันต่อไร่ มีโปรตีน 14-18 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน ไถย่อยดิน โดยไถพรวน 2 – 3 ครั้ง ปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ

การปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์ถั่วคาวาลเคดอัตรา 4 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเป็นแถวให้แต่ละแถวห่างกัน 25- 50 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย ควรมีการใส่ปุ๋ยผสมสูตร 12-24-12 เป็นปุ๋ยรองพื้นในอัตราประมาณ 50 กิโลกรัมต่อไร่ และอาจจะต้องมีการใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยการกำจัดวัชพืช
การกำจัดวัชพืช กำจัดครั้งแรกเมื่อถั่วมีอายุ 3-4 สัปดาห์ และหลังจากนี้ถ้าวัชพืชขึ้นหนาแน่น ควรมีการกำจัดวัชพืชอีกครั้งหนึ่ง

การใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์
การตัดถั่วคาวาลเคดเพื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์ ควรตัดเมื่อถั่วมีอายุ 60-90 วัน และตัดสูงจากพื้นดิน 10- 20 เซนติเมตร สามารถตัดถั่วได้ 2-3 ครั้ง สามารถใช้เลี้ยงโคในรูปถั่วสดและแห้ง


ถั่วท่าพระสไตโล

ถั่วท่าพระสไตโล (Stylosanthes guianensis CIAT 184)

เป็นถั่วอายุสั้น 2–3 ปี มีทรงพุ่มตั้ง ขนาดต้นและทรงพุ่มใหญ่กว่าถั่วฮามาต้า ต้าทานโรคแอนแทคโนส แต่ไม่ชอบดินเค็มและดินด่าง (pH มากกว่า 8.5) ไม่ทนต่อการแทะเล็มเหยียบย่ำ หรือตัดบ่อย ๆ ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 1.5 – 2.5 ตันต่อไร่ต่อปีการปลูก

การเตรียมดิน ไถย่อยดินให้ดีเป็นพิเศษ โดยไถพรวน 2 – 3 ครั้ง ปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ

การปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเป็นแถวให้แต่ละแถวห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร หรือหว่านเมล็ดให้ทั่วทั้งแปลง ก่อนปลูกต้องแช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที

การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยผสมสูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และอาจจะต้องใส่ปุ๋ยคอก ส่วนในปีต่อ ๆ ไป ควรใส่ปุ๋ยทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-46-0) อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ ในต้นฤดูฝนของทุกปี

การกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืชครั้งแรกหลังจากปลูกถั่ว 3-4 สัปดาห์ และหลังจากนี้ประมาณ 1-2 เดือน วัชพืชขึ้นหนาแน่น ควรกำจัดวัชพืชอีกครั้งหนึ่ง

การใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ ตัดไปใช้เลี้ยงสัตว์ครั้งแรก เมื่ออายุ 80-90 วัน หลังจากนั้นตัดทุก 60-75 วัน โดยตัดสูงจากพื้นดินประมาณ 15 เซนติเมตร สามารถใช้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ กระบือในรูปถั่วสดและแห้ง

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

หญ้าโร้ด

หญ้าโร้ดส์ (Chloris gayana)

เป็นหญ้าอายุหลายปี ทนแล้งได้ดี ทนต่อสภาพน้ำขังได้เป็นครั้งคราว ทนต่อการแทะเล็มได้ดี ทนต่อสภาพดินเค็มได้ดีกว่าหญ้าอื่น ๆ หลายชนิด ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 2.0-2.5 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน 8-10 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน ไถย่อยดินให้ละเอียด โดยการไถพรวน 2 ถึง 3 ครั้ง ปรับหน้าดินให้ราบเรียบสม่ำเสมอ

การปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการหว่าน หรือปลูกเป็นแถวห่างกัน 50 เซนติเมตร เมล็ดพันธุ์หญ้าโร้ดมีขนและเบามากก่อนหว่านแนะนำให้ผสมเมล็ดพันธุ์กับขี้เลื้อยหรือทราย

การใส่ปุ๋ย ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังการตัดทุกครั้ง

การกำจัดวัชพืช ควรมีการกำจัดวัชพืชหลังปลูกหญ้า 2-4 สัปดาห์

การใช้ประโยชน์ การตัดหญ้าโร้ดไปใช้เลี้ยงสัตว์ ควรตัดครั้งแรก 60-70 วันหลังปลูก โดยตัดสูงจากพื้นดิน 10- 15 เซนติเมตร สำหรับการปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็ม ควรปล่อยเข้าครั้งแรกเมื่อหญ้าอายุ 70-90 วัน หลังจากนั้นจึงทำการตัด หรือปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มหมุนเวียนทุก 30-45 วัน ในช่วงฤดูฝนหญ้าโตเร็ว อาจตัดใช้ประโยชน์ได้ที่อายุน้อยกว่า 30 วัน หญ้าโร้ดเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้งหรือหญ้าหมัก

หญ้าพลิแคทูลั่ม

หญ้าพลิแคทูลั่ม (Paspalum plicatulum)

เป็นหญ้าอายุหลายปี ต้นตั้งเป็นกอ เจริญเติบโตได้ในดินทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ทนต่อสภาพแห้งแล้ง ทนน้ำท่วมขัง ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 1.5-2.0 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน 7-8 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน ไถย่อยดินให้ละเอียด โดยไถพรวน 2 ถึง 3 ครั้ง ปรับหน้าดินให้ราบเรียบสม่ำเสมอ

การปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์อัตรา 2 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการหว่าน หรือปลูกเป็นแถว ๆ ห่างกัน 50 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย ก่อนปลูกควรมีการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-8 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อไร่ หลังการตัดทุกครั้ง
การกำจัดวัชพืช ควรมีการกำจัดวัชพืชหลังปลูกหญ้า 2-4 สัปดาห์

การใช้ประโยชน์ การตัดหญ้าพลิแคทูลั่มไปใช้เลี้ยงสัตว์ ควรตัดครั้งแรก 60-70 วันหลังปลูก โดยตัดสูงจากพื้นดิน 10- 15 เซนติเมตร สำหรับการปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มในแปลงหญ้า ควรปล่อยเข้าครั้งแรกเมื่อหญ้าอายุ 70-90 วัน หลังจากนั้นจึงทำการตัด หรือปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มหมุนเวียนทุก 30-45 วัน หญ้าพลิแคทูลั่มเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้ง หรือหญ้าหมัก

วันจันทร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2553

ถั่วฮามาต้า

ถั่วฮามาต้า (Stylosanthes hamata cv. Verano)


เป็นถั่วอายุ 2-3 ปี มีทรงพุ่มเตี้ยตั้งตรงเหมาะปลูกในพื้นที่ดอน ทนสภาพแห้งแล้ง เจริญเติบโตได้ดีตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินร่วนปนเหนียว ทนแทะเล็มและเหยียบย่ำ ไม่ทนสภาพชื้นแฉะและน้ำท่วมขัง ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 1.5-2.0 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน 16-18 เปอร์เซ็นต์

การเตรียมดิน ไถย่อยดินให้ดีเป็นพิเศษ โดยไถพรวน 2 – 3 ครั้ง ปรับหน้าดินให้สม่ำเสมอ


การปลูก ใช้เมล็ดหว่านในอัตรา 1.5 – 2 กก.ต่อไร่ หรือโรยเป็นแถว ๆ ห่างกัน 30- 50 เซนติเมตร ก่อนปลูกควรเร่งความงอกของเมล็ด โดยแช่เมล็ดในน้ำร้อนอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส นาน 5-10 นาที


การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 12-24-12 ในอัตรา 30 ถึง 50 กิโลกรัมต่อไร่ อาจใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน และควรใส่ปุ๋ยทริปเปิลฟอสเฟต (0-46-0) ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ทุก ๆ ปี ในช่วงต้นฤดูฝน

การกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืช 3-4 สัปดาห์หลังปลูก หลังจากนั้น 1-2 เดือน กำจัดอีกครั้ง

การใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ ควรตัดครั้งแรก เมื่ออายุ 60-70 วัน โดยตัดสูงจากพื้นดิน 10 – 15 เซนติเมตร ควรปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มครั้งแรก เมื่ออายุ 70-80 วัน หลังจากนั้นจะตัดหรือปล่อยเข้าแทะเล็มทุก 30-45 วัน เหมาะเลี้ยงโคในรูปสดหรือแห้งได้




หญ้าอะตาตรัม

หญ้าอะตาตรัม Paspalum atratum

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นหญ้าที่มีอายุหลายปี ลักษณะลำต้นตั้งเป็นกอสูงประมาณ 1-2 เมตร กอใหญ่ ใบกว้าง ถ้าปลูกในพื้นที่ซึ่ง มีสภาพแวดล้อม เหมาะสมจะมีใบดก ทนแล้งและทนน้ำท่วม ขังได้ดี ขยายพันธุ์ได้ทั้งเมล็ดและหน่อพันธุ์ให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งประมาณ 3 - 4 ตันต่อไร่ต่อปี มีโปรตีน ประมาณ 7 - 8 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับปลูกเพื่อตัดสดเลี้ยงสัตว์

การเตรียมพื้นที่

หากปลูกด้วยเมล็ดควรเตรียมดินให้ดี โดยไถพรวน 2 - 3 ครั้ง

การปลูก

ปลูกโดยหยอดเมล็ดเป็นแถว อัตรา 2 ก.ก.ต่อไร่ ระยะห่างระหว่างแถว 30-50 ซ.ม. หรือใช้หน่อพันธุ์ปลูกระยะระหว่างต้นและ แถวห่างกัน 50 ซม.

การใส่ปุ๋ย

ก่อนปลูกควรมีการใส่ปุ๋ยรองพื้นสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 ก.ก.ต่อไร่ นอกจากนี้ อาจมีการใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย เพื่อเพิ่มอินทรีย์ วัตถุในดิน ในการดูแลรักษาแปลงหญ้าหลังการตัด ทุกครั้งควรใส่ปุ่ยยูเรียในอัตรา 10 กก.ต่อไร่

การควบคุมวัชพืช

กำจัดวัชพืชครั้งแรก 3-4 สัปดาห์แรกหลังปลูก และกำจัดวัชพืชครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกอีก 2 เดือน

การใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์

การตัดเพื่อนำให้สัตว์กินควรตัดครั้งแรกเมื่อหญ้ามีอายุ 45-60 วัน หลังจากนั้นจึงจะทำการตัดทุก ๆ 25-30 วัน โดยตัดชิดดิน เหมาะที่จะใช้เลี้ยงโคกระบือในรูปหญ้าสด

การเก็บถนอมพืชอาหารสัตว์

สามารถเก็บถนอมในรูปหญ้าหมักได้



วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

หญ้าแพงโกล่า

หญ้าแพงโกล่า Digitaria eriantha

ลักษณะของหญ้า เป็นหญ้าที่มีลำต้นเล็ก ไม่มีขน มีอายุหลายปี ต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย ความยาว 40-64 เชนติเมตร มีปล้องประมาณ 7-13 ปล้อง ใบมีลักษณะเรียวเล็กยาวประมาณ 12-19 เชนติเมตร ใบกว้าง 4 มิลิเมตร ใบดกอ่อนนุ่ม เมื่ออายุมากลำต้นจะทอดไปตามผิวดิน มีรากและแตกหนอตามข้อ เป็นหญ้าอายุที่มีหลายปี ลำต้นเล็ก ไม่มีขน ใบเล็กเรียวยาว ใบดกอ่อนนุ่ม

การปลูก ใช้ท่อนพันธุ์อายุไม่น้อยกว่า 60 วัน อัตรา 250-300 กิโลกรัมต่อไร่

พื้นที่ลุ่ม ทำเทือกแบบนาหว่านน้ำตม ปรับระดับน้ำให้สูง 10-15 เซนติเมตร หว่านท่อนพันธุ์ให้ทั่วแปลง แล้วนาบกดท่อนพันธุ์ให้จมน้ำ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วระบายน้ำออก
พื้นที่ดอน หลังจากไถพรวนแล้ว ชักร่องห่างกัน 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร วางท่อนพันธุ์ 3-5 ท่อน เรียงต่อกันเป็นแถว ใช้ดินกลบเล็กน้อยและเหยียบให้แน่น

ปลูกได้ทั้งสภาพดินทรายถึงทนแล้ง ทนน้ำท่วมขัง แต่ไม่ชอบ ถ้าควบคุมน้ำได้จะให้ผลผลิตทั้งปี เจริญเติบโตดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน

การใส่ปุ๋ย ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย ในแต่ละรอบของการตัดควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 2 ครั้ง ๆ ละ 10 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งแรกหลังตัด 1 วัน และครั้งที่ 2 หลังตัด 10-15 วัน
การกำจัดวัชพืช ใช้วิธีการตัดปรับทุกๆ 45-60 วัน 2-3 ครั้ง หรือใช้สารกำจัดวัชพืช 2, 4-D

ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนาการ ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 5.0-7.0 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน 7-11 เปอร์เซ็นต์ ปลูกครั้งหนึ่งจะเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 5 ปี

การใช้ประโยชน์ การตัดหญ้าแพงโกล่าไปใช้เลี้ยงสัตว์ ควรตัดหญ้าครั้งแรก 60 วันหลังปลูก และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 40 วัน โดยตัดสูงจากพื้นดิน 5-10 เซนติเมตร การปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มครั้งแรกควรปล่อยเมื่อหญ้าอายุ 90 วัน หญ้าแพงโกล่าเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโค กระบือ ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้ง (มีความเหมาะสมต่อการทำหญ้าแห้ง) หรือหญ้าหมัก
Digitaria eriantha

การปลูกหญ้าแพงโกล่าพื้นที่ดอน

•การเตรียดิน
ทำการไถพรวนดิน 2-3 ครั้ง โดยครั้งแรกทำการไถกลับหน้าดินและกำจัดวัชพืชที่ปกคลุมดินอยู่ ส่วนการไถครั้งที่ 2 และ 3 เพื่อทำการทำลายวัชพืชที่ขึ้นมาใหม่และเพื่อย่อยดินให้ละเอียดและปรับหน้าดินให้เรียบ จากนั้นทำการชักร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร

•การเตรียมท่อนพันธุ์
ท่อนพันธุ์ของหญ้าแพงโกล่าที่จะใช้ปลูกต้องไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป มีอายุประมาณ 60 วัน ความยาวของต้นประมาณ 60 เซนติเมตร ขอควรระวังคือ ท่อนพันธุ์ที่ตัดมาแล้วควรนำไปปลูกทันทีไม่ควรทิ้งท่อนไว้นาน เพราะจะทำให้การเจริญเติบโตของท่อนพันธุ์หลังทำการปลูกลดลง แต่หากเกษตรกรจำเป็นต้องเก็บท่อนพันธุ์ไว้ ควรเก็บท่อนพันธุ์ไว้ในที่ร่มและควรทำการรดน้ำให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา

•การปลูก
วางท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าประมาณ 3-5 ท่อน เรียงกันเป็นแถวตามแนวร่องที่ขุดไว้ ใช้ท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าประมาณ 100-150 กิโลกรัม จากนั้นนำดินกลบท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าบาง ๆ เป็นระยะโดยให้เหลือเฉพาะส่วนยอด

•การให้น้ำ
ควรให้น้ำหญ้าแพงโกล่าอย่างสม่ำเสมอในช่วงฤดูแล้ง หรือเกษตรกรจะใช้วิธีรดน้ำแบบปริงเกอร์ประมาณ 7 วัน ๆ ละประมาณ 4-6 ชั่วโมง

•การให้ปุ๋ย
เกษตรกรควรให้ปุ๋ยหญ้าแพงโกล่าสูตร 15-15-15 อัตราส่วน 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยรองพื้นก่อนทำการปลูกหญ้าและให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหรือปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 อัตราส่วน 10-20 กิโลกรัมต่อไร่หลังจากตัดหญ้าแพงโกล่าทุกครั้ง และในปีต่อ ๆ ไปเกษตรกรควรใส่ปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 รองพื้นในช่วงต้นฤดูฝนทุก ๆ ปี

•การกำจัดวัชพืช
เกษตรกรควรใช้จอบถากวัชพืชหลังจากทำการปลูกหญ้าแพงโกล่าได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ และหลังจากที่หญ้าแพงโกล่าเจริญเติบโตเต็มที่แล้วเกษตรกรควรกำจัดวัชพืชประมาณ 2-3 ครั้ง ทั้งนี้ให้เกษตรกรดูการเจริญเติบโตของวัชพืชว่ามากน้อยเพียงใด

การปลูกหญ้าแพงโกล่าพื้นที่ลุ่ม
หญ้าแพงโกล่า Digitaria decumbens มีการเจริญเติบโตแบบกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย ลำต้นนอนไปตามพื้นดิน มีรากและหน่ออ่อนงอกมาตามข้อ หญ้าแพงโกล่ามีใบยาวเรียวเล็ก มีขนเล็กน้อย หญ้าแพงโกล่าสามารถขึ้นได้ทั้งดินทรายและดินเหนียวทนต่ออากาศแล้งได้ดี

•การเตรียมดินสำหรับพื้นที่ลุ่ม
ไถกลับหน้าดินและทำการกำจัดวัชพืช และไถพรวนครั้งที่ 2 หลังจากที่วัชพืชเน่าและตายแล้ว เพื่อย่อยดินให้ละเอียด จากนั้นแบ่งแปลงปลูกหญ้าแพงโกล่าออกเป็นขนาดย่อย คาดปรับสภาพพื้นดินให้เรียบ จากนั้นปล่อยน้ำเข้าแปลงทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงทำการตีเทือกด้วยจอบหมุนหรือคราด

•การเตรียมท่อนพันธุ์
ท่อนพันธุ์ของหญ้าแพงโกล่าที่จะใช้ปลูกต้องไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป มีอายุประมาณ 60 วัน ความยาวของต้นประมาณ 60 เซนติเมตร ขอควรระวังคือ ท่อนพันธุ์ที่ตัดมาแล้วควรนำไปปลูกทันทีไม่ควรทิ้งท่อนไว้นาน เพราะจะทำให้การเจริญเติบโตของท่อนพันธุ์หลังทำการปลูกลดลง แต่หากเกษตรกรจำเป็นต้องเก็บท่อนพันธุ์ไว้ ควรเก็บท่อนพันธุ์ไว้ในที่ร่มและควรทำการรดน้ำให้ชุ่มชื้นตลอดเวลา

•การปลูก
การปลูกหญ้าแพงโกล่าในพื้นที่ลุ่มสามารถทำได้ทั้งการปักดำหรือหว่านท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าก็ได้ โดยจะใช้ท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นใช้ลูกกลิ้งคราดหรือขลุบทับให้ท่อนพันธุ์บางส่วนจมดิน

•การให้น้ำ
หากหญ้าแพงโกล่าปลูกในพื้นที่ชลประทาน ควรปล่อยน้ำให้ท่วมแปลงทันทีหลังจากปลูกหญ้า และต่อจากนั้นควรให้น้ำในช่วงฝนแล้งทุก ๆ 15 วัน

•การใส่ปุ๋ย
ควรใช้ปุ๋ยผสมสำหรับนาข้าว สูตร 16-20-0 หรือ 16-16-8 อัตราส่วน 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นก่อนทำการปลูกหญ้า หว่านปุ๋ยให้สม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงหลังจากที่เกษตรกรระบายน้ำออกและทำเทือกพร้อมที่จะปลูกหญ้า เมื่อหญ้าตั้งตัวเกษตรกรควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนหลังจากให้น้ำทุกครั้งเพื่อเร่งการเจริญเติบโต นอกจากนี้ในการตัดหญ้าแต่ละครั้งเกษตรกรก็ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนทุกครั้ง

•การกำจัดวัชพืช
ควรทำการกำจัดวัชพืชหลังจากทำการปลูกหญ้าแพงโกล่าประมาณ 30 วัน โดยจะใช้แรงงานคนหรือสารเคมีก็ได้ สารเคมีที่ใช้ คือ สารเคมีที่ใช้ในนาข้าว อัตราส่วน 30 กรัมต่อ น้ำ 20 ลิตร (1 ปีบ) โดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลง

หญ้ากินนีสีม่วง

หญ้ากินนี่สีม่วง Panicum maximum

ประวัติความเป็นมา

หญ้ากินนีสีม่วง (Purple guinea) เป็นหญ้าในสกุลกินนี (Panicum maximum) นายกีร์ โรแบร์ ที่ปรึกษา กรป.กลาง นำมาจากประเทศไอเวอรี่โคส ทวีปอัฟริกา ประมาณปี พ.ศ. 2518 ปลูกครั้งแรกที่จังหวัดสกลนคร ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพดี สามารถผลิตเมล็ดพันธุ์ได้ดี เป็นที่นิยมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคอย่างแพร่หลาย กรมปศุสัตว์ได้เริ่มขยายพันธุ์เพื่อผลิตเมล็ดในหน่วยงานของกองอาหารสัตว์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และส่งเสริมให้เกษตรกร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์จำหน่าย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2537 สามารถผลิตเมล็ดได้ทั้งหมด 14.8 ตัน โดยสถานีอาหารสัตว์ ผลิตได้ 4.8 ตัน ที่เหลือผลิตโดยเกษตรกร ส่วนในปี พ.ศ. 2538 มีเป้าหมายการผลิตถึง 183 ตัว (กองอาหารสัตว์, 2537)

ลักษณะทั่วไป

หญ้ากินนีสีม่วงเป็นพืชที่มีอายุหลายปี การเจริญเติบโตเป็นแบบกอตั้งตรง มีใบขนาดใหญ่ ดก อ่อนนุ่ม มีลำต้นสูงใหญ่กว่าหญ้ากินนีธรรมดา ส่วนของข้อปล้อง กลุ่มดอก (Spilelets) และเมล็ดสีม่วงอมเขียวต่างจากหญ้ากินนีพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีสีเขียว ขนาดของเมล็ดใหญ่กว่ากินนีธรรมดา หญ้ากินนีสีม่วงมีช่วงเวลาของการเจริญเติบโต ก่อนออกดอกอยู่ระหว่าง 90-110 วัน ความสูงเมื่อเริ่มออกดอก ประมาณ 220 เซนติเมตร (ศศิธร และคณะ, 2536 ก) สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพร่มเงา เช่นเดียวกับหญ้ากินนีธรรมดาหญ้ากินนีสีม่วงสามารถปลูกได้เกือบทุกสภาพพื้นที่ ตั้งแต่ดินเหนียว จนถึงดินทราย ทนทานต่อสภาพดินค่อนข้างเค็ม ทนแล้ง และสามารถตอบสนองต่อการให้น้ำ และปุ๋ยได้ดี

การผลิตเมล็ดพันธุ์

การปลูกและการดูแลรักษา ช่วงเวลาปลูก

ควรปลูกตั้งแต่ต้นฤดูฝน ในเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม เพื่อให้ญ้าตั้งตัวได้ในช่วงฤดูฝน

การเลือกพื้นที่ปลูก


ควรเป็นที่ดอน มีการระบายน้ำดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร

การปลูก

ปลูกเช่นเดียวกับการปลูกเพื่อใช้เลี้ยงสัตว์ แต่ใช้ระยะปลูกที่ห่างกว่าคือ ระยะระหว่างแถว 50x50 เซนติเมตร หรือ 75x25 เซนติเมตร

การใส่ปุ๋ย

ปุ๋ยไนโตรเจน ค่อนข้างมีความสำคัญต่อผลผลิตเมล็ดหญ้า ดังนั้น ควรใช้ปุ๋ยผสมสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และให ้ปู่ยอีกครั้งก่อนหญ้าออกดอก 1 เดือน โดยใช้แอมโมเนียมซัลเฟต 30 กิโลกรัมต่อไร่ หรือยูเรีย 15 กิโลกรัมต่อไร่ ควรใส่ในขณะที่ดินมีความชื้นเหมาะสม

การเก็บเกี่ยว

หญ้ากินนีสีม่วง จะออกดอกในเดือนกันยายน-ตุลาคม ช่วงการออกดอกช้า และยาวนานกว่ากินนีพันธุ์อื่น ๆ (ศศิธร และคณะ, 2536ก) โดยทั่วไปหญ้ากินนีจะออกดอกไม่พร้อมกัน ทำให้การสุกแก่ไม่พร้อมกัน การกำหนดระยะเวลาเก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์เพียงครั้งเดียวทำได้ยาก วิธีการที่น่าจะได้ผลดี ควรเป็นวิธีการเคาะช่อดอก ให้เมล็ดแก่ร่วงลงในภาชนะทุก 3-5 วัน จนเมล็ดหมด สำหรับในพื้นที่ขนาดใหญ่ ที่มีความจำเป็นต้องเกี่ยวให้ทัน ก่อนที่เมล็ดจะร่วงหล่นเสียหาย ยังต้องใช้วิธีการเกี่ยวช่อดอกบ่ม แต่วิธีนี้จะทำให้ได้ผลผลิต และคุณภาพต่ำกว่าวิธีการเคาะช่อดอก การเคาะช่อดอกควรเริ่มเคาะในช่วงประมาณ 10 วันหลังออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ (วีระศักดิ์ และคณะ, 2536) ในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกรจะมีการมัดช่อดอกภายในกอรวมกันเมื่อเริ่มออกดอก เพื่อสะดวกในการเคาะ และถ้าใช้ถุงตาข่ายไนล่อนคลุมช่อดอก เพื่อให้เมล็ดร่วงลงในถุง แล้วเอาเมล็ดออกทุก 3-5 วัน จะทำให้ผลผลิตและคุณภาพของเมล็ดสูงขึ้น (ตา รางที่ 9) แต่ค่าใช้จ่ายก็จะสูงเพิ่มมากขึ้นด้วย ในแปลงทดสอบของสถานีอาหารสัตว์สกลนคร การเคาะช่อดอกจะทำให้ได้ผลผลิต 60 กิโลกรัมต่อไร่ (ธวัช และชุมพล, 2537)

คุณภาพเมล็ดพันธุ์

คุณภาพเมล็ดพันธุ์หญ้ากินนีสีม่วง จะดีกว่าหญ้ากินนีธรรมดาและเฮมิลกินนี ไม่ว่าจะเป็นความบริสุทธิ์หรือความงอก (ตารางที่ 10) กองอาห ารสัตว์กำหนดมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ หญ้ากินนีสีม่วงที่ผลิตได้ ต้องมีความบริสุทธิ์ 50 เปอร์เซนต์ ความงอก 40 เปอร์เซ็นต์

สรุป

หญ้ากินนีสีม่วงเป็นหญ้าอายุหลายปี ขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพร่มเงา ขยายพันธุ์ได้ด้วยเมล็ด ใช้อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดมีคุณภาพดีกว่าหญ้าในกลุ่มกินนีด้วยกัน ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และปุ๋ยคอกได้ดีควรตัดหญ้าเลี้ยงสัตว์ครั้งแรกหลังปลูก 70 วัน และหลังจากนั้น ควรตัดทุก 30-45 วันได้ผลผลิตปีละ 1.5-4 ตันต่อไร่ มีโปรตีนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นหญ้าที่มีคุณค่าทางอาหารอยู่ในเกณฑ์ที่ดี สามารถนำไปเลี้ยงแม่โคที่ให้นมในระดับวันละ 8-10 กิโลกรัม ได้โดยไม่ต้องให้อาหารข้นเสริม ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ หญ้ากินนีสีม่วงเริ่มออกดอกระหว่างเดอนกันยายน-ตุลาคม และเก็บเมล็ดในเดือนพฤศจิกายน ให้ผลผลิตเมล็ดประมาณ 50-90 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีเคาะช่อดอก ซึ่งจะให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี


วันเสาร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

ว่านกระแจะจันทน์

ชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia

วงศ์
ZINGIBERACEAE

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ล้มลุก หัวเป็นแง่ง ลักษณะกลมยาว ออกติดต่อกันกระจายคล้ายหวีกล้วยและลูกกล้วย เนื้อในของแง่งสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอมฉุนรุนแรงมาก ใบและลำต้นคล้ายเปราะหอม ก้านใบสั้นหรือยาวประมาณ 3-4 ซม. ด้านในเป็นร่องกว้าง ด้านนอกกลมนูน ใบรูปกลมรีแข็งแรงและใหญ่กว่าใบเปราะ ขนาดกว้าง 8-10 ซม. ยาว 10-12 ซม. ปลายใบมนแหลม โคนใบมน แผ่นใบอยู่ในลักษณะนอนขนานกับพื้นดิน ทางด้านบนเส้นกลางใบและเส้นใบเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน แผ่นใบด้านบนสีเขียวเข้มกว่าด้านล่างขอบใบมีขลิบสีแดงทั้งด้านบนและด้านล่าง

การปลูก
ใช้ดินที่สะอาด จะเป็นดินกลางแจ้ง ดินกลางนา หรือดินเผาไฟ ได้ทั้งนั้น ผสมอิฐหักทุบละเอียดรวมด้วย หรือไม่ก็เป็นผงถ่านก็ได้ ไม่ต้องใส่ปุ๋ยก็จะงอกงามดีตามธรรมชาติ หากปลูกลงกระถางให้ใช้กระถางทรงเตี้ยใบใหญ่ใส่ดิน สามในสี่ของกระถาง เพื่อใบจะได้โผล่ออกมาที่ปากกระถางเสมอกันพอดี

การขยายพันธุ์
โดยการแยกหน่อ

ความเป็นมงคล
ปลูกไว้เป็นเมตตามหานิยมในการเข้าหาผู้ใหญ่ ให้เกิดความเมตตาสงสารเมื่อไปขอความช่วยเหลือให้ทำการใดๆ และใช้ในการทำเสน่ห์จะมีอานุภาพมากในทางการค้าขาย นักขายเร่มักพกติดตัวไว้ เพราะเป็นเสน่ห์ทั้งตนเองและสินค้าที่นำไปขาย เข้าหาใครไม่มีใครรังเกียจ มีแต่ให้การต้อนรับเจรจาความด้วยดีทำให้ขายได้ มีกำไรดี เป็นว่านที่มีกลิ่นหอมแรงมาก จึงนิยมนำว่านนี้มาบดละเอียด แล้วคลุกเข้าด้วยกันกับแป้งหอมหรือเครื่องหอมต่างๆ เป็นเครื่องสำอางมาตั้งแต่สมัยโบราณ

จากเว็บ http://www.panmai.com


แก้วมือไว

แก้วมือไว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterolobium integrum Craib.

วงศ์
: Papilionoideae


ชื่อสามัญ
: flowered beggarweed


ชื่ออื่น
: กะเทว, กะแท้วแดง (เลย) ; แก้วตาไว, แก้วมือไว (ภาคกลาง) ; ขี้แร็ก (ราชบุรี) ; เด่นแทว (ภาคตะวันออก) ; เขนแทว, ทับเพียว (นครราชสีมา) ; หนามเล็บแมว, หนามเหียง (ตาก)


ลักษณะทั่วไป
: เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก อายุหลายปี แตกกิ่งก้านมาก ต้นตั้งสูง 63.75-100.97 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 7.37-11.05 มิลลิเมตร ลำต้นเหนียว สีเขียวอมน้ำตาล มีขนสีขาวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) เรียงตรงข้ามกัน (opposite) ใบเป็นแบบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ (ovate-oblong) โคนใบกลม ปลายใบเว้าบุ่ม (retuse) มีติ่ง ขนาดใบยาว 1.9-2.5 เซนติเมตร กว้าง 0.9-1.3 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ สีขาวปกคลุมหนาแน่น ใบสีเขียว ผิวใบนุ่ม เส้นกลางใบ (mid rib) เล็กยาวจากโคนถึงปลายใบ เส้นใบ (vein) เรียงตัวแบบโค้งจรดกัน (anastomosing) เส้นใบด้านหลังมองด้วยตาเปล่าไม่ชัดเจน ขอบใบเรียบ (entire) หูใบ (stipule) แบบรูปเข็มแหลม (filiform) สีม่วงอมแดง ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ก้านใบรวมยาว 4.22-5.92 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 1-2 มิลลิเมตร และมีขนคลุม ออกดอกเดือน มิถุนายน-มีนาคม ช่อดอกขนาดเล็กออกที่ตาข้างแบบช่อกระจะ (raceme)มีจำนวนมาก ช่อดอกยาว 1.14-1.8 เซนติเมตร ช่อดอกย่อยยาว 0.4-0.6 เซนติเมตร มี 8-26 ดอกต่อช่อ ก้านช่อดอกสั้นมาก ยาว 0.05-0.2 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่ว กลีบกลาง (standard) สีเขียวอมแดง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูอมส้ม กลีบคู่ล่าง (keel) สีเขียว ฝักรูปทรงกระบอกกลม มี 10-21 ฝักต่อช่อ ฝักยาว 2.36-2.8 เซนติเมตร กว้าง 0.18-0.26 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด


ประโยชน์ : ส่วนยอดอ่อนและใบ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ


จากเว็บ http://www.rspg.or.th

วันศุกร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2553

ขางครั่ง

ขางครั่ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dunbaria bella L. วงศ์ : Leguminosae-Papilionoideae ชื่ออื่น : ขางครั่ง (ลำพูน) ; ดอกครั่ง (เชียงใหม่) ; เถาครั่ง (เลย)

ลักษณะ : เป็นพืชอายุค้างปี ลำต้นเป็นเถาเลื้อยพัน (twinning) ลำต้นยาวประมาณ 3-5 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 2.83-9.47 มิลลิเมตร ใบมี 3 ใบย่อย (trifoliate-pinnately) รูปร่างใบย่อยแบบขอบขนาน (oblong) ใบกลางปลายใบมน โคนใบกลม (rounded) ใบข้างขอบใบด้านล่างเบี้ยว (unequal) ความยาวใบกลาง 5.94-8.88 เซนติเมตร กว้าง 2.05-2.73 เซนติเมตร ใบข้างยาว 5.11-6.61 เซนติเมตร กว้าง 1.8-2.14 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 1.01-2.91 เซนติเมตร ก้านใบข้างสั้นมากยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร หน้าใบและหลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมหนาแน่น ผิวใบนุ่ม (tender) สีใบด้านหน้าเขียวอมเหลืองอ่อน ถึงเขียวเข้ม ค่อนข้างมัน สีใบด้านหลังเขียวอมเหลืองเข้มกว่าด้านหน้าและผิวด้านเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ด้านหลังนูนขึ้นเป็นสันเล็กน้อย เส้นใบแตกแบบขนนก (pinnate) ขอบใบมีรอยหยักแบบขนครุย (ciliate) ก้านใบมีขนปกคลุมหนาแน่น ลำต้นสีเขียวอมน้ำตาลมีขนละเอียดยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรคลุมอยู่มาก หูใบแหลม (filiform) สั้น 0.5-1 มิลลิเมตร ออกดอกเดือน พฤศจิกายน – มกราคม ดอกออกที่ตาข้างช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ยาว 6.43-14.29 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่ว จำนวน 6-35 ดอกต่อช่อ เกิดเรียงสลับรอบแกนช่อดอก กลีบดอกด้านนอกสีเขียวอมเหลือง กลีบดอกด้านในสีม่วงอมแดงเข้ม ผลเป็นฝักยาวค่อนข้างแบน มีขนคลุม

ประโยชน์ : เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ ยาพื้นบ้าน ล้านนา ใช้ใบหรือรากผสมใบโผงเผง บดเป็นผงละเอียดปั้นเป็นยาลูกกลอนกินแก้ไข้ (วงศ์สถิตย์และคณะ, 2539)


จากเว็บ http://www.rspg.or.th


แกลบหนู

แกลบหนู ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrolobium lanceolatum (Dunn) Schindl.

วงศ์
: Papilionoideae


ชื่ออื่น
: แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู (ปราจีนบุรี) กระดูกเขียด (นครพนม) กระดูกอึ่ง (ราชบุรี บุรีรัมย์) กระดูกอึ่งใหญ่ (นครราชสีมา) อึ่งใหญ่ (กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ)


ลักษณะทั่วไป
: เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 1.0 – 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9.5 – 12.5 มิลลิเมตร ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อย 3 ใบ รูปรี (elliptic) หรือรูปขอบขนาน (oblong) ใบบนสุดกว้าง 1.1 – 3.2 เซนติเมตร ยาว 3.2 - 5.0 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 1.2 - 2.9 เซนติเมตร ยาว 2.6 – 4.4 เซนติเมตร หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก ช่อดอกยาว 10.5 – 12.8 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบน ค่อนข้างกลม มี 1 เมล็ด ออกดอกมากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และต้นฤดูฝนพฤษภาคมถึงมิถุนายน


ประโยชน์
: เป็นอาหารสัตว์ ยาพื้นบ้าน ใช้รากต้มน้ำดื่ม ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ (วงศ์สถิต และคณะ, 2543)


จากเว็บ http://www.rspg.or.th

วันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2553

ก้นบึ้งเล็ก

ก้นบึ้งเล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Campylotropis parviflora (Kurz) Schindl. ex Gagnep.

วงศ์ : Papilionoideae

ชื่ออื่น : ก้นบึ้งเล็ก หิ่งเม่น (เชียงใหม่) เลือดใน (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูง 1.0 – 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 9.5 – 12.5 มิลลิเมตร ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับใบย่อย 3 ใบ รูปรี (elliptic) หรือรูปขอบขนาน (oblong) ใบบนสุดกว้าง 1.1 – 3.2 เซนติเมตร ยาว 3.2 - 5.0 เซนติเมตร ใบข้างกว้าง 1.2 - 2.9 เซนติเมตร ยาว 2.6 – 4.4 เซนติเมตร หน้าใบมีขนปกคลุมหนาแน่น หลังใบมีขนน้อยมาก ช่อดอกยาว 10.5 – 12.8 เซนติเมตร ออกดอกที่ปลายยอด กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นฝักแบน ค่อนข้างกลม มี 1 เมล็ด ออกดอกมากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม และต้นฤดูฝนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

ประโยชน์ : เป็นอาหารสัตว์ ยาพื้นบ้าน ใช้รากต้มน้ำดื่ม ดับพิษร้อนถอนพิษไข้ (วงศ์สถิต และคณะ, 2543)

จากเว็บ http://www.rspg.or.th

เกล็ดหอย

เกล็ดหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์
: Desmodium triflorum (L.) DC.


วงศ์
: Papilionoideae
ชื่อสามัญ : flowered beggarweed

ชื่ออื่น : หญ้าเกล็ดหอย เกล็ดปลา (กรุงเทพฯ) ผักแว่นดอย (แม่ฮ่องสอน) หนู่เต๊าะโพ (กะเหรี่ยง, แม่ฮ่องสอน) หญ้าตานทราย (เชียงsใหม่, แม่ฮ่องสอน) หญ้าตานหอย (ภาคกลาง) ผักแว่นโคก (นครศรีธรรมราช)
ใหญ่ (นครราชสีมา) อึ่งใหญ่ (กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ลักษณะทั่วไป : เป็นพืชล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน สูง 4.5-12.5 เซนติเมตร ลำต้นมีขนสั้นๆละเอียดปกคลุมหนาแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 0.6-1.1 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกมีใบย่อย 3 ใบ (trifoliate) ใบคล้ายรูปหัวใจกลับ ปลายใบเว้าตื้น หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนน้อยถึงน้อยมาก ลำต้นมีขนสั้นๆปกคลุมหนาแน่น ขอบใบเรียบ (entire) ออกดอกที่ปลายยอดและตามซอกใบ กลีบดอกสีม่วงสดหรือสีม่วงบานเย็น ช่อดอกยาว 0.5 - 2.5 เซนติเมตร มีดอกย่อย 2-6 ดอก ฝักคอดเป็นข้อๆ 1 - 6 ข้อ ออกดอกติดเมล็ดตลอดทั้งปี


ประโยชน์ : อาหารสัตว์ โค-กระบือ

จากเว็บ http://www.rspg.or.th

วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553

ฮอมดง

ชื่อท้องถิ่น: ตีนตั่งเตี้ย

ชื่อวิทยาศาสตร์: Sericocalyx quadifarius Brem

วงศ์: ACANTHACEAE

ลำต้น: สุง 50-80 ซม.

ใบ: ยาว 12 ซม. หลังใบสีเขียวแกมม่วงคล้ำออกดำ ท้องใบสีเขียวแก่
ดอก: ออกเป็นช่อสั้น ๆ ดอกเป็นหลอดรูปกรวยสีม่วงอ่อน ปลายแยกเป็น 4-5 กลีบ ออกดอกในราวเดือน ธ.ค.-ม.ค.

แหล่งที่พบในไทย: พบขึ้นใต้ร่มเงาไม้ตามป่าดิบชื้นหรือบนภูเขาสูงที่มีอากาศหนาวเย็นทางภาคเนือ

แหล่งกำเนิดและแพร่กระจาย: อินเดียและไทย

จากเว็บ http://www.forumkhonbaakpae.com/board/viewthread.php?tid=758


ว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์

ชื่อวิทยาศาสตร์
Hedychium coronarium.

วงศ์

ZINGIBERACEAE

ชื่ออื่นๆ
ว่านกระชายเห็น

ลักษณะทั่วไป

ต้นเป็นเง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายแง่งข่า มีลำต้นเหนือดิน เป็นกาบใบที่ซ้อนกันอยู่หลายๆ กาบ ใบมีลักษณะเป็นรูปใบพาย ปลายใบแหลม โคนใบมน พื้นใบสีเขียว ก้านใบกลม แข็ง และสั้น ออกดอกเป็นช่อตั้งขึ้นอยู่ปลายยอด มีกลิ่นหอม เมื่อดอกใกล้โรยจะมีสีแดง

การปลูก

ให้ปลูกในดินร่วนหรือดินบนทราย ชอบแดดรำไร น้ำปานกลาง ควรรดด้วยน้ำทุกเช้า–เย็น หากปลูกใส่กระถางก้นตื้น ปากกว้าง จะแตกหัวใหม่ได้รวดเร็ว

การขยายพันธุ์

โดยการแยกหน่อ

ความเป็นมงคล

มีอานุภาพด้านเมตตามหานิยม เมื่อปลูกเลี้ยงไว้จะทำให้เป็นที่เมตตาของผู้คน และผู้เลี้ยงจะได้รับโชคลาภอยู่เสมอ

จากเว็บ http://www.panmai.com

วันอังคารที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2553

ขางคันนา

ขางคันนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmodium heterocarpon (L.) DC.ssp. heterocarpon var.
strigosum Van Meeuwen

วงศ์
: Papilionoideae


การเจริญเติบโตจะมีลักษณะตั้งกึ่งตั้ง และกึ่งตั้งกึ่งเลื้อยถึงกึ่งแผ่คลุมดิน สูง 50-175 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียวอ่อน ส่วนที่ถูกแสงมักมีสีน้ำตาลแดงเข้ม ด้านล่างที่ไม่ถูกแสงมีสีเขียวอ่อน มีขนสีขาวนวลปกคลุมหนาแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 1.8-5.2 มิลลิเมตร ใบมีสีเขียวถึงค่อนข้างเขียวเข้ม หลังใบมีขนสีขาวขึ้นปกคลุมหนาแน่น แต่ขนจะสั้นกว่า Desmodium styracifolium ด้านหน้าใบไม่มีขน (PC174, PC271, PC412) พบบางสายพันธุ์มีขนเล็กๆกระจายอยู่ตามเส้นใบและแผ่นใบด้านหน้า (PC190, PC191) การจัดเรียงตัวของใบเป็นแบบขนนกมี 3 ใบย่อย (trifoliate) ใบบนสุดเป็นรูปไข่กลับ (obovate) หรือรูปไข่กลับแกมใบหอก (obovate-lanceolate) ส่วนใบด้านข้างเป็นรูปไข่กลับ และรูปวงรี (oval) ใบบนสุดมีขนาดกว้าง 1.6-2.8 เซนติเมตร ยาว 3.0-3.5 เซนติเมตร ใบด้านข้างกว้าง 1.1-2.0 เซนติเมตร ยาว 2.3-4.0 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1.4-2.2 เซนติเมตร หูใบ (stipule) สีน้ำตาลถึงน้ำตาลแดงเข้ม ออกดอกที่ปลายยอด การออกดอกเป็นแบบ Indeterminate กลีบดอกสีม่วงหรือม่วงปนขาวนวล อับเรณู (anther) สีเหลืองปนน้ำตาล ก้านอับเรณู (filament) สีแดง เกสรเพศเมีย (stigma) สีเหลืองอ่อนปนเขียว ก้านเกสรเพศเมีย (style) สีเขียว ช่อดอกยาว 4.3-5.8 เซนติเมตร มีดอกย่อย 43-90 ดอก ฝักยาว 1.3-3.0 เซนติเมตร มีขน และคอดหักเป็นข้อๆ แต่ละฝักมีเมล็ด 4-9 เมล็ด บางช่อดอกย่อยฝักจะมีเมล็ดเพียง 1 เมล็ด ออกดอกติดเมล็ดดีมาก PC 271 จะออกดอกติดเมล็ดเร็วกว่า PC 174 เริ่มออกดอกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่จะออกดอกมากในช่วงเดือน สิงหาคมเดือนกันยายน

ประโยชน์ : ใช้เลี้ยงสัตว์ และเป็นพืชสมุนไพร ยาพื้นบ้านในภาคเหนือ ใช้ใบและลำต้น ต้มน้ำอาบ แก้บวมพอง ตำรายาไทยระบุว่า มีรสเมาเฝื่อน เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กาฬมูตร แก้เด็กตัวร้อน แก้โรคลำไส้ ขับพยาธิทุกชนิด (วงศ์สถิตย์ และคณะ, 2539)


จากเว็บ www.rspg.thaigov.net


ว่านมหาเมฆ

ชื่อวิทยาศาสตร์
Curcuma acruginosa roxb.

วงศ์
ZINGIBERACEAE

ลักษณะทั่วไป
เป็นว่านที่มีหัวคล้ายหัวขิงหรือหัวไพล เนื้อในสีเขียวอ่อน หรือสีม่วงแก่ปนสีฟ้า ส่วนลำต้นจะเป็นสีแดงเข้มหรือสีแดงเลือดหมู ใบสีเขียวแกนกลางใบออกสีเลือดหมูผ่ากลางไปตลอดจนถึงปลายใบซึ่งมีลักษณะแหลม โคนใบรีและจะมนเข้าหาก้านใบ ขอบใบบิดเป็นคลื่นเล็กน้อย และมีกาบใบห่อหุ้มลำต้นอยู่

การปลูก
ควรปลูกในดินร่วนปนทรายผสมดินลูกรังแดง วางให้หัวว่านโผล่พ้นดินขึ้นมาเล็กน้อย เป็นว่านที่ออกจะชอบแสงแดดสักหน่อย จึงควรให้อยู่กลางแจ้ง

การขยายพันธุ์
โดยการแยกหน่อ

ความเป็นมงคล
เชื่อกันว่าหากเกิดจันทรุปราคา ให้นำหัวมาปลุกเสกด้วยคาถา เสกจนพระจันทร์มืดมิด แล้วนำหัวว่านมาทาบตัวจะทำให้ผู้อื่นมองไม่เห็นตัวเรา และปรารถนาสิ่งใดก็จะสมใจปรารถนา และหากรับประทานหัวก็จะเป็นคงกระพันชาตรี

จากเว็บ http://www.panmai.com


วันจันทร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2553

ว่านพญามือเหล็ก

ชื่อวิทยาศาสตร์
Alpinia sandrerae

วงศ์
ZINGIBERACEAE

ชื่อสามัญ
Variegated Ginger

ชื่ออื่นๆ
ขิงด่าง

ลักษณะทั่วไป
ว่านพญามือเหล็ก หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ขิงด่าง มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีลักษณะคล้ายหัวข่ามีรสเผ็ด มีกลิ่นฉุนกว่าขิง ใบเป็นใบเดี่ยว ใบยาวคล้ายกับใบขมิ้น ปลายใบแหลมขอบใบเป็นคลื่น และมีลายสีขาวบนแผ่นใบและขอบใบ ส่วนที่เห็นเป็นลำต้นเหนือดิน คือส่วนของกาบใบที่เรียงตัวซ้อนกันอยู่ กาบใบจะมีสีเขียว โคนกาบใบสีแดงเข้ม

การปลูก
ปลูกในดินปนทรายหรือดินร่วน แต่ถ้าปลูกลงดินโดยไม่ใช้กระถางก็สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ว่านจะแตกหน่อหรือแง่งเร็วกว่าการปลูกในกระถาง พรวนดิน แยกแง่งออกปลูกใหม่เป็นระยะๆ เวลาปลูกให้กลบดินให้เหลือหัวว่านโผล่ขึ้นมาเล็กน้อย แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การขยายพันธุ์
โดยการแยกหน่อหรือแยกแง่งของว่านมาปลูกใหม่

ความเป็นมงคล
เป็นว่านสิริมงคล เหมาะที่จะปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้านเป็นว่านที่สามารถป้องกันอันตรายต่างๆ และยังเชื่อกันว่าเป็นว่านที่สามารถป้องกันภูตผีปีศาจต่างๆ ไม่ให้เข้ามาทำร้ายคนในบ้านได้ สมกับชื่อว่า “พญามือเหล็ก”

จากเว็บ http://www.panmai.com



ว่านเศรษฐีขอดทรัพย์

วงศ์
LILIACEAE

ชื่ออื่นๆ
เศรษฐีกอบทรัพย์

ลักษณะทั่วไป
ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน คล้ายหอมหัวเล็ก เนื้อภายในหัวจะมีสีขาว ใบว่านเศรษฐีขอดทรัพย์ออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เป็นกอ ลักษณะใบคล้ายใบกุยช่าย มีสีเขียวแก่เป็นเงามัน ปลายใบจะงอม้วนเป็นวง

การปลูก
ดินที่เหมาะแก่การปลูกคือดินร่วนผสมใบไม้ผุกับทราย ระบายน้ำได้ดี รดน้ำเช้า-เย็น ให้ว่านถูกแดดบ้างเป็นบางเวลา และควรปลูกในกระถางแขวน หรือกระถางทรงเตี้ยปากกว้าง

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการแยกกอ หรือ โดยการใช้หัว

ความเป็นมงคล
ถือว่าเป็นว่านทางเมตตามหานิยม หากทำมาค้าขายก็จะซื้อขายคล่อง และยังเป็นว่านเสี่ยงทาย คือหากปลายใบม้วนเป็นวงหมดทุกใบธุรกิจการงานจะประสบความสำเร็จดี ยิ่งถ้าว่านออกดอกจะยิ่งมีโชคลาภยิ่งขึ้น แต่ถ้าใบตรงไม่ม้วนงอก็จะไม่มีโชคลาภ ธุรกิจการงานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

จากเว็บ http://www.panmai.com


วันอาทิตย์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2553

ว่านเศรษฐีไซ่ง่อน

ชื่อวิทยาศาสตร์
Ophiopogon Jaburan Lodd. Var. aggenteus vittatus Hort.

วงศ์
LILIACEAE

ชื่ออื่นๆ
เศรษฐีขาว, เศรษฐีญวน, ซุ้มกระต่าย (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน รากเหมือนแฝกหอม ก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ โอบหุ้มลำต้นแบบสลับโดยรอบ ใบรูปแคบยาวเหมือนว่านเศรษฐีขอดทรัพย์ แต่ปลายใบไม่ขอด ขนาดกว้าง 1-2 ซม. ยาว 40-50 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบแคบ ขอบใบเรียบเป็นเส้นสีขาว ด้านบนเส้นกลางใบและเส้นใบเป็นร่องเล็กน้อย สีขาวหม่น แผ่นใบสีเขียว ด้านล่างเส้นกลางใบและเส้นใบนูนมีสีเขียวสลับกับแผ่นใบที่มีสีขาวชัดเจน ดอกออกสีขาวชูก้านขึ้นสูงเทียมใบเห็นได้ชัด

การปลูก
ใช้หัวแยกจากกอมาปลูก นิยมใช้ดินที่ปราศจากมลทิน หรือดินกลางแจ้งเป็นเครื่องปลูก กระถางควรเป็นทางเตี้ยจะเพิ่มความสวยงาม จัดทางระบายน้ำให้คล่องๆ และใช้ใบไม้ผุเปื่อยผสมทรายและดินเล็กน้อย จะทำให้ว่านงอกงามอย่างรวดเร็ว ควรวางกระถางในที่ร่มจะช่วยให้ใบสวยสดเป็นเงางาม

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ หรือใช้ต้นอ่อนที่เกิดจากไหลไปปลูกใหม่

ความเป็นมงคล
เป็นว่านเสี่ยงทาย และเป็นเมตตามหานิยม ปลูกเป็นไม้ประดับ เน้นในกระถางราคาแพง ตั้งโชว์ในห้องรับแขกสำหรับอวดอาคันตุกะไว้ดูเป็นเกียรติแก่เจ้าของบ้าน

จากเว็บ http://www.panmai.com


ว่านกวนอิม

ชื่อวิทยาศาสตร์
Dracaena sanderiana

วงศ์
LILIACEAE

ชื่อสามัญ
Ribbon Plant

ชื่ออื่นๆ
เศรษฐีนิตยา

ลักษณะทั่วไป
เป็นพรรณไม้ยืนต้น ลำต้นโตประมาณ 1-2 ซม. สูง 1-3 เมตร ลำต้นกลม เป็นข้อๆ สีเขียว ไม่มีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากส่วนยอดของลำต้น มีกาบใบหุ้มห่อลำต้นสลับกันเป็นชั้นๆ ตามข้อของลำต้น ใบแคบเรียวยาว ปลายใบแหลม โคนใบสอบลงมาถึงกาบใบ พื้นใบมีสีเขียว มีสีเขียวเข้มหรือขาวพาดตามยาวของใบ ความกว้างของใบประมาณ 2-3 ซม. ยาวประมาณ 6-8 ซม.
การปลูก
ควรปลูกในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ที่มีความชื้นสูง รดน้ำเช้า-เย็น แสงแดดจัดหรือแสงร่มรำไร
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการปักชำ
ความเป็นมงคล
เชื่อว่าบ้านใดปลูกว่านกวนอิมจะทำให้คนในบ้านร่ำรวย มีฐานะดี เป็นต้นไม้ที่นำเงินทองของมีค่าเข้าบ้าน นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกว่าว่านกวนอิมเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ คนโบราณใช้ประกอบในพิธีบูชาพระเจ้าและพิธีทางศาสนา

จากเว็บ http://www.panmai.com


Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...